Bully ภัยในเด็ก! นศ.นิเทศ ม.นครพนม คว้ารางวัลสื่อแก้ปัญหาบูลลี่ในโรงเรียน

Bully ภัยในเด็ก! นศ.นิเทศ ม.นครพนม คว้ารางวัลสื่อแก้ปัญหาบูลลี่ในโรงเรียน

อย่ามองเป็นเรื่องเล็ก Bully ภัยในเด็ก! นศ.นิเทศ ม.นครพนม คว้ารางวัลสื่อแก้ปัญหาบูลลี่ในโรงเรียน

กรณีการแก้ปัญหาบูลลี่ในโรงเรียน ล่าสุดวันนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ มอบรางวัลผลงานนักสื่อสารภาคีสัมพันธ์ ปีที่ 1

ทีม UNBULLYABLE นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการฯ มหาวิทยาลัยนครพนม คว้ารางวัล "ผลงานนักสื่อสารภาคีสัมพันธ์ ประเภทวีดิโอสั้น"  ในชื่อผลงาน การบูลลี่ในโรงเรียน ภัยใกล้ตัวที่ไม่เคยนึกถึง 

จัดโดย สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผลงานสร้างสรรค์ดังกล่าว เป็นการผลิตสื่อดิจิทัลถ่ายทอดเรื่องราวคนสร้างสุขภาวะและการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ โดยนำเสนอการทำงานในโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบูลลี่ (Bully) ในสังคมของเด็กนักเรียนโรงเรียนวังยางวิทยาคม ตําบลวังยาง อําเภอวังยาง จังหวัดนครพนม

Bully ภัยในเด็ก! นศ.นิเทศ ม.นครพนม คว้ารางวัลสื่อแก้ปัญหาบูลลี่ในโรงเรียน

ทั้งนี้ จากข้อมูล สสส. เผยในการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ธวัชชัย พาชื่น เจ้าหน้าที่มูลนิธิแพธทูเฮลท์ สะท้อนปัญหาเรื่องการรังแกกันของเด็ก ในการนำเสนอเรื่อง "การขับเคลื่อนนโยบาย เรื่อง bullying ในโรงเรียนประสบการณ์การพัฒนาหลักสูตร" ว่า มีรายงานการสำรวจเมื่อปี 2549 ของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

Bully ภัยในเด็ก! นศ.นิเทศ ม.นครพนม คว้ารางวัลสื่อแก้ปัญหาบูลลี่ในโรงเรียน

พบว่า ประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลก หรือ 40% รองจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีอยู่ 60% ที่มีการรังแกกัน และการวิจัยขั้นต้นเรื่อง ความชุก และปัจจัยเกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในระดับชั้น ม.1-3 ปี 2560 ของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า 45% มีประสบการณ์เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางโลกไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งมากกว่าประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นถึง 4 เท่า

 

นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลสถานการณ์การรังแกกันในโรงเรียนในกรุงเทพฯ จำนวน 5 แห่ง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมต้น และมัธยมปลาย รวม 90 คน ทำให้ทราบข้อมูลว่า คนที่รังแกจะเป็นเพื่อนสนิท เพื่อนคนอื่นๆ ในห้อง นอกห้องและต่างระดับชั้น คนที่ถูกรังแก จะเป็นเด็กไม่ค่อยสู้คน เงียบๆ คนที่แตกต่าง เด็กเรียนรู้ช้า ออทิสติก เด็กรัก เพศเดียวกัน เด็กไม่ค่อยมีเพื่อน คนที่ฟันเหยิน ผิวดำ เตี้ย โดยคนที่รังแกจะรู้สึกสนุก ส่วนคนที่ถูกรังแกจะรำคาญ ไม่ชอบ และคนที่อยู่ในเหตุการณ์จะไม่อยากยุ่ง กลัวเป็นเป้าหมาย

ขณะที่สถานการณ์การรังแก เกิดขึ้นทุกวัน แต่ไม่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่ จัดการเองได้ ไม่ต้องบอกผู้ใหญ่ แต่ไม่สามารถจัดการ เผชิญหน้า หยุดการรังแกได้ทุกคน คนถูกรังแกไม่กล้าบอกให้ผู้รังแกหยุด เก็บกด ไม่บอกใคร และตอบโต้ ด้วยความรุนแรง ซึ่งรูปแบบการรังแกที่พบ ด้านร่างกาย ทำร้ายร่างกาย ไถเงิน, ด้านวาจา ล้อเลียน ด่า เสียดสี, ด้านท่าที สังคม เพิกเฉย นินทา ปล่อยข่าวลือ และการกลั่นแกล้งผ่านโลกออนไลน์ หรือไซเบอร์(Cyber bullying) โพสต์ด่าทางเฟซบุ๊ก ถ่ายภาพหลุดส่งทางไลน์กลุ่ม

การจะป้องกันการรังแกกัน มูลนิธิได้ทำแผนการจัดการเรียนรู้นี้ เน้นเรื่อง Be Buddies Not Bullies โดยเน้นให้เรียนรู้ใน 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.การรังแกกันไม่ใช่เรื่องปกติ ต้องเข้าใจว่าอะไรคือการรังแกกัน การรังแกกัน เกิดขึ้นที่ไหนอย่างไร การรังแกกันบนโลกออนไลน์และตัวตนทางเพศ 2.ผลกระทบและสาเหตุการรังแก หากรู้แล้วจะรังแกไหม ผลกระทบเกิดขึ้นมากกว่าที่คิด ผู้รังแกชนะจริงหรือ 3.การทำอย่างไรในสถานการณ์การรังแก สอนเรื่องถ้าถูกรังแก จะทำอย่างไร ถ้าเห็นการรังแกจะทำอะไรได้บ้าง คนเห็นเหตุการณ์ช่วยได้ และ 4.การรังแกกันป้องกันได้ สอนให้เข้าใจว่า เพราะชีวิตคือความ หลากหลาย การเคารพ ให้เกียรติต่อตนเองและผู้อื่น การจัดการความโกรธ และ สอนเรื่องหลากรสหลายแบบ เป็นต้น ทั้งนี้ ให้การศึกษาบ่มเพาะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อาทิ เคารพคนอื่น ความยุติธรรม กล้าหาญ รับผิดชอบ ความเป็นพลเมืองที่ดี และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ใส่ใจผู้อื่น รวมถึงสอนให้ เรียนรู้เรื่องเพศวิถีและสัมพันธภาพศึกษา เพื่อให้แต่ละคนรู้จักตนเอง