ความไม่เสมอภาคทางการศึกษา ปัญหาใหญ่พัฒนาประเทศ

ความไม่เสมอภาคทางการศึกษา ปัญหาใหญ่พัฒนาประเทศ

ปัจจัยการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน สิ่งสำคัญคือ 1.องค์ความรู้ความสามารถ 2.เงินทุนในการเสริมสร้าง 3.การส่งเสริมในระดับมหภาค(รัฐ) ซึ่งนโยบายปัจจุบันมีแนวคิดพัฒนาเศรษฐกิจใหม่คือ BCG

BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด 

ทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

BCG ที่สำคัญคือการเติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

หากย้อนไปยังความยั่งยืน ที่สำคัญไม่ใช่การมองไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว เราอาจต้องย้อนกลับมาดู ความเป็นจริงของประเทศ นั้นคือการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมและอาจไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอ

หากเรามองโลกที่กว้างขึ้นเราอาจดูต้นแบบที่ประเทศจีน ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2563 ประเทศจีนประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างเบ็ดเสร็จ (Absolutely Poverty Eradication)

โดยใช้มาตรการการขจัดความยากจนอย่างตรงจุด (Targeted Poverty Eradication: TPE) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญ และใช้เวลาเพียง 7 ปี จากจำนวนคนยากจน 83 ล้านคน (ร้อยละ 8.5 ของสัดส่วนประชากรทั้งหมด)

ความไม่เสมอภาคทางการศึกษา ปัญหาใหญ่พัฒนาประเทศ

ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มต้นนโยบาย ทั้งนี้ พบว่านโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย 4 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้
1.นโยบายจากผู้นำมีความจริงจัง และต่อเนื่องชัดเจน
2.มีเป้าหมายร่วมกัน (Common Goal)เรียกได้ว่าจริงจังและยั่งยืน
3.การออกแบบมาตรการอย่างเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มเป้าหมาย (Tailor-made)เปรียบดั่งตัดเสื้อเพื่อเหมาะกับผู้สวมใส่ ทุกมาตรการต้องยึดหลักสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ในระยะยาว (Sustainability) โดยเน้นให้คนยากจนมีอาชีพที่มีรายได้มั่นคง
4.การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ขจัดความยากจน (Innovation against poverty) 

ประเทศจีนให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ก่อนที่วางแผนพัฒนาประเทศ ไม่ใช่เพียงให้ความสำคัญกับองค์ความด้านการศึกษาแต่ยังคำนึงถึง “ต้นทุน”ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ที่มีความสามารถได้รับการศึกษาที่สูงเพียงพอ

โดยในระดับ มัธยมศึกษามีค่าใช้จ่าย 159,300 บาทต่อปี ระดับปริญญาตรี 95,580 บาทต่อปี ระดับ ปริญญาโท 132,750 บาทต่อปีและในระดับ ปริญญาเอก 175,230 บาทต่อปี (คิดค่าเงินที่ 1 บาทเท่ากับ 5.31หยวน) 

จากสัดส่วนที่ลดลงของต้นทุนการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เมื่อประชาชนต้องการศึกษาต่อที่สูงขึ้น ต้นทุนเพื่อเพิ่มพูนความรู้คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลง เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนพยายามที่หาความรู้ให้ตนเอง

ผมได้มีโอกาสบรรยายให้กับวิทยาลัยชุมชนแห่งหนึ่ง ได้ฟังเรื่องราวถึงความยากลำบากในการศึกษาของผู้ด้อยโอกาส บางกรณี ค่าเทอม 600 บาทไม่สามารถนำมาจ่ายได้ นั้นหมายความว่า หากชีวิตของคนที่อยากได้การศึกษาเพื่อให้ตนเองเติบโตในสายอาชีพต่างๆ อาจเป็นไปได้ยากมาก

ผู้ที่ด้อยโอกาสบางท่าน “หาเช้ากินค่ำ” เงินเพียง 600 บาทกลายเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ตนเองเจริญก้าวหน้าได้ ในขณะเดียวกัน 600 บาทสำหรับคนบางกลุ่มอาจจะใชัจ่ายหมดเพียงแค่วันเดียว 

เราอาจเข้าใจกลไกทางธรรมชาติว่า หากเราจะลงทุนควรต้องลงทุนกับสิ่งที่สร้างประโยชน์เชิงประจักษ์ที่ทำให้ ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศ “เห็นด้วยกับสิ่งที่ได้รับ” ดั่งการลงทุนกับการศึกษามหภาค

ความไม่เสมอภาคทางการศึกษา ปัญหาใหญ่พัฒนาประเทศ

เช่นมหาวิทยาลัยเพราะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้ “ดูดีกว่า”แต่แก้ปัญหาระดับคนยากจนไม่ได้ หากบางทีเราอาจต้องมองงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสเพื่อสนับสนุนให้พวกเขามีความสามารถเพียงจ่ายค่าเล่าเรียน 

หากรากหญ้ามีความรู้ หนี้สินที่เกิดจากการศึกษาที่น้อย พวกเขาอาจมีพื้นที่ในการพัฒนาตนเองที่ดีขึ้น เมื่อพัฒนาตนเองดีขึ้น อาจสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ทำให้ประเทศพัฒนา รัฐอาจเหนื่อยน้อยกว่า

เปรียบดั่งช่วยคนที่พยายามช่วยเหลือตนเอง ย่อมมีความพยายามมากกว่า ผู้คนที่ไม่ได้ยากลำบากแต่ได้รับการช่วยเหลือจนเป็นเรื่องธรรมดา? 

Credit https://www.prachachat.net/
https://www.bcg.in.th/bcg-by-nstda
https://research.eef.or.th/orphans-in-thailand-education-system/