‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’

‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’

‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’ วธ.ยกย่องในฐานะผู้นำพลังศรัทธาเสริมคุณค่าวัฒนธรรมไทย ใช้พลัง Soft Power วัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการ  เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ท่ามกลางกระแสการไม่ต่อสัญญากับค่ายเดิมที่ประเทศเกาหลีใต้ของ ลิซ่า แบล็กพิงก์ หรือ ลลิษา มโนบาล และมีข่าวลือว่าอาจจะกลับมาทำงานเพลงที่ประเทศไทย  โดยที่ผ่านมานั้น ลิซ่า มีบทบาทอย่างมากต่อการสร้างการรับรู้และชื่นชอบต่อวัฒนธรรมของคนทั่วโลก

ล่าสุด นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ตระหนักถึงความสำคัญของเครือข่าย ที่ร่วมนำวัฒนธรรมมาสร้างคนดี สร้างสังคมดี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นฐานรากในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินการคัดเลือกและมอบรางวัลแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ทั้งเด็กหรือเยาวชน บุคคลรวมทั้งนิติบุคคลหรือคณะบุคคล

ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่มีคุณูปการต่อการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเทต่อการส่งเสริม สนับสนุน รักษา สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามจนประสบความสำเร็จตามภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของชุมชน สังคมและประเทศชาติ

 

มอบ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ คนแรก

สำหรับปี 2566 วธ. ได้กำหนดรางวัลพิเศษ ซึ่งเป็นรางวัลกิตติมศักดิ์ โดยมีชื่อรางวัล คือ รางวัลวัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์ “ผู้นำพลังศรัทธาเสริมคุณค่าวัฒนธรรมไทย” เป็นครั้งแรก มอบให้แก่ น.ส.ลลิษา มโนบาล หรือ Lisa Blackpink  สาวไทยมากความสามารถ เกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ เติบโตที่กรุงเทพมหานคร ได้เดบิวต์เป็นศิลปินระดับโลก 1 ในสมาชิกวงแบล็กพิงก์ ประเทศเกาหลีใต้ เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อด้านวัฒนธรรมไทยในนานาชาติ มีผลงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล ซึ่งทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ จนเป็นกระแสและได้รับความนิยมจากทั่วโลก

‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’

เผยแพร่ Soft Powerไทย

โดยเฉพาะด้านการเผยแพร่ภาพลักษณ์วัฒนธรรมไทยในมิติของ Soft Power ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ไปสู่สายตาชาวโลก ได้แก่ การสวมรัดเกล้ายอด สวมชุดไทยประยุกต์ จากแบรนด์เสื้อผ้าของคนไทยในอัลบั้มเดี่ยว มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติหาซื้อและแต่งตัวตาม มียอดสั่งซื้ออย่างล้นหลาม ช่วยชุบชีวิตคนทำเครื่องทรงนาฏศิลป์

การบอกคิดถึงลูกชิ้นยืนกิน สูตรเด็ดน้ำพริกเผาที่เมืองไทย จนทำให้บรรดาแฟนคลับเดินทางไปตามรอย ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าที่ขายลูกชิ้นยืนกินมีรายได้เพิ่มขึ้น

การลงภาพสวมผ้าซิ่นเที่ยวโบราณสถาน ไหว้พระที่พระนครศรีอยุธยา ในสื่อโซเชียล ทำให้ผ้าขาดตลาด ยอดขายพุ่ง เกิดรายได้แก่ชุมชนมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการลงภาพอาหารและขนมไทย มีผู้ชมหลักล้านทำให้เป็นที่รู้จัก หาซื้อตาม ไม่ว่าจะเป็น โรตีสายไหม หมูกระทะ และนมหนองโพ เป็นต้น

“ด้วยพลังศรัทธาในตัวของลิซ่า สามารถเปลี่ยนความคิดของคนไทยโดยใช้พลัง Soft Power นำคุณค่าของวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรมให้แก่ชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน” นายเสริมศักดิ์

226 รางวัลวัฒนคุณาธร

นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้คัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในโอกาส วันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม 3 ตุลาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รวม 226 รางวัล ได้แก่

  • รางวัลวัฒนคุณาธร

ประเภทเด็กหรือเยาวชน 78 ราย อาทิ นางสาวจิรภัทร รัตนพันธ์ จังหวัดจันทบุรี นายบทละคร จันทร์เรือง กรุงเทพมหานคร นายยุคลเดช ปัจฉิม จังหวัดขอนแก่น เด็กหญิงอิซาเบลล่า เบอร์เกอร์ จังหวัดภูเก็ต

รางวัลประเภทบุคคล 76 รูป/คน อาทิ พระเทพวราจารย์ จังหวัดอุบลราชธานี นายแพทย์ฐาปนันท์ มหิศนันท์ จังหวัดหนองคาย นายดำริห์ บรรณวิทยกิจ กรุงเทพมหานคร

รางวัลประเภทนิติบุคคลหรือคณะบุคคล 71 แห่ง/คณะ อาทิ ชุมชนคุณธรรมบ้านเมืองรวง จังหวัดเชียงราย ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี สมาคมกลองและศิลปะการแสดงล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น


‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’

 

รู้จักรางวัล ‘วัฒนคุณาธร’

วัฒนคุณาธร เป็นรางวัลที่กระทรวงวัฒนธรรม มอบให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม  ซึ่งหมายถึง เด็กหรือเยาวชน บุคคล นิติบุคคล หรือคณะบุคคล ที่มีผลงานแสดงถึงการเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการ/งาน/กิจกรรม และทำประโยชน์ เพื่อชุมชน สังคมส่วนรวมร่วมกับหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตามนโยบายของรัฐบาล พันธกิจ ยุทธศาสตร์และจุดเน้นของกระทรวงวัฒนธรรม ด้วยความเสียสละ อุทิศตนนอกเหนือจากการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ประจำอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ประจักษ์

 

วัตถุประสงค์รางวัล วัฒนคุณาธร

การที่กระทรวงวัฒนธรรมมอบรางวัลนี้ โดยมี 3 วัตถุประสงค์ คือ

1.ยกย่องเชิดชูเกียรติเด็กหรือเยาวชน บุคคล นิติบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ทำคุณประโยชน์ ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ในการส่งเสริม สนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการ/งาน/กิจกรรม ของหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม ตามนโยบายของรัฐบาล พันธกิจ ยุทธศาสตร์และจุดเน้นของกระทรวงวัฒนธรรม

2.ส่งเสริม สนับสนุนขยายเครือข่ายเด็กหรือเยาวชน บุคคล นิติบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ส่งเสริม สนับสนุนและเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการ/งาน/กิจกรรม ของหน่วยงานในสังกัด และหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม ตามนโยบายของรัฐบาล พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และจุดเน้นของกระทรวงวัฒนธรรม

3.ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของเด็กหรือเยาวชน บุคคล นิติบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม และต่อประเทศชาติ


‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’

วัฒนคุณาธร 3 ประเภท 

กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 3ประเภท ประกอบด้วย

  • ประเภทเด็กหรือเยาวชน หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป –  25ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 3 ตุลาคม ของปีงบประมาณ ที่เสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือก
  • ประเภทบุคคล หมายถึง ผู้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ของปีงบประมาณที่เสนอชื่อ เข้ารับการคัดเลือก
  • ประเภทนิติบุคคลหรือคณะบุคคล  นิติบุคคล หมายถึง นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่น และ คณะบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ร่วมกันทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวง วัฒนธรรม และต่อประเทศชาติ

 

คุณสมบัติผู้ได้รับเสนอชื่อ

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับเสนอชื่อต้องมีคุณสมบัติ

- เป็นเด็กหรือเยาวชน บุคคล นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีผลงานแสดงถึงการเข้ามามีส่วนร่วม ขับเคลื่อนโครงการ/งาน/กิจกรรม และทำประโยชน์เพื่อชุมชน สังคมส่วนรวม ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด และหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตามนโยบาย ของรัฐบาล พันธกิจ ยุทธศาสตร์และจุดเน้นของกระทรวงวัฒนธรรม ด้วยความเสียสละอุทิศตนนอกเหนือจาก การปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ประจำอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ประจักษ์

- เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไป

- เป็นผู้ที่ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ โทษจำคุกให้หมายความรวมถึงการรอลงอาญา

- เป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ทำคุณ ประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม เข้ารับโล่รางวัล “วัฒนคุณาธร” มาก่อน
‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’ ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’ ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’ ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’ ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’ ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’ ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ได้รับคนแรก รางวัล ‘วัฒนคุณาธรกิตติมศักดิ์’

อ้างอิง :  กระทรวงวัฒนธรรม