"PCOS" ภัยเงียบใกล้ตัว "สตรีมีบุตรยาก"

"PCOS" ภัยเงียบใกล้ตัว "สตรีมีบุตรยาก"

PCOS ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หนึ่งในสาเหตุของสตรีมีบุตรยาก เพราะไข่ไม่โตตามเกณฑ์ ด้อยคุณภาพ  และส่งผลให้ประจำเดือนมาช้า หรือ ขาดหาย แต่เยียวยาได้โดยการเลือกรับประทานโภชนาการที่ถูกต้อง

          ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) ที่ส่งผลให้ สตรีตั้งครรภ์ยาก  จากสถิติที่มีการเก็บข้อมูลของ Office on Women' s Health, U.S. Department of Health & Human Services พบว่าผู้หญิงกว่า 5 ล้านคนทั่วโลกเผชิญกับภาวะ PCOS และส่งผลให้ "มีบุตรยาก" ขณะเดียวกันในประเทศไทยพบผู้ป่วย PCOS มากถึง10% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

 

          ในเรื่องนี้  ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาด้านผู้มีบุตรยากและผู้ก่อตั้งเพจbabyandmom.co.th ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก ได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษางานวิจัยพบว่าPCOS เป็นภาวะฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เกี่ยวพันกับระบบหลายระบบในร่างกาย และสามารถสังเกตอาการบ่งชี้ได้ ดังนี้ 

 

          1.ประจำเดือนมาช้า  หรือ ขาดหาย มีบุตรยาก

          ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนสมดุลประจำเดือนจะมาทุกๆ รอบ 28 วันของเดือน แต่หากขาดหายยาวนานถึง 35 วันต่อ 1 รอบเดือน หรือประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน หรือมีรอบเดือนน้อยกว่า 10 รอบเดือนใน 1 ปี เป็นข้อบ่งชี้ถึงฮอร์โมนที่ไม่สมดุลและอยู่ในภาวะเสี่ยงเป็น PCOS ความไม่สมดุลของฮอร์โมนส่งผลต่อรอบเดือนและการตกไข่ เนื่องจากการตั้งครรภ์ต้องอาศัยการตกไข่ ซึ่งสตรีที่มีภาวะ PCOS บางราย อาจมีภาวะไข่ไม่ตกในบางเดือน หรือบางรายไข่อาจไม่ตกเลย จึงส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยาก ​

          2.มีฮอร์โมนเพศชายสูง ขนดก เป็นสิว ผมร่วง

          ร้อยละ 70 ของผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ส่วนใหญ่พบว่ามีฮอร์โมนเพศชายสูง ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน  หมายรวมถึง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน , DHEA และ แอนโดสเตอนิไดโอน  ซึ่งผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง จะแสดงออกทางร่างกาย คือ ขนขึ้นบริเวณใบหน้า, หน้อก, หลัง , ริมฝีปาก,ต้นแขน , ต้นขา จำนวนมาก รวมถึงใบหน้ามีความมัน และเป็นสิวง่าย ผมร่วง เป็นต้น

          3.มีน้ำหนักเกินและเสี่ยงต่อภาวะดื้อต่ออินซูลิน

          โดยมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25กิโลกรัมและเสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งระดับอินซูลินในร่างกายหากสูงกว่าปกติจะทำให้รังไข่ถูกกระตุ้นและผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชาย โดยผลกระทบสำคัญ คือ กระบวนการตกไข่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ นอกจากนี้ ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดการสะสมไขมัน และอ้วนง่าย

\"PCOS\" ภัยเงียบใกล้ตัว \"สตรีมีบุตรยาก\"

          “ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็น PCOS ดังกล่าว สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด  อันดับแรก ต้องจดจำรายละเอียดถึงรอบประจำเดือน การขาดหายของประจำเดือน โดยแพทย์จะทำการการตรวจร่างกายประเมินอาการการแสดงออกของฮอร์โมนเพศชายเกิน และเจาะเลือดเพื่อวัดระดับของฮอร์โมนเพศ ระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อตรวจหาภาวะดื้ออินซูลิน รวมถึงตรวจวัดระดับไขมันในเลือด การตรวจภายใน หรือการตรวจอัลตร้าซาวด์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อดูลักษณะรังไข่ว่ามีถุงน้ำในรังไข่หลายใบหรือไม่” ครูก้อย กล่าว

          ครูก้อย กล่าวด้วยว่ามีงานวิจัยหลายฉบับที่ออกมารายงานถึงโภชนาการที่ช่วยเยียวยาภาวะ PCOS เช่นรูปแบบการกินอารหารแบบ Dietary Approaches to Stop Hypertension หรือ DASH Diet เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน ดังนี้

          1.ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชถั่วต่างๆ งาดำ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

 

          2.งดของหวานเด็ดขาดเพราะหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลินมากำจัดน้ำตาลส่วนเกิน มีผลให้เหนี่ยวนำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเป็นสาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา เสี่ยงต่อโรคอ้วน ส่งผลต่อความเสื่อมของสเปิร์มและเซลล์ไข่ก่อนวัยอันควร

 

\"PCOS\" ภัยเงียบใกล้ตัว \"สตรีมีบุตรยาก\"

          3.ทานโปรตีนจากพืชได้แก่ ถั่วเหลือง งาดำ อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง ควินัว มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการรับประทานโปรตีนจากพืชช่วยลดความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกได้ถึง 50%  

 

          4.ทานกรดไขมันดี (HDL) หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) หรือ โอเมก้า 3 ที่มีในปลาทะเล โดยร่างกายต้องใช้ไขมันดีในการผลิตฮอร์โมนเพศ โดยแหล่งอาหารที่อุดมด้วยไขมันดี ได้แก่ ปลาทะเล อะโวคาโด ธัญพืชจำพวก งาดำออแกนิคคั่วเตาถ่าน แฟล็กซีดและอัลมอนด์ เมล็ดฟักทองออแกนิค น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย หรือทานน้ำมันปลา

 

          5.ทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้สมบูรณ์ เน้นทาน ผักใบเขียว ผักผลไม้หลากสี ผลไม้รสเปรี้ยว ตระกูลเบอร์รี่ และน้ำมะกรูดคั้นสด  

 

          6. ทานวิตามินช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน โดยคลินิกผู้มีบุตรยากใช้ในการรักษา PCOS คือ อิโนซิทอล และ โฟลิก เพื่อบำรุงไข่  ตัวอ่อนเติบโตเป็นปกติ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน  

\"PCOS\" ภัยเงียบใกล้ตัว \"สตรีมีบุตรยาก\"

          ครูก้อย กล่าวด้วยว่า การทานอาหารให้ถูกหลัก โภชนาการ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเยียวยาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ โดยเฉพาะการปรับสมดุลฮอร์โมน ลดการอักเสบ ส่งผลให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ไข่ตกเป็นปกติ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์  ซึ่งสตรีที่มีปัญหาสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจาก รายการ Research Talk Ep.1 เรื่อง การทานอาหารแบบ DASH Diet ที่มีผลในการเยียวยาอาการของภาวะ PCOS  หรือรับคำปรึกษาได้ที่เฟซบุ๊กเพจ และไลน์แอดภายใต้ชื่อเดียวกันที่ babyandmom.co.th.