'ไข้หวัดใหญ่' ภัยร้ายปลายฝนต้นหนาว รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า !

'ไข้หวัดใหญ่' ภัยร้ายปลายฝนต้นหนาว รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า !

รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า! 'ไข้หวัดใหญ่' ภัยร้าย ปลายฝนต้นหนาว กรมควบคุมโรค เผยปี 2566 คนไทยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ไปแล้วกว่า 200,000 ราย แพทย์ รพ. วิมุต แนะเด็กเล็กฉีดวัคซีนตั้งแต่ 6 เดือน สร้างภูมิก่อนป่วยหนัก

ช่วงปลายฝนต้นหนาวนับเป็นเวลาที่เรามีโอกาสป่วยได้มากที่สุด เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน ช่วงบ่ายร้อนอบอ้าว ช่วงเย็นฝนตก แถมความชื้นและลมฝนก็มักพัดพาเอาแบคทีเรียและไวรัสมาทำให้เราป่วยได้ง่าย ๆ  โรคฮิตช่วงหน้าฝนสำหรับคนทุกวัยจึงหนีไม่พ้น ‘ไข้หวัดทั่วไป’ ที่มักมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เองในไม่กี่วัน

 

แต่หากใครโชคไม่ดีเจอเชื้อไวรัส ‘ไข้หวัดใหญ่’ ก็ต้องป่วยซมด้วยอาการที่คล้ายไข้หวัดแต่รุนแรงกว่าหลายเท่า โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ ล่าสุดกรมควบคุมโรคเผยว่าปี 2566 คนไทยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ไปแล้วกว่า 200,000 รายและยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงเพราะคนไทยยังไม่มี ‘ภูมิคุ้มกัน’ ไข้หวัดใหญ่

 

นพ. กรธัช อชิรรุจิกร อายุรศาสตร์โรคเลือด ศูนย์อายุรกรรม และ พญ. สุธิดา ชินธเนศ กุมารแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจในเด็ก ศูนย์กุมารเวช รพ.วิมุต อธิบายอาการและอันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่ พร้อมแนะนำแนวทางการป้องกัน เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตอย่างแข็งแรงปลอดภัยในช่วงสิ้นปีนี้

 

 

\'ไข้หวัดใหญ่\' ภัยร้ายปลายฝนต้นหนาว รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า !

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

‘ไข้หวัดใหญ่’ อาการรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า!

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับไวรัสที่ชื่อว่า อินฟลูเอนซา (influenza) ซึ่งมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์อยู่ 4 สายพันธุ์ โดยโรคสามารถติดต่อด้วยการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เช่น การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโดยไม่ใช้ช้อนกลางและการพูดคุยใกล้ชิดกับผู้ป่วย เป็นต้น

 

นพ. กรธัช อชิรรุจิกร อายุรศาสตร์โรคเลือด ศูนย์อายุรกรรม เล่าถึงอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า ผู้ป่วยจะมีอาการที่คล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ และมีน้ำมูก แต่จะมีอาการรุนแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ มีไข้สูง หนาวสั่น ไอหนักจนนอนไม่ได้ ปวดหัวมาก ปวดตัว น้ำมูกเยอะแน่นจมูก บางรายอาจมีอาการหายใจติดขัด หอบเหนื่อย และแน่นหน้าอก ร่วมด้วย
 

ห่างไกล ‘ไข้หวัดใหญ่’ ง่าย ๆ ด้วยตัวเรา

การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วย ซึ่งถ้าคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่ทำงานติดเชื้อ ก็จะแพร่เชื้อสู่คนรอบข้างได้ง่าย ๆ โดยวิธีป้องกันง่าย ๆ ได้แก่ การรักษาสุขอนามัยโดยใช้แนวทาง ‘กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ’ ตลอดจนการใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้ป่วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้

 

\'ไข้หวัดใหญ่\' ภัยร้ายปลายฝนต้นหนาว รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า !

 

เด็กเล็กเป็นแล้วอาการหนัก! 

พญ. สุธิดา ชินธเนศ กุมารแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจในเด็ก อธิบายว่า ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่นั้นจะแตกต่างกันไป บางคนอาจมีอาการรุนแรงมากหรือมีอาการแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และโรคสมองอักเสบ ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

 

"ในเด็ก ๆ ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะจะมีไข้สูงถึง 39 – 40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 – 4 วัน อาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ซึ่งถือว่าอันตรายมากและต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด”



ด้วยอาการที่รุนแรงในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อผ่อนหนักเป็นเบา ลดอาการรุนแรงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน โดยควรฉีดเป็นประจำทุกปี เพราะแต่ละปี วัคซีนจะมีการพัฒนาตามการกลายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่อยู่เสมอ ส่วนในเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี กรณีเริ่มให้วัคซีนเป็นปีแรก จะต้องฉีด 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เข็มห่างกัน 1 เดือน แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาหลายปีก็สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้โดยไม่ต้องฉีดหลายเข็ม

 

\'ไข้หวัดใหญ่\' ภัยร้ายปลายฝนต้นหนาว รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไปหลายเท่า !



ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่การป้องกันการรับเชื้อ เพราะทุกคนสามารถรับเชื้อไวรัสได้ตลอดเวลา แต่การรับวัคซีนช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับไวรัสและการกลายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง หรือในบางคนอาจจะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดร่วมกับวัคซีนอื่น ๆ ได้ โดยต้องฉีดคนละตำแหน่ง และควรฉีดห่างจากวัคซีนอื่น ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ง่ายต่อการวินิจฉัยในกรณีที่มีการแพ้วัคซีน ซึ่งกลุ่มที่ไม่ควรควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ที่แพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่รุนแรง ผู้มีอาการปลอกประสาทอักเสบหลังจากได้รับวัคซีน และผู้ที่แพ้ไข่รุนแรง
 

“โรคไข้หวัดใหญ่ถือเป็นภัยร้ายที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างเด็ก ๆ ที่จะมีอาการรุนแรงกว่าคนอื่น แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยและฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันเป็นประจำทุกปี ผู้ที่มีบุตรหลานก็สามารถพาไปรับวัคซีนได้ตั้งแต่ 6 เดือน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ในระยะยาว” พญ. สุธิดา กล่าวทิ้งท้าย