รู้จัก'เด็กสมัยนี้' ใน '5 กลุ่มทัศนคติ' เชื่อมการเมือง บางพรรคอยู่นอกสายตา

รู้จัก'เด็กสมัยนี้' ใน '5 กลุ่มทัศนคติ' เชื่อมการเมือง บางพรรคอยู่นอกสายตา

รู้จัก 'เด็กสมัยนี้' ผ่าน  '5 กลุ่มทัศนคติ' และเชื่อมโยงกับการสนับสนุนทางการเมืองด้วย พบว่า บางพรรคการเมืองไม่ได้รับความสนใจเลย

Keypoints:

  • ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว  สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เปิด 5 กลุ่มทัศนคติเด็กและเยาวชน 
  • 5 กลุ่มทัศนคติเด็กและเยาวชน ที่เชื่อมโยงกับการสนับสนุนทางการเมืองด้วย ซึ่งพบว่าใน 3 อันดับแรก บางพรรคการเมืองไม่ได้อยู่ในใจเลย  
  • หนึ่งในรายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี  2023 พบว่าเด็กและเยาวชนฝันถึงสังคมใหม่อย่างหลากหลาย แต่ระบบการเมืองไม่เปิดกว้างรับฟัง

     ในเวทีเสวนาสาธารณะ เด็กและครอบครัวไทยในสองทางแพร่ง -หลังโควิดXหลังเลือกตั้ง : รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี  2023 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เมื่อเร็วๆนี้ ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว หรือ คิด for คิดส์” โครงการร่วมของ   101 PUB หรือ 101 Public Policy Think Tank  และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สสส.  นำเสนอผลการศึกษาคุณค่า-ทัศนคติเยาวชนจากการสำรวจ เพื่อเข้าใจตัวตน-ความติดของ “เด็กสมัยนี้”

วิธีสำรวจ-ตัววัด 6 เรื่อง

     การสำรวจนี้มี 2 หมื่นตัวอย่างทั่วประเทศ เป็นเด็กและเยาวชนอายุ 15-25 ปี  ดำเนินการช่วง เม.ย.-พ.ค.2565 กระจายแบบสำรวจผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกเขต สโมสรนิสิตนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัย สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ ภาคีเครือข่ายสสส. และสื่อโซเชียลมีเดีย  กลุ่มตัวอย่างมีเพศวิถี หญิง 36.6% LGBTQ+ 16.2 % ชาย 47.2 %

      วัดและจัดกลุ่มทัศนคติเยาวชน 6 เรื่อง ได้แก่

1.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  เน้นรักษาความสัมพันธ์-เน้นแสดงตัวตน

2.ความสัมพันธ์กลุ่ม เน้นกลุ่ม-เน้นปัจเจกบุคคล

3.ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ลำดับชั้น/อำนาจนิยม – เท่าเทียม/เสรีนิยม

4.ประเด็นถกเถียงทางสังคม สืบสารธรรมเนียม-ก้าวหน้า/อิสระ

5.เศรษฐกิจการเมือง ตลาดแบบปัจจุบัน-รัฐคุ้มครองให้เสมอภาค

6.เพศสภาพและครอบครัว ชายเป็นใหญ่-ทุกเพศเท่าเทียม

รู้จัก\'เด็กสมัยนี้\' ใน \'5 กลุ่มทัศนคติ\' เชื่อมการเมือง บางพรรคอยู่นอกสายตา
 กลุ่มทัศนคติ 1
    เพศสภาพ ชาย 17.1% หญิง 35.3 % LGBTQ+ 47.1 %

     อายุ 15-18 ปี  17.5 %  19-22 ปี 46 % 23-25 ปี 65.9 %
       พฤติกรรม การศึกษาสูงสุด อ่านหนังสือมากที่สุด   รับสื่อวิทยุ โทรทัศน์น้อยที่สุด และใช้ทวิตเตอร์มากที่สุด  สนใจ มีส่วนร่วมทางการเมืองมากสุด โดยเฉพาะแบบไม่ผ่านองค์กรจัดตั้ง

     คุณค่า-ทัศนคติ  เชื่อถือคนรอบตัวน้อย ยกเว้นเพื่อน ให้ความสำคัญอัตลักษณ์และการแสดงออกของปัจเจกบุคคล  รู้สึกเป็นพลเมืองโลก  89.7 % มองคนเท่าเทียม สนับสนุนประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและไม่ไว้ใจการใช้อำนาจรัฐจำกัดสิทธิสูง 50.6%ไม่นับถือศาสนา  79.6 % มองว่าความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหา เกิดจากโครงสร้างที่บิดเบี้ยว สนับสนุนรัฐสวัสิดการถ้วนหน้า 

    การสนับสนุนพรรคการเมือง ก้าวไกล 75.8 % เพื่อไทย 13.5 %  พรรคสามัญชน  0.8 %

กลุ่มทัศนคติ 2
เพศสภาพ ชาย 19.7% หญิง 25 % LGBTQ+ 25.5 %

     อายุ 15-18 ปี  23.5 %  19-22 ปี24.4 % 23-25 ปี 11.6 %
     พฤติกรรม อยากเรียนปริญญาโท-เอกมากที่สุด เข้าเรียน-ฝึกอบรมออนไลน์มากที่สุด ใช้อินสตาแกรมและเฟซบุ๊กมากที่สุด

คุณค่า-ทัศนคติ เชื่อถือให้ความสำคัญกับคนรอบตัว เน้นความเกรงใจ 86 % รู้สึกเป็นพลเมืองโลกแต่ก็ภาคภูมิใจในความเป็นไทยสูง ยึดหลักประชาธิไปตย แต่ยินยอมให้จำกัดสิทธิเมื่อจำเป็นได้มากกว่า ให้ความสำคัญกัลศาสนา ธรรมเนียม สนับสนุนความเสมอภาค LGBTQ+แต่สนับสนุนเสรีภาพทางเพศน้อยกว่า เห็นว่าโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองไม่เปิดโอกาสให้ทุกคนเสมอภาคกัน และ 67.5 % เห็นว่ารัฐควรจัดสวัสดิการให้เฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องได้รับ

การสนับสนุนพรรคการเมือง ก้าวไกล 49 % เพื่อไทย 28 % ประชาธิปัตย์ 2.5 %

รู้จัก\'เด็กสมัยนี้\' ใน \'5 กลุ่มทัศนคติ\' เชื่อมการเมือง บางพรรคอยู่นอกสายตา
     กลุ่มทัศนคติ 3

เพศสภาพ ชาย 23.1% หญิง 15.3% LGBTQ+ 15.2 %

     อายุ 15-18 ปี  22.7 %  19-22 ปี 11.5 % 23-25 ปี 11.6 %
     พฤติกรรม  ใช้TikTok มากที่สุด สนใจติดตามการเมืองน้อยที่สุด ชุมชนและมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านองค์กรจัดตั้งน้อยที่สุด

คุณค่า-ทัศนคติ  ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์และการแสดงออกของปัจเจกบุคคลในระดัลใกล้ตัว  ยึดหลักประชาธิไปตย แต่ยินยอมให้จำกัดสิทธิเมื่อจำเป็นได้มากกว่า และมีวัฒนธรรมการเมืองแบบทวยราษฎร์  เชื่อในคุณค่าทางศาสนาน้อยกว่า แต่เชื่อในธรรมเนียมอื่นระดับเดียวกับกลุ่มทัศนคติ 2 สนับสนุนความเสมอภาค LGBTQ+  แต่สนับสนุนเสรีภาพทางเพศน้อยกว่า เห็นว่าโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองไม่เปิดโอกาสให้ทุกคนเสมอภาคกันในระดับต่ำกว่ากลุ่มทัศนคติ 2
การสนับสนุนพรรคการเมือง  ก้าวไกล 35.8 % เพื่อไทย 29.1 % พลังประชารัฐ 5.3 %
กลุ่มทัศนคติ 4

เพศสภาพ ชาย 20.2% หญิง 15.1% LGBTQ+ 6.2 %

     อายุ 15-18 ปี  18.9 %  19-22 ปี 11.7 % 23-25 ปี 5.6 %
     พฤติกรรม  รับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และใช้อินสตาแกรมค่อนข้างมาก เลี่ยงการแสดงจุดยืน ทรรศนะชัดเจน มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย เน้นแบบผ่านองค์กรจัดตั้ง

คุณค่า-ทัศนคติ  เชื่อถือและคำนึงถึงคนรอบตัวมากสุด ชาตินิยมมากที่สุด 91.8 % ภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย 71.8 % มองว่าวัฒนธรรมไทยดีที่สุด เคารพลำดับชั้นทางสังคมมากที่สุดและยอมรับการใช้อำนาจจำกัดสิทธิ 1.9 % ไม่นับถือศาสนา 61 % เชื่อว่าพระเจ้า กรรมหรือดวงชะตากำหนดชีวิตของตนเอง เป็นอนุรักษนิยมในประเด็นถกถียงทางสังคม เพศสภาพ และครอบครัว 79.5 %มองว่าความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องธรรมดามากกว่าปัญหาที่ต้องแก้
การสนับสนุนพรรคการเมือง  เพื่อไทย 33.7 % ก้าวไกล 25.8 % พลังประชารัฐ 9.6 %

กลุ่มทัศนคติ 5
เพศสภาพ ชาย 19.9% หญิง 9.2% LGBTQ+ 5.9 %

     อายุ 15-18 ปี  17.4 %  19-22 ปี 6.5 % 23-25 ปี 5.2 %
     พฤติกรรม  การศึกษาต่ำสุด อ่านหนังสือน้อยที่สุด  รับสื่อวิทยุมากที่สุด และใช้ TikTokค่อนข้างมาก เลี่ยงการแสดงจุดยืน-ทรรศนะชัดเจน สนใจตติดตามการเมืองแต่มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยที่สุด

คุณค่า-ทัศนคติ  เชื่อถือคนรอบตัวน้อย  ให้ความสำคัญกับการเอาตัวเองรอดเหนือคุณค่านามธรรมมาก รู้สึกเป็นพลเมืองโลกน้อยที่สุด แต่ก็ชาตินิยมต่ำกว่ากลุ่มทัศนคติ 4 กล้าท้าท้ายผู้อยู่ในลำดับชั้นทางสังคมกับหลักเสรีประชาธิปไตยและยอมรับการใช้อำนาจ ความรุนแรงจำกัดสิทธิ  38.8 % เชื่อว่าต้องมีศาสนาจึงมีจริยธรรม แต่ก็ไม่ได้นับถือจริงจัง อนุรักษนิยมในประเด็นทางสังคมมากที่สุด เห็นความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหามากกว่ากลุ่มทัศนคติ 4 แต่ไม่เห็นความสำคัญของนโยบายรัฐในการแก้ไข
การสนับสนุนพรรคการเมือง  เพื่อไทย 31.1 % ก้าวไกล 20.9 % พลังประชารัฐ 9.6 %


ระบบการเมืองไม่เปิดกว้างรับฟัง

      ทั้งนี้ ในรายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี  2023 พบเรื่องหนึ่งว่า เด็กและเยาวชนฝันถึงสังคมใหม่อย่างหลากหลาย แต่ระบบการเมืองไม่เปิดกว้างรับฟัง ซึ่งเยาวชนมีฉันทามติวงกว้างใน 3 หลักการใหญ่ คือ

1.คุ้มครองเสรีภาพทางความคิด เปิดพื้นที่เพื่อคนหลากหลาย 

2.ทลายระบบอุปถัมภ์ เส้นสาย แก้ปัญหาการทุจริต

3.ปฏิรูปเศรษฐกิจให้ทุกคนกินดีอยู่ดี มีโอกาสเสมอกัน

        โดยจินตนาการถึงนโยบายรูปธรรมที่สำคัญ ได้แก่ สวัสดิการและบริการสาธารณะทุกชนชั้น ทุกพื้นที่เข้าถึงได้  การศึกษาคุณภาพเท่าเทียม เปิดกว้างสำหรับความต้องการอันหลากหลาย และพื้นที่และระบบขนส่งสาธารณะ ครอบคลุม ปลอดภัย รวดเร็วและราคาถูก