กรมอุตุนิยมวิทยา เผยเส้นทางพายุโซนร้อน 2 ลูก เฝ้าระวังพายุเชาลา - ด็อมเร็ย

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยเส้นทางพายุโซนร้อน 2 ลูก เฝ้าระวังพายุเชาลา - ด็อมเร็ย

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุ 2 ลูก ขณะนี้ในมหาสมุทรแปซิฟิกมี "พายุโซนร้อน" เกิดขึ้น 2 ลูก คือ พายุโซนร้อน "เชาลา" (SAOLA) และ พายุโซนร้อน "ด็อมเร็ย"

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดต"เส้นทางพายุ 2 ลูก" ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2566 เช้าวันนี้เมื่อเวลา 04.00 น.ที่ผ่านมา ขณะนี้ในมหาสมุทรแปซิฟิกมี "พายุโซนร้อน" เกิดขึ้น 2 ลูก คือ

พายุโซนร้อน "เชาลา" (SAOLA) พายุลูกที่ 9 มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ พายุนี้ไม่ได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้

ขณะที่พายุลูกที่ 2 คือ พายุโซนร้อน "ด็อมเร็ย" (DAMREY) อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย ฝนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มาจากร่องมรสุมที่พาดผ่านทางตอนบนของไทยและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) ที่พัดปกคลุม (ไม่ใช่อิทธิพลของพายุ ) กรมอุตุนิยมวิทยา ขอให้ติดตามเป็นระยะๆ อย่าได้ตื่นตระหนก

สำหรับ เซาลา (SAOLA) หมายถึง เป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งตระกูลวัว พบในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งชื่อโดยประเทศเวียดนาม ส่วน "ด็อมเร็ย" หมายถึง ช้าง ตั้งชื่อโดยประเทศกัมพูชา

 

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยเส้นทางพายุโซนร้อน 2 ลูก เฝ้าระวังพายุเชาลา - ด็อมเร็ย

 

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยเส้นทางพายุโซนร้อน 2 ลูก เฝ้าระวังพายุเชาลา - ด็อมเร็ย

 

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยเส้นทางพายุโซนร้อน 2 ลูก เฝ้าระวังพายุเชาลา - ด็อมเร็ย

 

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยเส้นทางพายุโซนร้อน 2 ลูก เฝ้าระวังพายุเชาลา - ด็อมเร็ย

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 25 ส.ค. - 3 ก.ย.2566

25-27 ส.ค.2566

ฝนยังเกิดขึ้นได้ ใกล้แนวร่องมรสุมและด้านรับมรสุม ระยะนี้ร่องมรสุมอ่อนลง ยังสวิง ขึ้น-ลง พาดผ่าน เมียนมา สปป.ลาวและเวียดนามตอนบน ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ยังคงพัดปกคลุม ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังมีฝนบางแห่ง ปริมาณฝนส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และตกหนัก

โดยเฉพาะตามแนวชายขอบบริเวณภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก ใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี ตราด และภาคใต้ด้านรับมรสุม จ.ระนอง พังงา คลื่นลมมีกำลังปานกลาง

ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานด้านตะวันตก ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล และภาคใต้ตอนกลางยังมีฝนเกิดขึ้นได้บางแห่ง ช่วงเย็น-ค่ำ

28 ส.ค. - 3 ก.ย.2566

ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักกันอีกช่วง เนื่องจากร่องมรสุมจะเริ่มแรงขึ้นและกลับมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคอีสาน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมที่พัดปกคลุมจะมีกำลังแรงขึ้นด้วย ทำให้มีฝนกระจายเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เตรียมรับมือฝนหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

บริเวณประเทศไทยตอนบน จะเริ่มทางภาคอีสานก่อน (28 ส.ค.2566) น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับพื้นที่ที่มีฝนน้อย เตรียมรองรับน้ำฝนและกักเก็บน้้ำไว้ใช้ แต่สภาวะฝนปีนี้ยังมีเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขของปีที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญ