สร้างนักเขียนบทภาพยนตร์ ดัน soft power ของไทย

สร้างนักเขียนบทภาพยนตร์ ดัน soft power ของไทย

จับกระแสวันนี้ สร้างนักเขียนบทภาพยนตร์ ดัน soft power ของไทย

นโยบายของรัฐบาลใหม่เกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง ต้องติดตามและจะรายงานให้ทราบอีกครั้ง จึงอยากพูดถึงสิ่งที่หน่วยงาน หรือกลุ่มคนทำงานที่อยากเห็นประเทศไทยก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ (Film) ในตลาดโลก ได้ก้าวเดินพร้อมมองท่าทีรัฐบาลอยู่ในขณะนี้

อย่างที่ทราบว่า หัวใจของภาพยนตร์คือ "บทภาพยนตร์" ซึ่งเราจะเห็นตัวอย่างความสำเร็จของภาพยนตร์ฮอลลิวู้ด หรือที่มาแรงอย่างภาพยนตร์จากเกาหลีใต้ ล้วนมาจากการเขียนบทที่ออกแบบงานสร้างจนกวาดรายได้มหาศาล และส่งผลในด้านซอฟต์พาวเวอร์ได้เป็นอย่างดี

กลับมามองภาพยนตร์ไทยนั้น คงเคยได้ยินบ่อยครั้งที่คนในวงการภาพยนตร์ หรือ คอหนังก็ตาม มักวิจารณ์ว่าบทภาพยนตร์ไทยไม่ดี ทำให้เส้นเรื่องหรือการเล่าเรื่องไม่นำพาภาพยนตร์ไปสู่ความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น

สร้างนักเขียนบทภาพยนตร์ ดัน soft power ของไทย
 

ปัญหาบทภาพยนตร์ไม่ดี จึงกลายเป็นโจทย์ที่ท้าทาย โดยเฉพาะนักวิชาการด้านภาพยนตร์ ซึ่งน่าสนใจโครงการพัฒนากำลังคนด้านการเขียนบทภาพยนตร์ เพิ่มมูลค่าภาพยนตร์ไทยสู่ตลาดโลก ที่คิดหลักสูตร "เข็นบทขึ้นภูเขา" ขึ้นมา คัดนักเขียนจากทั่วประเทศให้เหลือ 30 คน เข้าค่ายอบรมที่เขาใหญ่ตลอด 7 วัน เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา

โดยคนที่ร่างหลักสูตรคือ ผู้กำกับฯหนังพันล้าน อย่าง ปรัชญา ปิ่นแก้ว พร้อมด้วย 2 ผู้กำกับหนังอีสาน รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ และ ผศ.ดร.ปรีชา สาคร โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ 

สร้างนักเขียนบทภาพยนตร์ ดัน soft power ของไทย

การจะสร้าง "นักเขียนบทภาพยนตร์" ให้ตอบโจทย์ซอฟต์พาวเวอร์ของไทย เป็นสิ่งที่ บพค. น่าจะมาถูกทาง เพราะการแก้ปัญหาที่ดีต้องมีข้อมูลงานวิจัยรองรับ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นักวิชาการ และกลุ่มเป้าหมายลงมือปฏิบัติร่วมกัน และโครงการนี้จะได้บทหนังถึง 3 เรื่องจากการคัดสรรมา 30 เรื่อง
 

อย่างที่ ผศ.ดร.ปริปก พิศสุวรรณ รอง ผอ.บพค. มองว่าประเทศเราที่มีโอกาสจะสามารถสร้างสรรค์ภาพยนตร์ที่ดีสู่ตลาดโลกได้ แต่ปัญหาก็คือเราขาดคนที่มีทักษะด้านการเขียนบท เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะไปยืนบนตลาดโลกได้นั้น จำเป็นต้องมีผู้เขียนบทที่มีทักษะและมีประสบการณ์

สร้างนักเขียนบทภาพยนตร์ ดัน soft power ของไทย

นี่อาจถือเป็นจุดเริ่มที่มีพลัง สร้างนักเขียนบทภาพยนตร์พันธุ์ใหม่ เชื่อมโยงซอฟต์พาวเวอร์ของไทย เพิ่มมูลค่าส่งออกไปตลาดโลก นอกจากรายได้ของหนังแล้วยังช่วยการท่องเที่ยว น่าจะตอบโจทย์รัฐบาลของนายกฯเศรษฐา ทวีสิน และเข้าทางรัฐมนตรี อว. ศุภมาศ อิศรภักดี หรือไม่จริง!
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :

บทความที่เกี่ยวข้องกับ soft power ทั้งหมด

บทความของนิติราษฎร์ บุญโย ทั้งหมด