ระบบ Matching จ้างงานผู้สูงอายุ ทำงานตำแหน่งอะไรได้บ้าง

ประเทศไทยผ่านสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 10 % แล้วปัจจุบันเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์คือมากกว่า 20 ของประชากร
KEY
POINTS
- รูปแบบงานที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุไว้ว่าควรเป็นงาน ที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับทักษะ ไม่จํากัดเวลาทํางาน 8 ชั่วโมง สามารถเลือกเวลาทํางานเองได้
- อยากเชิญชวนให้เอกชนจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น เป็นการขอความร่วมมือ โดยเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนแจ้งข้อมูลเข้ามาได้ถึงวันที่ 20มี.ค.
- ระบบ Matching จ้างงาน จะต้องสามารถเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้สูงอายุได้มองเห็นเทรนด์ของบริษัทเอกชนต่างๆว่าต้องงานทักษะ ขอบเขตความต้องการทำงาน และผู้สูงอายุต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ประเทศไทยผ่านสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 10 % แล้วปัจจุบันเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์คือมากกว่า 20 ของประชากร แนวโน้มการเติบโตผู้สูงอายุประมาณปีละ 500,000 คนต่อเนื่องไปจนถึงปี 2570 คาดว่าอีก 2 ปีจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 28%
รัฐบาลจำเป็นต้องมาวางแผนการรับมือสังคมผู้สูงอายุ อย่างยั่งยืนนอกจากสวัสดิการที่จัดให้เพิ่มเติม เพื่อให้ดูแลตัวเองได้มีศักดิ์ศรี มีงานทำ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดรายได้ลดการพึ่งพาครอบครัวของผู้สูงอายุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ยืดเกษียณ60เพิ่มยอดสมทบกองทุน ดึง 'สูงวัย'กลับสู่ตลาดแรงงาน
สัญญาณปี 68 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อพุ่ง สูงวัย เด็ก สตรีมีครรภ์ เสริมภูมิคุ้มกัน
งานที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ
“อัญชลี จิตรเสนาะ” ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุกรมกิจการผู้สูงอายุ ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ”จากการประชุมหารือแนวทางส่งเสริมการจ้างงานและการมีรายได้ของผู้สูงอายุร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ 8 หน่วยงานภาคเอกชน 16 หน่วยงานว่ารูปแบบงานที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุไว้ว่าควรเป็นงาน ที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับทักษะ ไม่จํากัดเวลาทํางาน 8 ชั่วโมง สามารถเลือกเวลาทํางานเองได้ โดยเฉพาะงานที่อยู่ใกล้ที่พักอาศัยหรือสามารถทํางานจากบ้านได้ เพื่อลดภาระการเดินทางและปรับสมดุลชีวิตการทํางานกับสุขภาพที่เปลียนแปลง
เปิดโอกาสให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ควรเป็นงานที่ได้ออกไปพบปะสังคม เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น งานอาสาสมัคร งานในชุมชน หรือกิจกรรมกลุ่ม เพื่อช่วยลดความเหงาและเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี หรืองานที่ใช้ทักษะเฉพาะทาง Creative job เช่น งานฝีมือ การเกษตรอินทรีย์ การทําอาหารเพื่อสุขภาพ หรือการใช้เทคโนโลยีในการทํางาน ตามความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน
ส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการเอง
เป็นผู้ประกอบการเอง เริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก เช่น การขายสินค้าออนไลน์ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น ภาครัฐจัดอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจจะช่วยสร้างรายได้และเสริมองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาธุรกิจเพือ่ช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับเทรนด์ปัจจุบันได้
เป็นที่ปรึกษาหรือผู้ให้คําแนะนำ
ผู้สูงอายุสามารถใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่มีมาเป็นที่ปรึกษาในสายงานต่างๆ เช่น การบริหารโครงการ การถ่ายทอดความรู้ด้านช่างฝมือี หรือการให้คําแนะนําในธุรกิจ เป็นต้น
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันควรมีการผลักดันระบบ Matching การจ้างงาน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันจัดทําระบบจับคู่ข้อมูลระหว่างตําแหน่งงาน พิกัดงาน และคุณสมบัติที่นายจ้างต้องการ กับความต้องการและความพร้อมของผู้สูงอายุ และปรับปรุงกฎหมายและข้อระเบียบที่เกียวข้องแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบต่าง ๆ เพื่อเอื้ออํานวยต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ ทั้งในภาครัฐและเอกชน พัฒนาทักษะให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การอบรมทักษะใหม่ ที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานในปัจจุบัน
“ปีนี้เป็นปีแรกที่จะมอบรางวัลให้กับองค์กรที่มีการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 1% ของจํานวนพนักงานทั้งหมด เพื่อยกย่องเชิดชูและ อยากเชิญชวนให้เอกชนจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น เป็นการขอความร่วมมือ เนื่องจากด้วยกฎหมายได้ไม่ได้บังคับสถานประกอบการ แต่เป็นรูปแบบสมัครใจ โดยเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนแจ้งข้อมูลเข้ามาได้ถึงวันที่ 20มี.ค."
ปัจจุบันบริษัทเอกชนที่จ้างงานผู้สูงอายุ สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560การจ้างผู้สูงอายุเข้าทำงานไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือนสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหักเป็นรายจ่ายค่าจ้างผู้สูงอายุได้ 2 เท่าเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
อย่างไรก็ตามในการหารือ ภาคเอกชนเสนอว่าอยากให้มีการเพิ่มมาตรการภาษีเพื่อจูงใจการจ้างงานมากขึ้น เนื่องจากค่าตอบแทนจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุการทำงาน แต่สัดส่วนการลดหย่อนภาษีไม่ได้เพิ่มตามโดยจะต้องมีการคือในคณะทำงานต่อไป
รวมทั้งการสามารถจ้างงานผู้สูงอายุอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ที่ขอขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน และช่องทางการเข้าถึงแหล่งงานของผู้สูงอายุได้ทั่วถึงด้วย โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี
"ก่อนหน้านี้ เราทำงานร่วมกับยังแฮปปี้เน้นในพื้นที่ของ ชุมชน เมือง ในกรุงเทพมหานคร เฟสต่อไปที่จะต้องขยายไปพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งภาคเอกชนอยากให้มีการแมตช์กับทางต่างจังหวัดไปด้วย โดยเชื่อมโยงกับผู้สูงอายุที่อยู่ในโรงเรียนผู้สูงอายุของพม.ที่มีทุกจังหวัด"
Matching เทรนด์จ้างงานผู้สูงอายุ
จริงๆแล้ว“ระบบ Matching จ้างงาน“ จะต้องสามารถเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้สูงอายุได้มองเห็นเทรนด์ของบริษัทเอกชนต่างๆว่าต้องงานแรงงานผู้สูงอายุที่มีทักษะอย่างไร และผู้สูงอายุมีขอบเขตความต้องการทำงานอย่างไร ต้องเตรียมตัวแบบไหนถึงจะสามารถอยู่ในตลาดงานไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงของครอบครัว
“เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องวางแผนร่วมกัน ส่งเสริมการจ้างเพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้ลดการพึ่งพาครอบครัวและดูแลตัวเองได้มีศักดิ์ศรี “ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวทิ้งท้าย