รู้จัก Resilience Framework กลยุทธ์รับมือ เพื่อ "เมืองแห่งอนาคต"

รู้จัก Resilience Framework กลยุทธ์รับมือ เพื่อ "เมืองแห่งอนาคต"

ปัจจุบันเมืองเต็มไปด้วยความตื่นตระหนก และ "ความเครียด" สูง และในอนาคตประชากรโลกส่วนใหญ่กว่า 70% จะอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น ถึงเวลาที่ต้องเริ่มมองสังคมเมืองในรูปแบบ “Resilience Development” คือ การวางแผนรับมือเพื่อ "เมืองแห่งอนาคต"

วันนี้ (26 ก.ย. 65) “รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต” หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (RISC),  MQDC กล่าวภายในงาน มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน “SUSTAINABILITY EXPO 2022: GOOD BALANCE, BETTER WORLD” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยระบุว่า ในอนาคตเราต้องเผชิญกับความตื่นตระหนกและความเครียด ไม่ว่าจะเป็นปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลกร้อน ความยากจน และสงคราม

 

“ขณะเดียกวัน ประเทศไทยเองก็หนีไม่พ้น ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า หากไม่ทำอะไรเลยโลกเราจะรวนมากแค่ไหน ดังนั้น จะรับมือกับอย่างไรกับอนาคตที่เต็มไปด้วยเรื่องน่าตื่นตระหนก และก้าวสู่โลกสมดุลใหม่ๆ”

 

แก้ปัญหาสร้างเมือง อย่างเฉพาะเจาะจง

 

Resilience Framework ถือเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อให้เมืองมีความยืดหยุ่นสูงและปรับตัวกับความไม่แน่นอนของอนาคตที่จะมาถึงได้ อีกทั้ง จะทำให้เห็นโอกาสต่างๆ ในการสร้างนวัตกรรม หรือธุรกิจในอนาคตอีกด้วย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ส่อง 6 ปัจจัยทำให้เมืองเปลี่ยน "พัฒนาเมือง" อย่างไร ให้พ้นวิกฤติ

รศ.ดร. สิงห์ กล่าวต่อไปว่า Resilience Framework เป็นการวางแผนตั้งแต่ต้น เมื่อเจอปัญหาเฉพาะเจาะจง เช่น น้ำแล้ง น้ำท่วม และพบว่ามีโซลูชั่นมากมายในการแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้สำคัญ ทำให้รู้ว่าเราไม่ต้องพัฒนาบางอย่างแต่สามารถซื้อมาใช้เลย หากบางปัญหาโซลูชั่นแพงไปก็พัฒนามาใช้ หรือ บางปัญหาไม่มีโซลูชั่น ก็สามารถพัฒนามาใช้ได้ เพื่อให้เจาะลงไปถึงปัญหา เป็นโอกาสเติบโตและป้องกันไปพร้อมกัน

 

ทั้งนี้ แนวทาง “Resilient Framework” นับเป็นสิ่งสำคัญ ในการเตรียมตัว สร้าง สมาร์ทซิตี้ โดยการวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ล่วงหน้า เช่น น้ำท่วม ฯลฯ และหาแนวทางป้องกันปัญหาได้ในการสร้างอาคาร นำ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS มาใช้ สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิด ภัยพิบัติ

 

ข้อมูลจาก RISC พบว่า มีการศึกษาผ่าน RISC 5 Research Hubs ได้แก่

 

1. Plants & Biodiversity: ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ

2. Air Quality: ศึกษาปัจจัยในการสร้างคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร

3. Happiness Science: ศึกษาการทำงานของสมองเพื่อสร้างความสุขด้วยวิทยาศาสตร์

4. Materials & Resources: ศึกษาวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาวะ

5. Resilience: ศึกษาด้านความเสี่ยงและภัยพิบัติในสภาพแวดล้อมเพื่อวางแผนรับมือ

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab) ที่ศึกษาวิจัย คาดการณ์อนาคตและแนวโน้มการอยู่อาศัยในสังคมเมือง เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนตามยุคสมัยใหม่ได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด

 

รวมถึง ครีเอทีฟ แล็ป (Creative Lab by MQDC) ซึ่งจะทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์ เพื่อนำเสนอนวัตรกรรมของการออกแบบประสบการณ์ (Experience Innovation) ไปจนถึงวิธีคิดทางธุรกิจแบบใหม่ ๆ รวมถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างกลุ่มบริษัทอีอีซี เป็นวิศวกรที่ปรึกษาชั้นแนวหน้าที่มีผลงานทั้งในและต่างประเทศมามากกว่า 46 ปี รวมทั้ง The Forestias และล่าสุดได้ร่วมทุนกับ MQDC และ B Grimm จัดตั้งบริษัท Unisus Green Energy เป็นธุรกิจ Green Energy ซึ่งจะช่วยลดวิกฤติภูมิอากาศโลกอีกด้วย