'16 เทศกาลประเพณี' โกอินเตอร์ ดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

'16 เทศกาลประเพณี' โกอินเตอร์ ดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

วธ.ยกระดับ 16 เทศกาลประเพณี จากท้องถิ่นสู่ระดับชาติและนานาชาติ คาดสร้างรายได้เพิ่มในพื้นที่ 1 เท่าตัว  ใช้soft powerไทย ดันจีดีพีเพิ่ม เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานราก

  นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแถลงข่าวโครงการยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติว่า วธ. ปรับบทบาทจากกระทรวงสังคม สู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม ผลักดันSoft Power ความเป็นไทยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5F งานเทศกาลประเพณี (Festival) โดยขับเคลื่อนงานเทศกาลประเพณีสู่ระดับโลก
        วธ. จึงบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งจังหวัด ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันยกระดับเทศกาลประเพณี เช่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดนิทรรศการ การแสดงและการสาธิตทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ตลอดจนส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดช่องทางการรับรู้ให้มากขึ้น  โดยเริ่มต้นจาก 16 เทศกาลประเพณี

\'16 เทศกาลประเพณี\' โกอินเตอร์ ดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

เทศกาลประเพณีดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

  วธ.โดยกองเศรษฐกิจวัฒนธรรม จะเข้าไปประเมินพร้อมทั้งเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานให้ในแต่ละพื้นที่ด้วย ซึ่งนอกจาก 16 เทศกาลประเพณีดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังมีเทศกาลประเพณีที่น่าสนใจอีกจำนวนมาก และหากมีความพร้อมทาง วธ.ก็จะเข้าไปคัดเลือกเพื่อยกระดับสู่นานาชาติต่อไป ซึ่งประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีงานเทศกาลประเพณีให้สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

       ทั้งนี้ จากเป้าหมายเดิมจะทำให้เรื่องของงานวัฒนธรรมมีบทบาทผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพี เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่า จากเดิมเกือบ 8 % ขึ้นไปถึง 15 % เพราะฉะนั้นเทศกาลประเพณีที่มีการยกระดับ จากประมาณการของรายได้ เช่น งานศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการประเมินตัวเลขจากครั้งก่อนอยู่ที่ 30-50 ล้านบาท อยากจะให้มีมูลค่าเพิ่ม 1 เท่าตัว หรือเป็น 100 ล้านบาท

\'16 เทศกาลประเพณี\' โกอินเตอร์ ดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

    หรือเทศกาลอาหารที่ภูเก็ต จากเดิม 100 ล้านบาทขึ้นไป อยากให้เพิ่มอีก 1 เท่าตัว รวมถึงที่ ที่อ.พนัสนิคม บุญกลางบ้านเป็นเทศกาลระดับภูมิภาคมาก่อน จึงอยากประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศไปเที่ยวด้วย และมีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่ม  

     การไปท่องเที่ยวในเทศกาลประเพณีมีความมุ่งหวังที่จะให้เกิดเรื่องของรายได้อย่างน้อยเพิ่มขึ้น 100 % หรือ 1เท่าตัว และยังไม่รวมเทศกาลประเพณีที่ยังไม่ได้ประกาศทางการในวันนี้ด้วย ซึ่งวธ.เข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนอยู่แล้ว  โดยโครงการนี้จะเห็นบทบาทของวธ.เป็นรูปธรรมคือ ตัวเลขที่จับต้องได้ จากที่มีประเพณีที่จับต้องได้อยู่แล้ว   


         "สิ่งเหล่านี้เป็น soft power ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้  ในช่วงที่เร่งฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19ด้วย”นายอิทธิพลกล่าว

16 เทศกาลประเพณี

         แนวทางการพิจารณา คือ 1.ต้องครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย  2.ต้องเป็นเทศกาลประเพณีที่มีความพร้อมอยู่ในตนเองอยู่แล้ว เป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียงระดับหนึ่ง อาจจะภูมิภาคหรือประเทศ 3.มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ 4.เทศกาลประเพณีที่มีส่วนร่วมของภาคประชาชน ทั้งนี้ 16 เทศกาลประเพณีได้ที่รับเลือกยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ ประกอบด้วย

1. ประเพณีกตัญญูคู่ฟ้า มหาสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว วันที่ 2 - 8 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

2. เทศกาลมรดกโลกบ้านเชียง วันที่ 10 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ชุมชนคุณธรรมบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

 3. ประเพณีหกเป็งนมัสการพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 6 มีนาคม 2566 ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง จังหวัดน่าน

\'16 เทศกาลประเพณี\' โกอินเตอร์ ดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

4. ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก “มาฆบูชาอารยธรรมอีสาน” วันที่ 1 – 5 มีนาคม 2566 ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

5. ประเพณีแห่ผ้าพระบฏพระราชทานถวายพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช วันที่ 1 – 6 มีนาคม 2566 ณ วัดพระมหาธาตุฯ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

6. เทศกาลโคราชเมืองศิลปะ KORAT Street Art วันที่ 10 – 12 มีนาคม 2566 ณ ถนนจอมพล และบริเวณใกล้เคียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

7. เทศกาลตามรอยอารยธรรมขอมโบราณปราสาทศิลา “สด๊กก๊อกธม” วันที่ 18 – 19 มีนาคม และ 22 มีนาคม 2566 ณ อุทยานประวัติศาสตร์ สด๊กก๊อกธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

\'16 เทศกาลประเพณี\' โกอินเตอร์ ดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

8. เทศกาลเมืองคราม สกลนคร (KRAM & CRAFT SAKON FESTIVAL) นครหัตถศิลป์โลก เจ้าแห่งครามธรรมชาติ วันที่ 24 - 26 มีนาคม 2566 ณ สระพังทอง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

 9. เทศกาลอาหารอร่อยเมืองภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์แห่งวิทยาการอาหาร วันที่ 19 – 27 พฤษภาคม 2566 ณ พื้นที่เขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

10. ประเพณีบุญกลางบ้าน สืบสานตำนานเมืองพนัส วันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2566 ณ สวนสาธารณะ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

11. เทศกาล “นาฏยแห่งศรัทธา กิ่งกะหร่า น้อมบูชา วิสาขปุรณมี”     วันที่ 2 – 4 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์ไทใหญ่ศึกษา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

\'16 เทศกาลประเพณี\' โกอินเตอร์ ดันรายได้เพิ่ม 1 เท่าตัว

12. ประเพณีบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช เลาะตลาดคนเมืองไทนคร วันที่ 7 – 13 กรกฎาคม 2566 ณ ลานพญาศรีสัตตนาคราชริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

 13. เทศกาลไทลื้อ “โฮ่มฮีต โตยฮอย ร้อยใจไทลื้อ” วันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2566 ณ วัดพระธาตุสบแวน ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

 14. ประเพณีตักบาตรดอกไม้เข้าพรรษา วันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

15. เทศกาลอาหารผสานศิลป์ เมืองเพชร เมืองสร้างสรรค์ วันที่ 4 – 6 สิงหาคม 2566 ณ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร และอุทยานฯ รัชกาลที่ 4 พระนครคีรี อำเภอเมืองเพชรบุรี

และ16. เทศกาลโคมแสนดวง ที่เมืองลำพูน วันที่ 25 กันยายน ถึง 8 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน