บอร์ด สปสช. มีมติให้แยกจัดสรรงบ "บัตรทอง" ปี 2566

บอร์ด สปสช. มีมติให้แยกจัดสรรงบ "บัตรทอง" ปี 2566

บอร์ด สปสช.มีฉันทามติให้แยกจัดสรรงบ "บัตรทอง" ปี 2566 โดยให้จัดสรรงบส่วนใหญ่ 1.37 แสนล้านบาท และชะลองบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคบางส่วน วงเงิน 5.1 พันล้านบาท

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวถึง กรณียังไม่มีการลงนามในร่างหลักเกณฑ์การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ "บัตรทอง" ปีงบประมาณ 2566

เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องงบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค (PP) ที่ให้ครอบคลุมสิทธิสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม อาจไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ทำให้ยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณลงไปยังหน่วยบริการ ว่า

 

บอร์ด สปสช. มีมติให้แยกจัดสรรงบ \"บัตรทอง\" ปี 2566

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

วันนี้ที่ประชุม บอร์ด สปสช. มีความเห็นเป็นฉันทามติว่า เรามุ่งหวังให้ประชาชนทุกคน ทุกสิทธิ สามารถได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น โดยไม่มีอุปสรรคทางการเงิน และทุกฝ่ายจะดำเนินการร่วมกันให้บรรลุตามเป้าหมายนั้นโดยไม่ขัดกับกฎหมาย และเห็นด้วยที่ให้มีการทำความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ หรือ "บัตรทอง" ครอบคลุมประชากรในส่วนใดบ้าง ตามมาตรา 5, 9, 10 และ 66 โดยปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาและเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา

นายอนุทินกล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบหน่วยบริการ เนื่องจากยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณ บัตรทอง ปี 2566 นั้น บอร์ด สปสช. มีฉันทามติประกาศหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนบัตรทองปี 2566 ตามที่เลขาธิการ สปสช. เสนอจากการหารือกับกระทรวงสาธารณสุข

โดยในหลักการให้เร่งจัดสรรงบส่วนใหญ่ 1.37 แสนล้านบาทให้กับหน่วยบริการต่างๆ ก่อน เพื่อไม่ให้กระทบกับการดูแลประชาชน และชะลอการจัดสรรงบประมาณในส่วนงบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคบางส่วน วงเงิน 5,146.05 ล้านบาท

ทั้งนี้ หน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขจะจัดบริการให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนที่อยู่ในความรับผิดชอบ และ สปสช.จะดำเนินการให้หน่วยบริการอื่นนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเช่นเดียวกัน เพื่อให้ไม่ให้มีช่องว่างในการบริการประชาชน