โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

โรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) อันตรายแค่ไหน? หลัง "หมอมนูญ" เผยมีนักท่องเที่ยวเข้าไปในโพรงต้นไม้ใหญ่แล้วติดเชื้อราฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม แล้ว 2 ราย โดยเชื้อเข้าปอดและบางคนอาจกระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ

วันที่ 6 ตุลาคม 2565 ภายหลังจากที่ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หรือ "หมอมนูญ" ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้ออกมาโพสต์เตือนนักท่องเที่ยวห้ามเข้าไปในโพรงต้นไม้ใหญ่ เพราะจะหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม (Histoplasma capsulatum) ที่ลอยขึ้นมาในอากาศจากมูลค้างคาวที่ตกลงบนพื้นดินเข้าไปในปอด ซึ่งจะทำให้ป่วยเป็น โรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis)

 

โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

 

 

โดย หมอมนูญ ให้ข้อมูลว่า โรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) เป็นโรคที่เกิดจากการหายใจสปอร์ของเชื้อราฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม (Histoplasma capsulatum) จากมูลค้างคาว หรือนก เข้าปอด และบางคนอาจกระจายไปอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก ต่อมหมวกไต สมอง เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย

 

ผู้ป่วยหญิงอายุ 45 ปี ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ไปเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช เดินเข้าโพรงต้นไม้ใหญ่ อยู่ห่างคลองวังหีบประมาณ 200 เมตร เพื่อไปดูค้างคาว ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย อยู่ในโพรงต้นไม้ประมาณ 3 นาที หลังจากนั้น 15 วันเริ่มไอแห้ง ๆ บางครั้งไอมีเสมหะสีขาว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เดินขึ้นบันไดเหนื่อย เบื่อหาร น้ำหนักลด 2 กิโลกรัม ไม่มีไข้ ไม่ปวดหัว ไม่ปวดกระดูก

 

โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

 

ผู้ป่วยไปหาแพทย์วันที่ 5 กันยายน 2565 เอกซเรย์ปอดผิดปกติ มีก้อนเล็ก ๆ กระจายทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำคอมพิวเตอร์สแกนปอด และช่องท้อง พบก้อนเล็ก ๆ ในปอดกระจายทั่วปอดทั้งสองข้าง ก้อนในปอดด้านล่างขนาดใหญ่ถึง 1 เซนติเมตร (ดูรูป) พบก้อนในต่อมหมวกไตข้างซ้ายขนาด 0.5 x 1.1 เซนติเมตร และม้ามโตเล็กน้อย ได้ทำผ่าตัด ตัดชิ้นเนื้อจากปอดด้านซ้ายส่งตรวจทางพยาธิวิทยา พบว่ามีเนื้อเยื่อตายและการอักเสบแบบแกรนูโลมา (necrotizing granulomatous inflammation) ไม่พบวัณโรค ย้อมสีพบเชื้อราลักษณะเป็นยีสต์ (ดูรูป) เพาะเชื้อราขึ้น

 

โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

 

 

ฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม (Histoplasma capsulatum) มีลักษณะเป็นราสาย (ดูรูป) ฮิสโตพลาสมาอยู่ในกลุ่มรา 2 รูป (Dimorphic) อยู่ในเนื้อเยื่อมีรูปเป็นยีสต์ อยู่ในธรรมชาติมีรูปเป็นเส้นใยราสาย

 

หมอมนูญได้สรุปว่า ผู้ป่วยเป็นโรคฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis) จากการหายใจเอาสปอร์ฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม (Histoplasma capsulatum) เข้าไป หลังจากเข้าไปในโพรงต้นไม้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ทำให้เกิดปอดอักเสบ กระจายไปที่ต่อมหมวกไตและม้าม

 

โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

 

วันที่ 19 กันยายน 2565 เนื่องจากอาการไม่หนักมาก จึงเริ่มยาฆ่าเชื้อราชนิดกิน ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) 200 มิลลิกรัม เช้า เย็น หลังกินยา 2 สัปดาห์ อาการและเอกซเรย์ปอดดีขึ้นช้า ๆ และจะให้ยารักษาต่อประมาณ 12 เดือน

 

"คนที่จะเข้าถ้ำหรือโพรงต้นไม้ต้องใส่หน้ากากอนามัยแบบแพทย์ใส่ในห้องผ่าตัด เพื่อป้องกันหายใจสปอร์ของเชื้อราเข้าปอด" หมอมนูญ ระบุ

 

โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

 

ทั้งนี้ หมอมนูญ ยังเผยอีกว่า ทางชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย ซึ่งผมเป็นประธาน จะทำการวิจัยถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อรา Histoplasma ที่แยกจากผู้ป่วย และจากดินในโพรงต้นไม้นี้ (gene sequencing) เพื่อทราบสปีชีส์ (species) หรือชนิด ว่าแตกต่างจากเชื้อรา Histoplasma ที่พบในประเทศและทวีปอื่นหรือไม่ ผลการศึกษาจะรายงานในวารสารเชื้อรานานาชาติต่อไป

 

โรคฮิสโตพลาสโมซิส อันตรายแค่ไหน หลังนทท.เข้าในโพรงต้นไม้ใหญ่ติดเชื้อ 2 ราย

 

ที่มา หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC