เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ต้องรู้ กฎหมายทวงหนี้ ให้ทวงวันละครั้งต่อวัน เกินปรับหนัก

เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ต้องรู้ กฎหมายทวงหนี้  ให้ทวงวันละครั้งต่อวัน เกินปรับหนัก

รู้ยัง? สตช. เผยกฎหมายทวงหนี้ โดยเฉพาะ หนี้นอกระบบ ให้ทวงได้วันละครั้งต่อวัน เกินปรับหนัก สูงสุด 100,000 บาท ย้ำส่งข้อความทางไลน์ หรือ โทรหาลูกหนี้ นับเป็นการทวงหนี้ 1 ครั้ง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แจ้งผ่านเฟสบุ๊ก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า เป็น "เจ้าหนี้ - ลูกหนี้" ต้องรู้ กฎหมายเกี่ยวกับการทวงหนี้ ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 

  • ทวงหนี้ได้วันละ 1 ครั้ง หากทวงหนี้เกิน 1 ครั้งต่อวัน มีโทษปรับสูงสุด 100,000 บาท
  • ช่วงเวลาในการทวงหนี้ วัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 20.00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08.00 - 18.00 น.

รูปแบบต่อไปนี้นับเป็นการทวงหนี้ 1 ครั้ง

  • ส่งข้อความทางไลน์ แล้วลูกหนี้เปิดอ่าน
  • โทรศัพท์หาลูกหนี้ แล้วทวงหนี้อย่างชัดเจน
     

รูปแบบต่อไปนี้แบบนี้ไม่นับเป็นการทวงหนี้

  • ส่งข้อความทางไลน์ แต่ลูกหนี้ไม่ได้เปิดอ่าน
  • โทรศัพท์ไปหา แต่ลูกหนี้ยังไม่รับโทรศัพท์
  • ลูกหนี้รับโทรศัพท์แล้ว แต่วางสายก่อนจะพูดคุยเรื่องโทรถามหนี้

ห้าม พูดจาดูหมิ่น ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ประจาน ลูกหนี้

ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องใช้เงิน แนะนำให้กู้ยืมจากแหล่งเงินทุน - สถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่ให้สินเชื่อ คิดดอกเบี้ยในอัตราที่กฎหมายกำหนด และลูกหนี้ต้องผ่อนชำระเงินกู้ ดอกเบี้ยตามนัดให้ครบถ้วนตามกฎหมาย
 

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

มาตรา 9 ระบุ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
 
1.) สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าว ไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าหรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ 

โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อ ตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่น ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 

2.) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 20.00 นาฬิกา และในวันหยุดราชการ เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 18.00  นาฬิกา หากไม่สามารถติดต่อตามเวลา ดังกล่าวได้หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 

3.) จำนวนครั้งที่ติดต่อ ในช่วงเวลาตาม (2) ให้ติดต่อตามจำนวนครั้งที่เหมาะสมและคณะกรรมการ อาจประกาศกำหนดจำนวนครั้งด้วยก็ได้ 

4.) ในกรณีที่เป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบ ธุรกิจทวงถามหนี้ หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ และจำนวนหนี้ และถ้าผู้รับมอบอำนาจ ดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า ให้แสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ด้วย 

มาตรา 10 ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ขอรับชำระหนี้ ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐาน การรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ด้วย และเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้แล้ว ให้ผู้ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ด้วย 

หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต ให้ถือ ว่าเป็นการชำระหนี้แก่ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ทวงถามหนี้จะได้รับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม 

มาตรา 11 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้ เจ้าหนี้โดยชอบ 

1.) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น

2.) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น 

3.) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่ เป็นกรณีตามมาตรา 8 วรรคสอง (2) 

4.) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่า เป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 

5.) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ซื้อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ 

6.) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ความใน (5) มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล 

มาตรา 12 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิด ความเข้าใจผิดดังต่อไปนี้ 

1.) การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่า เป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ 

2.) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความ สำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย 

3.) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ หรือเงินเดือน 

4.) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต

มาตรา 13 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ใน ลักษณะที่ไม่เป็นธรรมดังต่อไปนี้ 

1.) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

2.) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

อ่านพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 (คลิก) 

 

เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ต้องรู้ กฎหมายทวงหนี้  ให้ทวงวันละครั้งต่อวัน เกินปรับหนัก

ที่มา-ภาพ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ