รับมือแพ้ฝุ่น เปิดระดับความอันตราย PM 2.5 กลุ่มเสี่ยงตายมีใครบ้าง เช็กเลย!

รับมือแพ้ฝุ่น เปิดระดับความอันตราย PM 2.5 กลุ่มเสี่ยงตายมีใครบ้าง เช็กเลย!

เปิดวิธีป้องกันฝุ่นละออง "รับมือแพ้ฝุ่น" ภัยร้ายใกล้ตัวที่ห้ามมองข้าม ค่าฝุ่นรุนแรงสะสม ความรุนแรงถึงระบบหายใจล้มเหลว ระดับความอันตราย PM 2.5 กลุ่มเสี่ยงตายมีใครบ้าง เช็กเลย!

นพ. จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี  อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก รพ.พญาไท 2 ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป ในภาวะที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมเผยระดับความอันตรายของฝุ่น PM 2.5 ที่กระทบต่อกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว

แพ้ฝุ่น PM 2.5  สังเกตได้จากอาการเหล่านี้

- บุคคลทั่วไป อาจมีอาการแพ้ฝุ่น

  • ระคายเคืองโพรงจมูก
  • จาม น้ำมูกใส ไอ
  • หายใจไม่สะดวก
  • อาจมีตาแดง คันตา น้ำตาไหล

- กลุ่มผู้ป่วย โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ โรคหอบหืด หรือโรคปอดอื่นๆ จะพบว่ามีอาการกำเริบของโรคตั้งแต่

  • คัดจมูกมาก
  • มีน้ำมูกไหล ไอ
  • หอบเหนื่อย
  • หายใจเสียงหวีด
  • บางรายอาจรุนแรงถึงระบบหายใจล้มเหลวได้ 

- กลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีอาการกำเริบของโรค

  • คันมาก เกิดผื่นแดงตามผิวหนังคุมโรคไม่ได้

รับมือแพ้ฝุ่น เปิดระดับความอันตราย PM 2.5 กลุ่มเสี่ยงตายมีใครบ้าง เช็กเลย!

การดูแลสุขภาพ ในภาวะฝุ่น PM 2.5  สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ 
  • หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง 
  • ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร 
  • กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ และหอบหืด ควรใช้ยาสูดทางปาก และยาพ่นจมูกต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ พิจารณาการล้างจมูกอาจช่วยลดทั้งฝุ่น pm 2.5 ในทางเดินหายใจส่วนบน และสารก่อภูมิแพ้ได้

ตัวช่วยเสริมเพื่อป้องกัน ฝุ่น PM 2.5

  • ควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่มี HEPA ( High efficiency particulate air) filter เพื่อช่วยกรองฝุ่น pm 2.5 ภายในอาคาร และควรพกหน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐานติดตัวและใช้ทุกครั้งที่มีความจำเป็นต้องออกภายนอกอาคาร
  • กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มภูมิแพ้ผิวหนัง แนะนำใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด และหลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามาภายในอาคาร
     

รับมือแพ้ฝุ่น เปิดระดับความอันตราย PM 2.5 กลุ่มเสี่ยงตายมีใครบ้าง เช็กเลย!

ระดับความหนาแน่นของฝุ่น กับ ผลกระทบต่อสุขภาพ

ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 51 ถึง 100 

  • คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ อาจเริ่มมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจเหนื่อยได้ หากอยู่ในที่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน

 
ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 101 ถึง 150 

  • คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ จะมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจหอบเหนื่อยได้ คนไข้กลุ่มนี้ควรเลี่ยงการออกไปในที่กลางแจ้ง

 

ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 151 ขึ้นไป

  • คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ จะมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจหอบเหนื่อยได้ คนไข้กลุ่มนี้ไม่ควรออกไปในที่กลางแจ้ง
  • ส่วนบุคคลกลุ่มอื่นควรเลี่ยงการออกไปในที่กลางแจ้ง อาจทำให้มีอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก จาม คัดจมูก หรือผิวหนังอักเสบ ผื่นคันได้
     

 

อ้างอิง : นพ.จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี อายุรกรรม พญาไท 2 , โรงพยาบาลพญาไท