สสจ.ชลบุรี เปิดสถิติผู้ป่วยโควิด ช่วงวันที่ 28 พ.ค. – 3 มิ.ย. 66 พุ่ง 8,270 ราย

สสจ.ชลบุรี เปิดสถิติผู้ป่วยโควิด ช่วงวันที่ 28 พ.ค. – 3 มิ.ย. 66 พุ่ง 8,270 ราย

สสจ.ชลบุรี เปิดสถิติจังหวัดชลบุรี พบผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. – 3 มิ.ย.นี้ พุ่ง 8,270 ราย ตาย 13 ราย เผยส่วนใหญ่พบผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว กลุ่ม 608 ตาย 8 ราย

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี 

รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 จังหวัดชลบุรี ประจำสัปดาห์ที่ 22 ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2566 ในสัปดาห์นี้พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 จำนวนทั้งสิ้น 8,270 ราย และมีผู้เสียชีวิต 13 ราย มีรายละเอียดดังนี้

รายที่ 1. เพศชาย 33 ปี มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีน 4 เข็ม (ล่าสุด 29 เม.ย. 65)

รายที่ 2. เพศชาย 73 ปี มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีน 3 เข็ม (ล่าสุด 24 ม.ค. 65)

รายที่ 3. เพศชาย 51 ปี มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีน 3 เข็ม (31 ม.ค. 65)

รายที่ 4. เพศหญิง 97 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติฉีดวัคซีน

รายที่ 5. เพศหญิง 85 ปี มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติฉีดวัคซีน

รายที่ 6. เพศชาย 82 ปี มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีน 3 เข็ม (ล่าสุด 28 ส.ค. 64)

รายที่ 7. เพศหญิง 78 ปี มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีน 2 เข็ม (ล่าสุด 9 ธ.ค. 64)
 

รายที่ 8. เพศหญิง 80 ปี มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีน 2 เข็ม (ล่าสุด 18 ม.ค. 65)

รายที่ 9. เพศหญิง 85 ปี มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติฉีดวัคซีน

รายที่ 10. เพศหญิง 62 ปี มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติฉีดวัคซีน

รายที่ 11. เพศชาย 30 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติฉีดวัคซีน

รายที่ 12. เพศหญิง 17 ปี มีโรคประจำตัว ไม่มีประวัติฉีดวัคซีน

รายที่ 13. เพศชาย 68 ปี มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีน 4 เข็ม (ล่าสุด 22 เม.ย. 65)

ผู้เสียชีวิต 13 ราย อายุระหว่าง 17-97 ปี อายุเฉลี่ย 64 ปี เป็นผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว (กลุ่ม 608) 8 ราย (ร้อยละ 61.54) มีโรคประจำตัวแต่ไม่ได้เป็นผู้สูงอายุ 3 ราย (ร้อยละ 23.08) และไม่มีโรคประจำตัว 2 ราย (ร้อยละ 15.38) ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์รวมไม่ได้รับการกระตุ้นตามระยะเวลา 7 ราย (ร้อยละ 53.85) และไม่ได้รับการฉีดวัคซีน 6 ราย (ร้อยละ 46.15)

สสจ.ชลบุรี เปิดสถิติผู้ป่วยโควิด ช่วงวันที่ 28 พ.ค. – 3 มิ.ย. 66 พุ่ง 8,270 ราย

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ควรปฏิบัติตน ดังนี้

1.ผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 "จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการ DMH (เว้นระยะห่างตามควร สวมแมสก์ ล้างมือ) อย่างเคร่งครัด"

2. ประชาชน "ควรปฏิบัติตามมาตรการ DMH และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี"

3. ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์และรับการกระตุ้นตามระยะเวลาที่เหมาะสม ส่วนผู้ที่สร้างภูมิต้านทานได้ไม่ดี ควรได้รับการฉีดภูมิต้านทานสำเร็จรูป หรือ Long-Acting Antibody (LAAB) อย่างไรก็ตามก่อนฤดูฝน บุคคลกลุ่มนี้ "ควรได้รับวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่" โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน