ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 207 หลังคา สลับอากาศร้อนจัด

ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 207 หลังคา สลับอากาศร้อนจัด

สถานการณ์ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม ฝนตกหนักบางพื้นที่ บ้านเรือนประชาชนเสียหายกว่า 207 หลังคา ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด

รายงานสถานการณ์ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหายกว่า 207 หลังคา ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด โดย ปภ. สรุปสถานการณ์วาตภัย มีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร แพร่ ตาก ลำปาง กำแพงเพชร รวม 9 อำเภอ 11 ตำบล 19 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 207 หลัง กรณีมีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 18 ราย จ.พิจิตร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 207 หลังคา สลับอากาศร้อนจัด

เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนปี 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศประเทศไทยสิ้นสุดฤดูร้อนและจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนปี 2566 เมื่อวันก่อน 22 พฤษภาคม 2566 ปีนี้ปริมาณฝนรวมทั้งฤดูจะน้อยกว่าปีที่แล้ว ประมาณกลาง มิ.ย.-กลาง ก.ค. จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง

ส่วนในเดือน ส.ค.-ก.ย. จะเป็นช่วงที่ฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด มีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือและอีสาน 1-2 ลูก

ทั้งนี้ ฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือน ต.ค. ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือน ม.ค. 2567

ดร. ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า กล่าวว่าประเทศไทยสิ้นสุดฤดูร้อนและจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เนื่องจากพบว่ามีฝนตกชุกหนาแน่นและต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยที่ระดับผิวพื้นถึงความสูงประมาณ 3.5 กิโลเมตร ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และลมชั้นบนตั้งแต่ระดับความสูง 5 กิโลเมตรขึ้นไปได้เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก ซึ่งถือว่าครบองค์ประกอบตามเกณฑ์การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยแล้ว

ปีนี้ ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนจะน้อยกว่าปี 2565 และจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 5% (ปีที่แล้วสูงกว่าค่าปกติ 14%) ในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง อาจส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนเป็นช่วงที่จะมีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด

และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1-2 ลูก ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ สำหรับฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือนมกราคม 2567

สภาพอากาศวันนี้ 

23 พฤษภาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน

ฤดูฝน 2566 ลมแรงพายุถล่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 207 หลังคา สลับอากาศร้อนจัด

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อากาศร้อน

สภาพอากาศ กรุงเทพฯ หรือ กทม. และปริมณฑล เวลา06:00 น. วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวันอุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

cr. กรมอุตุนิยมวิทยา และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)