เปิดนโยบายเปิดรับและส่งเสริมนวัตกรรมในเกาหลีใต้

เปิดนโยบายเปิดรับและส่งเสริมนวัตกรรมในเกาหลีใต้

'เกาหลีใต้' เป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำของโลกทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยี และอิทธิพลของซอฟต์พาวเวอร์ของเกาหลีใต้ในประชาคมโลก

การพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นจากพื้นฐานการดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี โดยนโยบายเหล่านั้นอยู่บนพื้นฐานนวัตกรรมทางความคิดที่มุ่งเน้นการสร้างโยบายที่มีความแตกต่างจากประเทศอื่นและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้เป็นอย่างดี

ผศ.ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว ที่ปรึกษาสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต  กล่าวว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศทั้งหมด แต่ถึงอย่างไรเกาหลีใต้ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันเครื่องไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค 

ปัจจุบันเกาหลีใต้เป็นผู้ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปอันดับที่ 7 ของโลก ในปี 2564 เกาหลีใต้นำเข้าน้ำมันดิบ 24.3 พันล้านดอลล่าร์ แต่กลับสามารถส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปต่าง ๆ ถึง 36.4 พันล้านดอลล่าร์ การพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นจากนโยบายและกฎระเบียบของภาครัฐที่ขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ โดยเริ่มจากการเปิดเสรีในธุรกิจการขายน้ำมันในทุกระดับ ปั้มน้ำมันแต่ละปั้มสามารถกำหนดเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของตนเองได้ตลอดเวลา 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เสิร์ฟ 3 อีเวนต์ด้านนวัตกรรมสุดล้ำที่เดียวจบทั้ง ธุรกิจ-การศึกษา

สกสค. จับมือ เจเนซิส ผู้นำ นวัตกรรม-เทคโนโลยีการศึกษา โชว์ศักยภาพ EdTeX 2023

 

ขับเคลื่อนนวัตกรรมความคิด ก้าวสู่ผู้นำตลาดโลก

ภาครัฐของเกาหลีใต้ได้สร้างระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ที่รายงานราคาน้ำมันของทุก ๆ ปั้มในประเทศ วันละสองเวลาเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ในราคาและระยะทางการเดินทางที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเองนอกจากนั้นภาครัฐยังมีกฎระเบียบกำหนดให้ต้องมีการรายงานราคาการซื้อขายน้ำมันระหว่างโรงกลั่นกับผู้ค้าทุก ๆยอด
การซื้อขาย 

โดยภาครัฐจะประกาศสรุปราคาเฉลี่ยในแต่ละเดือนของแต่ละโรงกลั่นให้ประชาชนได้รับทราบ นโยบายและกฎระเบียบเหล่านี้ทำให้เกิดการแข่งขันตามกลไกตลาดจนเกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมการแปรรูปน้ำมันของเกาหลีใต้ให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดโลกได้

ต่อมาเมื่อเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous vehicle) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกผู้ที่มีข้อจำกัดในการขับรถยนต์ 

เปิดนโยบายเปิดรับและส่งเสริมนวัตกรรมในเกาหลีใต้

เกาหลีใต้สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศจนได้รับการจัดอันดับที่ 7 จาก 30 ประเทศที่มีการจัดอันดับโดยดัชนี Autonomous Vehicles Readiness Index (AVRI) ของ KPMG 

ต้านทานการเปลี่ยนแปลงในโลกได้ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

โดยในปัจจุบันเกาหลีใต้ึเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้เริ่มมีการนำรถยนต์ไร้คนขับมาใช้จริงแล้ว เช่น Roboride โดย Hyundai ซึ่งให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับในบริเวณย่านกังนัม โดยใช้รถ Ioniq 5 หรือการให้บริการรถโดยสารไร้คนขับในเมือง Sejong city และกรุงโซล ทั้งนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีการออกกฎหมาย 'Act on Promotion and Support of the Commercialization of Autonomous Vehicles' ในปี 2562 

พร้อมทั้งตั้งเป้าให้มีการจำหน่ายหรือใช้รถยนต์ไร้คนขับในระดับ 4 ภายในปี 2570 (ระดับ 4 คือรถสามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ โดยไม่ต้องมีผู้ควบคุม หากสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย) และให้รถที่ผลิตในประเทศในปี 2578 เป็นรถยนต์ไร้คนขับระดับ 4 ขึ้นไปในสัดส่วนครึ่งหนึ่ง และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ดำเนินการในหลายด้าน ได้แก่ 
(1) การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์ไร้คนขับ 

(2) การแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประกันภัย เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากรถยนต์ไร้คนขับ

ในด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยสภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายลง หลายประเทศได้หันมาให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนจากการใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้ ไปเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ปลอดการเผาไหม้ เพื่อลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ หรือที่เรียกว่า De-carbonization 

เปิดนโยบายเปิดรับและส่งเสริมนวัตกรรมในเกาหลีใต้

สำหรับเกาหลีใต้ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเอเชียที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ชั้นนำของโลก รัฐบาลได้ใช้เครื่องมือทางนโยบายต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV โดยเริ่มมีความเป็นรูปธรรมตั้งแต่การออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการวิจัยและพัฒนายานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปี ค.ศ. 2004 และตามมาด้วยการปรับปรุงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

จนในปี ค.ศ. 2022 เกาหลีใต้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนถึง 11% ของยอดการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศ ขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งไฟฟ้าในประเทศในปีเดียวกันนั้นมีสัดส่วนกว่า 9% ของยอดขายรถยนต์นั่งทั้งหมดติดอันดับท็อป 20 ของโลก

แน่นอนว่าการพัฒนาของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในเกาหลีใต้นั้นได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการต่าง ๆ ในหลายด้าน ซึ่งผู้เขียนขอหยิบยกตัวอย่าง 2 มาตรการ 

ตัวอย่างแรกได้แก่ อัตราภาษีการครอบครองรถยนต์ประจำปี โดยรถยนต์นั่งที่มิได้ใช้เพื่อการพาณิชย์และใช้เครื่องยนต์แบบเผาไหม้ต้องเสียภาษีในอัตรา 80 วอน ,140 วอน หรือ 200 วอน ต่อความจุกระบอกสูบ 1 cc ขณะที่หากเป็นรถยนต์นั่งที่มิได้ใช้เพื่อการพาณิชย์ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าต้องเสียภาษีในอัตราเดียวคือ 100,000 วอนต่อคัน ดังนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะได้แรงจูงใจส่วนหนึ่งจากภาระภาษีดังกล่าวที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบเผาไหม้ ทั้งนี้ประเทศไทยเองก็ได้มีการใช้มาตรการคล้ายกันนี้ แต่อัตราภาษีของไทยมีหลายขั้นและซับซ้อนกว่าในเกาหลีใต้อยู่มาก  

ส่วนอีกมาตรการตัวอย่างหนึ่งคือการให้เงินอุดหนุนทั้งจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น โดยมีทั้งเงินอุดหนุนโดยตรงที่จ่ายให้กับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมูลค่าเงินอุดหนุนก็ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ด้านประสิทธิภาพ เทคโนโลยีบริการหลังการขาย และช่วงราคาของรถ และยังมีเงินอุดหนุนให้กับผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดภาระต้นทุนด้วย เปรียบเทียบกับประเทศไทยที่มีการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ประกอบการผลิตหรือผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้นไม่มีการจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงให้กับผู้ซื้อ 

นอกจากนี้ประเทศไทยไม่ได้กำหนดเกณฑ์การจ่ายเงินอุดหนุนที่มีหลายมิติเท่าในเกาหลีใต้ แต่เลือกที่จะไปเน้นหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมด้วยมาตรการ
ทางภาษีสรรพสามิตให้มีความครอบคลุมหลากหลายมิติแทน

สำหรับในด้านสุขภาพ ประชาชนเกาหลีใต้ก็เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยลดอันตรายจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ โดยตามข้อมูลจากศูนย์ควบคุมยาสูบแห่งชาติของเกาหลีใต้ (National Tobacco Control Center of Republic of Korea) ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor แสดงให้เห็นว่านับตั้งแต่
ปี ค.ศ.2017 ที่เริ่มมีการวางตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน (Heated Tobacco Product หรือ HTP) ยอดขายบุหรี่แบบเดิมก็ค่อย ๆ มีสัดส่วนที่ลดลงจาก 96% ในปี ค.ศ. 2017 เหลือ 84% ในปี ค.ศ.2023 

ขณะที่ยอดขาย HTP ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ปลอดภัยกว่าเพราะสามารถสูบโดยไม่ต้องมีการเผาไหม้ แต่ใช้วิธีการอุ่นให้ความร้อนแทนนั้น มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 3% เป็น 15% ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ส่วนยอดขายบุหรี่ไฟฟ้า (E-Cigarettes) ซึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์ยาสูบอีกประเภทหนึ่งที่บริโภคโดยไม่มีการเผาไหม้ แต่ใช้การอุ่นให้ความร้อนกับน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแทนนั้น ยังมีสัดส่วนค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่ 0.5%

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเรื่องจำนวนผู้ใช้ HTP หรือบุหรี่ไฟฟ้า ในเกาหลีใต้ที่เปิดเผยโดยศูนย์ควบคุมยาสูบแห่งชาติของเกาหลีใต้ ก็ดูไม่น่ากังวลว่าจะไปเร่งให้เกิดมีผู้สูบบุหรี่ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เพราะจากสถิติที่เปิดเผยโดยศูนย์ควบคุมยาสูบแห่งชาติของเกาหลีใต้ พบว่าแม้สัดส่วนผู้สูบบุหรี่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่สัดส่วนผู้ใช้ HTP และสัดส่วนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามิได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2019-2021

ผศ.ดร.สุทธิกร มองว่าปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ HTP ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ คือเรื่องความได้เปรียบด้านภาษีสรรพสามิต โดย HTP ได้ถูกจัดประเภทเป็นบุหรี่ไฟฟ้าแบบแข็ง ตามระบบภาษีสรรพสามิตของเกาหลีใต้ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าแบบแข็งนี้มีทั้งในแบบที่เป็นมวน และในรูปแบบที่ไม่เป็นมวน โดยถ้าเทียบเฉพาะ HTP ชนิดมวนกับบุหรี่ พบว่า HTP ชนิดมวนเสียภาษีสรรพสามิตน้อยกว่าบุหรี่อยู่กว่า 10% 

อัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบ

บุหรี่ 1,007 วอน / 20 มวน

บุหรี่ไฟฟ้าแบบแข็ง ที่มีลักษณะเป็นมวน (HTP บางยี่ห้อ) 897 วอน / 20 มวน

บุหรี่ไฟฟ้าแบบแข็ง ที่มีลักษณะอื่น (HTP บางยี่ห้อ) 88 วอน / กรัม

บุหรี่ไฟฟ้าแบบเหลว 628 วอน / น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า 1 มิลลิลิตร

นอกจากนี้ อีกปัจจัยหนึ่งคือการเข้าสู่ตลาด HTP ของบริษัทยาสูบแห่งชาติอย่าง บริษัท KT&G 
(ชื่อเดิม Korea Tobacco & Gingseng Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาสูบของเกาหลีใต้ ที่ได้เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ HTP ขึ้นมาเองและได้เปิดตัววางตลาดในช่วงปลายปี ค.ศ. 2017 นับแต่นั้นมา KT&G ก็ได้ขยายการผลิตHTP ในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน 10% ของรายได้ในธุรกิจยาสูบของ KT&G มาจาก HTP ขณะที่อีก 90% ยังคงมาจากบุหรี่

กรณีตัวอย่างทั้งหมดนี้ เป็นตัวอย่างการใช้เครื่องมือทางนโยบายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ทั้งเพื่อยกระดับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งขับเคลื่อนประเทศให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเทคโนโลยี 

เพราะไม่มีใครสามารถหยุดเวลาหรือต้านทานการเปลี่ยนแปลงในโลกได้ จึงเป็นการดีกว่าที่เตรียมความพร้อมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและเตรียมความพร้อมภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้เกิดประสิทธิภาพจากการแข่งขันอย่างเท่าเทียม เพื่อทำให้ประเทศสามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน