'Music Made Easy' เสริมทักษะสร้างเพลงด้วย AI สร้างรายได้จริง

'Music Made Easy' เสริมทักษะสร้างเพลงด้วย AI สร้างรายได้จริง

คณะนิเทศศาสตร์ DPU จัดอบรม "Music Made Easy" เสริมทักษะสร้างเพลงด้วย AI สร้างรายได้จริงทันทีระหว่างเรียนให้กับนักศึกษา ตอกย้ำความเป็น Beyond Content creator 

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "AI Music Made Easy" เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้อง Nitade Sandbox เพื่อส่งเสริมและสอนนักศึกษาสร้างเพลงด้วย AI ง่ายๆ แม้ไม่มีพื้นฐานทางดนตรี พร้อมสร้างรายได้จริงระหว่างเรียน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม Suno AI พร้อม Workshop ลงมือปฏิบัติจริง

สำหรับการอบรมนี้ได้รับเกียรติจาก “โอ๋-พงศธร ธรรมขันธ์” Live Streaming และ Sound Specialist เป็นวิทยากรรับเชิญ ที่มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม Suno AI ในการสร้างสรรค์เพลงจากจินตนาการ โดยอธิบายและเจาะลึกถึงกระบวนการใช้งานโปรแกรม Suno AI ตั้งแต่การใช้งานคำสั่งโปรแกรม AI ที่ช่วยแปลงข้อความ หรือกลุ่มคำให้กลายเป็นเสียงเพลงที่มีคุณภาพและสไตล์ที่เป็นมืออาชีพ

นอกจากนี้นักศึกษายังได้ทดลองใช้โปรแกรมจริงผ่าน Workshop ในการสร้างเพลงตามแบบฉบับของตัวเอง โดยเรียนรู้ตั้งแต่การเลือกแนวเพลง การปรับแต่งเสียง ไปจนถึงการทำให้เพลงสมบูรณ์แบบ แม้บางคนจะไม่มีพื้นฐานทางดนตรีมาก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เจาะลึกศักยภาพ “Gen-AI” โมเดล AI Chat Bot ยอดนิยม

'CITE DPU' ปั้นมนุษย์ทำงาน Gen Z-Y เก่ง AI

เพิ่มพูนทักษะ เปิดโอกาสทำงานจริง

อาจารย์ฮารีฟิน แวอาแซ หัวหน้าแผนกครีเอเตอร์แล็บ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)  กล่าวว่า การจัดอบรมในครั้งนี้เป็นการตอบสนองความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ นอกเหนือจากในห้องเรียน โดยเป็นการต่อยอดจากกิจกรรม "Personalized Activity" ซึ่งเป็นกลยุทธ์ใหม่ของคณะนิเทศศาสตร์ ในการพัฒนาทักษะให้ตอบโจทย์ความหลากหลายของนักศึกษา

ผ่านการสำรวจความต้องการของนักศึกษาในแต่ละห้องเรียน ด้วยการทำแบบสอบถาม เพื่อนำมาจัดกิจกรรม Workshop ที่เน้นการเพิ่มพูนทักษะแบบเจาะลึก ตรงกับความต้องการของนักศึกษา และให้นักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที เพื่อเติบโตในสายงานที่ตนเองต้องการมากที่สุด

“กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างทักษะ Personalized Activity ที่มุ่งพัฒนานักศึกษาให้เป็น Beyond Content Creator และสามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ปี 1 โดยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ รวมถึงบริษัทจำลองของคณะนิเทศศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทดลองทำงานจริง”

นอกจากนี้ยังมี Creator Club ที่จัดการฝึกอบรมเสริมทักษะใหม่ๆ พร้อมพัฒนาความสามารถในด้านการสร้างสื่อ และการทำงานในอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดยการอบรมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก และจุดเริ่มต้นในการให้นักศึกษาเรียนรู้การใช้ AI ในการสร้างเพลงที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งนักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดผลงานที่มีอยู่แล้ว หรือนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ทันที

\'Music Made Easy\' เสริมทักษะสร้างเพลงด้วย AI สร้างรายได้จริง

อาจารย์ฮารีฟิน อธิบายต่อว่า ในระหว่างกิจกรรมยังมีการสอนเทคนิคการสร้างรายได้จากการทำเพลงผ่านการใช้ AI ที่ช่วยให้การผลิตเพลงเป็นเรื่องง่ายและประหยัดเวลา อีกทั้งยังลดต้นทุนในการผลิตเพลงได้อย่างมาก

รวมถึง นักศึกษายังสามารถนำเพลงที่สร้างขึ้นไปใช้ประกอบในการสร้างเนื้อหาสำหรับช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น การทำคลิปวิดีโอ โปรเจกต์การตลาด หรือแม้กระทั่งการใช้เพลงในการสร้างสื่อโฆษณา ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถหยิบนำไปสร้างรายได้ในระหว่างเรียนได้ผ่านการเผยแพร่เพลง หรือการใช้เพลงในงานโฆษณา

"ในอนาคต เราจะมีการจัดกิจกรรมอบรมเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยจะจัดกิจกรรม 3 ครั้งต่อเดือน ตัวอย่างเช่น การเสริมทักษะด้านการตัดต่อใน CapCut ที่จะเป็นครั้งต่อไป ตามด้วยการยิงโฆษณา (Ad)  และการสร้างสื่อในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมทั้งหมดนี้ยังสอดคล้อง และเชื่อมโยงกันอย่างมีระเบียบ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ทันทีหลังจากจบคอร์ส"

อาจารย์ฮารีฟิน ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการใช้ AI อย่างเต็มที่ โดยมีการจัดเตรียมซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ทันสมัยเพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้ฟรี เช่น Adobe Premiere ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการตัดต่อวิดีโอ อีกทั้งยังมีการบูรณาการการใช้ AI ในการเรียนการสอนในหลายวิชา เช่น วิชา FD 337 (คอมพิวเตอร์กราฟิก) ที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้การใช้โปรแกรม AI ในการสร้างสรรค์ผลงาน ตั้งแต่การป้อนคำสั่ง Photoshop Generate ไปจนถึงการใช้งาน Adobe firefly และ Adobe Express เพื่อออกแบบผลงานตามที่ต้องการ

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้เตรียมห้องปฏิบัติการต่างๆ อาทิ สตูดิโอ ห้อง Livestream ห้องตัดต่อ ห้องบันเสียง และห้องการแสดง ซึ่งมีเครื่องมือที่รองรับการสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของเสียง ภาพ และเนื้อหา พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำ และเสริมทักษะแก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการผลิตสื่อต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกความต้องการของนักศึกษาและอุตสาหกรรม

\'Music Made Easy\' เสริมทักษะสร้างเพลงด้วย AI สร้างรายได้จริง

“การเรียนรู้เกี่ยวกับ AI ที่DPU ไม่เพียงแค่ทฤษฎี แต่ยังมีอุปกรณ์ที่รองรับการผลิตและเชื่อมต่อการสร้างสื่อทั้งภาพ เสียง และเนื้อหาอย่างครบวงจร ล่าสุดในหลักสูตรภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล นักศึกษาได้มีโอกาสผลิตผลงานจริงและนำไปฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์สามย่าน (House Samyan) ถึง 8 เรื่อง พร้อมเชิญผู้กำกับมืออาชีพมาเสริมทักษะให้นักศึกษาสามารถโชว์ศักยภาพในระดับมืออาชีพ ซึ่งเรามีอุปกรณ์ที่พร้อมสนับสนุนการถ่ายทำ และนำเสนอผลงานในมาตรฐานแบบมืออาชีพ”

การอบรมเชิงปฏิบัติการ "Music Made Easy" ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่มุ่งมั่นเสริมทักษะและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยี AI ในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงและคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งสามารถนำไปสร้างรายได้ทันทีทั้งในด้านศิลปะและการตลาด นอกจากนี้การอบรมยังไม่เพียงแค่ช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านดิจิทัล แต่ยังช่วยให้นักศึกษาเติบโตเป็น "Beyond Content Creator" ที่มีความสามารถหลากหลายและพร้อมก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างมั่นใจ

สำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารและกำหนดการการจัดกิจกรรมครั้งถัดไปได้ที่เพจเฟซบุ๊ก “คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” และ “เพจครีเอเตอร์คลับ” หรือ www.dpu.ac.th/th/faculty-of-communication-arts เพื่อไม่พลาดทุกโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างอนาคตให้สดใสและมั่นคงยิ่งขึ้น

\'Music Made Easy\' เสริมทักษะสร้างเพลงด้วย AI สร้างรายได้จริง