ควรเลี่ยง! นี่คือการ“บูลลี่”แบบไม่ตั้งใจ พฤติกรรมที่คุณอาจยังไม่รู้

ควรเลี่ยง! นี่คือการ“บูลลี่”แบบไม่ตั้งใจ พฤติกรรมที่คุณอาจยังไม่รู้

ในปี 2563 ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น ที่มีการบูลลี่(Bully)มากที่สุดด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่ “ล้อเล่น”บางครั้งกลายเป็นการบูลลี่แบบไม่ตั้งใจ เปิดตัวแอปพลิเคชั่น “BuddyThai”ช่วยเด็กเข้าถึงช่องทางช่วยเหลือได้เร็วผ่าน “3ป.”

     เด็ก ๆ ในยุคนี้ประสบปัญหาการบูลลี่เพิ่มขึ้น มากเกินกว่าการเล่นแกล้งตามประสาเด็กทั่วไป  ทั้งการ‍ล้อเลียน เหน็บแนม ปฏิเสธการเข้ากลุ่มข่มขู่ หรือแม้แต่การทำร้ายร่างกาย เรื่องดังกล่าวส่งผลต่อการ‍เรียนและความรู้สึกปลอดภัยในโรงเรียน และหลายกรณีพบว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตทางลบไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

สถานการณ์การบูลลี่

       เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน ให้ข้อมูลว่า จากการลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นเรื่อง   ‘บูลลี่ กลั่นแกล้ง ความรุนแรงในสถานศึกษา’ ในกลุ่มเด็กอายุ 10-15 ปี จำนวน 1,500 คน ใน 15 โรงเรียน เมื่อปี 2563 พบว่า มีเด็กถูกบูลลี่ถึงร้อยละ 91.79 ต้องเจอทั้งกับการตบหัว ถูกล้อชื่อพ่อแม่ ล้อปมด้อย     ซึ่งท้ายสุดนำไปสู่ปัญหาที่ทำให้เด็ก ๆ ไม่อยากไปโรงเรียน 

        มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ร่วมกับ COPAT สำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ ประจำปี 2565 เด็กอายุ 9-18 ปี จำนวน 31,965คน พบว่าเคยโดน cyber bullying ร้อยละ 26 เพศทางเลือกพบได้มากที่สุดถึง 2 ใน 5 คน ระดับมัธยมสูงกว่าระดับประถม 2.2 เท่า ผู้ที่รังแกคนอื่น ให้เหตุผลในการรังแก พบว่า ร้อยละ 30 เพื่อการแก้แค้นที่เคยโดนกระทำมาก่อน ร้อยละ 28 คิดว่าเป็นเรื่องสนุก ตลก ขำๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
'บูลลี่' ไม่ใช่เรื่องเด็กๆ ความรุนแรงที่รอวันปะทุ!!!
"การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์" ภัยใกล้ตัว กับสัญญาณเตือนที่ห้ามประมาท
'กรมสุขภาพจิต' เผยกลั่นแกล้ง-รังแก (BULLYING) ในโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

 

ประเภทของการบูลลี่

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุ ประเภทของการกลั่นแกล้งรังแก หรือ บูลลี่

  • ทางร่างกาย เช่น การชกต่อย การผลัก การตบตี
  • ทางสังคมหรือด้านอารมณ์ เช่น กดดัน ยั่วยุ ให้เพื่อนๆ แบ่งแยก ออกห่างจากกลุ่ม ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจ
  • ทางวาจา ทางคำพูด เช่น เยาะเย้ย ดูถูก เสียดสี นินทา โกหกบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเจ็บปวด
  • Cyberbullying : การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ด้วยวิธีการ โพสน์ข้อความโจมตี หลอกลวง ทำร้าย คุกคามทางเพศ ด้วยถ้อยหยาบคาย เป็นเท็จ เพื่อให้อีกฝ่ายอับอาย เจ็บปวดและเสียใจ

    ผลกระทบจากการบูลลี่
    1. ผู้ที่ถูกบูลลี่
  •  มีภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
         - ส่งผลต่อความรู้สึกโดดเดี่ยว 
         - มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการนอนหลับ การรับประทานอาหาร 
         - สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่พวกเขาเคยสนุก 
          - ภาวะซึมเศร้านี้อาจส่งผลไปถึงวัยผู้ใหญ่ได้
  • ปัญหาด้านสุขภาพ
  • ประสิทธิภาพทางการเรียนลดลงและมีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนกลางคันมากขึ้น
    2.ผู้ที่บูลลี่ผู้อื่น
  • อาจจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เสพติดแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดอื่นๆ
  • มีพฤติกรรมลักขโมยและเรียนไม่จบ
  • มีพฤติกรรมทางเพศก่อนวัยอันควร
  • อาจจะเป็นอาชญากรในอนาคต
  • มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับคู่สมรสหรือลูก และคนใกล้ตัว

วิธีรับมือเมื่อถูกบูลลี่
กรมสุขภาพจิตแนะนำวิธี ทำอย่างไรเมื่อถูกกลั่นแกล้งรังแก 

  •    ตั้งสติให้รู้ตัวว่ากำลังเจอกับการรังแก
  • เดินจากไปอย่างสงบ ไม่ใส่ใจ
  • อย่าให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกสนุกจากการตอบสนองของเรา
  • มั่นใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นและคุณค่าของเรา
  • อยู่ในที่ปลอดภัย มีเพื่อนที่เข้าใจอยู่ข้างๆ
  •  ไม่เลือกใช้กำลังเพราะนั่นอาจเป็นสิ่งที่ผู้กลั่นแกล้งต้องการ
  • หากการกลั่นแกล้งยังรุนแรง ให้พูดคุยกับผู้ใหญ่ที่เข้าใจและรู้วิธีจัดการ
    ควรเลี่ยง! นี่คือการ“บูลลี่”แบบไม่ตั้งใจ พฤติกรรมที่คุณอาจยังไม่รู้

พฤติกรรมที่เป็นการบูลลี่ไม่ตั้งใจ

      เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2565  ในการเปิดตัวแอปพลิเคชัน BuddyThai ซึ่งสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด(มหาชน) หรือ TTA GROUP พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนรังแกหรือโดนบูลลี่ที่โรงเรียนและโดนบูลลี่ผ่านโซเชียลมีเดีย และเพื่อบรรเทาปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสังคมไทย 

        นพ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต  กล่าวว่า  การบูลลี่คือการกลั่นแกล้งรังแก ทั้งคำพูดหรือพฤติกรรม ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดความเจ็บปวดต่อร่างกาย เกิดผลกระทบทางจิตใจรู้สึกกลัว ทุกข์ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

          การบูลลี่กัน อาจเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้  พฤติกรรมบางอย่าง ที่อาจไม่ทราบว่า นั่นคือการบูลลี่คนอื่นโดยไม่ตั้งใจ โดย 4 พฤติกรรม เพื่อไม่ไปบูลลี่คนอื่นโดยไม่ตั้งใจ

  1. ความก้าวร้าว คือ การกระทำที่แสดงออกทางกาย วาจา หรืออื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบกับร่างกาย จิตใจ อารมณ์
  2. การรังแก คือ พฤติกรรมที่ตั้งใจทำร้ายให้อีกฝ่ายเจ็บปวด หรือ อาจดูเหมือนไม่ได้ใช้ความก้าวร้าว เช่น การสร้างความเดือนร้อนผ่านการนินทาว่าร้าย ปล่อยข่าวลือ กันไม่ให้เข้ากลุ่ม รวมถึงการกระทำผ่านสื่อสังคมออนไลน์
  3. ล้อเล่นทางลบ คือ การล้อเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก หรือเรื่องอื่นๆที่ทำให้คนที่ถูกล้อ รู้สึกแย่ ทุกข์ใจ หรือ อับอายจากการถูกล้อ
  4. ล้อเล่นทางบวก คือ การล้อเล่นที่มักใช้กับคนที่สนิทสนม ช่วยให้สนิทกันมากขึ้น โดยคนถูกล้อไม่รู้สึกแย่ ควรเลี่ยง! นี่คือการ“บูลลี่”แบบไม่ตั้งใจ พฤติกรรมที่คุณอาจยังไม่รู้

ข้อ1-2 เป็นสิ่งทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอย่างชัดเจน  จึงถือว่าเป็นการบูลลี่ เพราะผู้ถูกกระทำ รู้สึกเจ็บปวด ส่วนข้อ3 การล้อเล่นทางลบ จึงเป็นการบูลลี่ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจได้

     การบูลลี่เกิดขึ้นในสังคมเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในยุคไซเบอร์ที่ทุกคนมีอิสระในการเสพสื่อและแสดงความคิดเห็นโดยไม่รู้สึกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบกับการกระทำ และไม่เคยคิดว่าพฤติกรรมของเราสร้างผลกระทบทางใจและทางกายแก่บุคคลอื่นอย่างไร 

       ไม่น่าแปลกใจที่เด็ก ๆ ในยุคนี้ประสบปัญหาการบูลลี่เพิ่มขึ้น มากเกินกว่าการกลั่นแกล้งตามประสาเด็กทั่วไป มีทั้งการ‍ล้อเลียน เหน็บแนม เหยียดหยาม ข่มขู่ หรือแม้แต่การทำร้ายร่างกาย ส่งผลต่อการ‍เรียนและความปลอดภัย และหลายครั้งปัญหาในวัยเรียนดังกล่าวก็ฝังแน่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

     ดังนั้น การเฝ้าระวังและสอดส่องติดตามปัญหานี้ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญต่อภารกิจในการลดปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนและผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย

      แต่มีหลายครั้งที่นักเรียนไม่กล้าแม้แต่จะพูดคุยหรือปรึกษาเพื่อน ครู หรือผู้ปกครอง เนื่องจากโดนจับตามองอยู่ตลอดเวลาจากเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อนที่บูลลี่ผู้อื่น ทำให้หลายครั้งการแก้ปัญหาทำได้ล่าช้า เยาวชนบางคนเครียด เป็นโรคซึมเศร้า ไม่มีที่พึ่ง แต่การขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่ 3 กลับสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือได้

      การมีแอปพลิเคชัน BuddyThai  ที่สามารถใช้เป็นช่องทางการขอความช่วยเหลือและบันทึกสถานะอารมณ์ของเด็ก ๆ ได้นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถให้ความช่วยเหลือเด็กที่ต้องการเชิงรุกและนำไปสู่การลดปัญหาการบูลลี่และผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
ควรเลี่ยง! นี่คือการ“บูลลี่”แบบไม่ตั้งใจ พฤติกรรมที่คุณอาจยังไม่รู้

โดนบูลลี่ให้หาแอปฯBuddyThai

    นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า TTA Group ได้ร่วมกับทางกรมสุขภาพจิตในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น BuddyThai ขึ้นมาเพื่อมุ่งช่วยเหลือเด็กและเยาวชนไทยที่โดนบูลลี่โดยเฉพาะ

        แอปพิเคชัน BuddyThai นอกจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจให้กับเด็กและเยาวชนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้โรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และนักจิตวิทยาใช้ติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีปัญหา   จนกระทบต่อสุขภาพจิตขั้นรุนแรงได้ทันท่วงทีด้วย หวังว่า BuddyThai  จะได้รับความสนใจและมีการใช้อย่างกันอย่างแพร่หลายในโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและโรงเรียนอื่นๆทั่วประเทศ  เด็กและเยาวชนที่โดนบูลลี่ ให้หันมาหาบัดดี้ (BuddyThai)

ควรเลี่ยง! นี่คือการ“บูลลี่”แบบไม่ตั้งใจ พฤติกรรมที่คุณอาจยังไม่รู้
3 ป.ช่วยเรื่องบูลลี่

        แอปพลิเคชัน BuddyThai มีคุณสมบัติและฟังก์ชันที่ออกแบบมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ 3‍ ป. คือ

  1. ประเมิน มีแบบประเมินตนเอง ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมถึงมีชุดความรู้และแบบฝึกหัดทักษะการใช้ชีวิต ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ว่าจะต้องรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อโดนบูลลี่ พร้อมมีคำแนะนำดีๆ จากนักจิตวิทยาที่เชื่อถือได้
  2. ปรึกษา มีปุ่มขอคำปรึกษากับนักจิตวิทยาได้โดยตรง เพื่อให้ เด็กและเยาวชน สามารถกดปุ่มนี้เพื่อติดต่อถึงสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต หรือเลือกแชทกับนักจิตวิทยาผ่าน Facebook ของกรมสุขภาพจิต, ผ่านนักจิตวิทยาและอาสา LoveCare Station ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ และผ่าน Facebook ของ BuddyThai App ก็ได้เช่นกัน
  3. ป้องกัน มีระบบบันทึกข้อมูลอารมณ์ในแต่ละวัน เด็กและเยาวชนสามารถเข้ามาบันทึกอารมณ์ของตัวเองได้ทุกวันและวันละหลายๆ ครั้ง และใส่เหตุผลได้ด้ว
    ข้อมูลอารมณ์จะบันทึกเป็นสถิติรายสัปดาห์และรายเดือน ทำให้เด็กและเยาวชนเช็คได้ว่า ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ตนเองมีอารมณ์หนักไปทางด้านใด เพราะอะไร โดยมีเทคนิคการจัดการอารมณ์ให้เด็กอ่านด้วยตนเอง

        ขณะที่ หากพบว่าเด็กและเยาวชนคนไหนบันทึกว่า มีอารมณ์เครียด ซึมเศร้าติดต่อกันเป็นอาทิตย์และมีแนวโน้มคิดฆ่าตัวตาย ทีมadmin ก็จะ Monitor เด็กและเยาวชนคนนี้อย่างใกล้ชิด และสามารถแจ้งไปยังโรงเรียนและคุณครู หรือนักจิตวิทยาสายด่วนในการติดต่อเชิงรุกได้ 

ควรเลี่ยง! นี่คือการ“บูลลี่”แบบไม่ตั้งใจ พฤติกรรมที่คุณอาจยังไม่รู้