1 ก.ค. วันรณรงค์ตรวจ "HIV" สามารถตรวจฟรี ที่ไหนบ้าง

1 ก.ค. วันรณรงค์ตรวจ "HIV" สามารถตรวจฟรี ที่ไหนบ้าง

ประเทศไทยพบผู้ป่วย "เอชไอวี" (HIV) กว่า 5.2 แสนคน และยังมีบางส่วนที่ไม่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อ ทั้งนี้ การตรวจเชื้อเจอเร็ว จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงกระบวนการรักษา และวางแผนการใช้ขีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันมี รพ. และคลินิกหลายแห่งที่ให้บริการตรวจฟรี

เนื่องในวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น "วันรณรงค์ตรวจเอชไอวีแห่งชาติ" VCT DAY เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเข้ารับบริการ ปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อ เอชไอวี โดยความสมัครใจ (Voluntary HIV Counseling and Testing, VCT) เป็นการสร้างความตระหนักให้ประชาชนทุกคนรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจหาการ ติดเชื้อเอชไอวี 

 

พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนได้รับรู้และทราบสถานะผลเลือดของตนเองและคู่ ได้เร็วขึ้น เพื่อลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดการตายจากเอดส์ให้เป็นศูนย์ ให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว 

 

ไทยพบผู้ป่วยเอชไอวี 5.2 แสนคน 

 

ข้อมูล จาก กรมควบคุมโรค  เผยว่า สถานการณ์ผู้ป่วยเอชไอวีของประเทศไทย ณ สิ้นปี 2564 พบว่า 

  • มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 520,345 คน (ข้อมูลจาก Thailand Spectrum-AEM, ณ วันที่ 22 เม.ย. 65) 
  • มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง จำนวน 491,017 คน คิดเป็นร้อยละ 94 (ข้อมูลจากระบบสารสนเทศการให้บริการผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์แห่งชาติเดือนมีนาคม 2565) 

 

ซึ่งยังมีผู้ติดเชื้อบางส่วนที่ยังไม่ทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง เนื่องจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก ส่วนใหญ่ไม่ปรากฏอาการ จะทราบได้ก็ต่อเมื่อได้ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น 

ตรวจฟรี ปีละ 2 ครั้ง 

 

สำหรับคนไทยทุกคนที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ทุกสิทธิ์การรักษา สามารถตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ในทุกโรงพยาบาลที่ให้บริการภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ซึ่งสามารถตรวจหาการ ติดเชื้อเอชไอวี และรู้ผลภายในวันเดียว 

 

ทั้งนี้ข้อมูลจาก รพ.ศิริราช ระบุว่า การตรวจหาเชื้อ HIV เป็นการป้องกันและวางแผนดูแลสุขภาพหลายคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่คิดว่าตัวเองจะติดเชื้อ หากพบผลเป็นบวก จะทำให้สามารถวางแผนชีวิตและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง  ปัจจุบัน มีสถานที่ทั้ง รพ.ของรัฐ และคลินิก ที่ให้บริการตรวจหาเชื้อ HIV ฟรี ดังนี้ 

 

รพ.ของรัฐที่ร่วมโครงการ 

  • รพ.ประจำจังหวัดทุกแห่ง 

 

คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย 

 

คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด

  • BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • โทร : 02-644-6290
  • เฟซบุ๊ก : silomcommunityclinic

 

มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ SWING 

  • BTS ศาลาแดง ทางออก 1 โทร : 02-632-9502
  • BTS สะพานควาย โทร : 02-115-0251
  • เฟซบุ๊ก : swing.thailand.1

 

 

ศูนย์การแพทย์บางรัก (คลินิกบางรัก) 

  • BTS เซนต์หลุยส์ โทร : 02-286-2465
  • เฟซบุ๊ก : BangrakSTIsCenter

 

สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย คลินิกพิเศษฟ้าสีรุ้ง 

  • ท่าเรือบางกะปิ โทร 02-731-6532-3
  • เฟซบุ๊ก : rsat.info 

 

ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร 

  • โทร : 02-203-2400
  • เฟซบุ๊ก : bma.health

 

คลินิกรักษ์เพื่อน 

  • รพ.กลาง 
  • รพ.ตากสิน 
  • รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ 
  • รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินุธโร อุทิศ 
  • รพ.สิรินธร 
  • รพ.ลาดกระบังกรุงเทพมหานคร 
  • รพ.ราชพิพัฒน์ 
  • รพ.เวชการุณรัศม์
  • โทร : 064-231-7584
  • เฟซบุ๊ก : RakPuenClinic

 

1 ก.ค. วันรณรงค์ตรวจ "HIV" สามารถตรวจฟรี ที่ไหนบ้าง

ตรวจ "เอชไอวี" ด้วยตัวเอง 

 

นอกจากนี้ ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง คือ การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV self-test) โดยในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ 

  • ชุดตรวจจากการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือ รู้ผลภายใน 1 นาที 
  • ชุดตรวจโดยใช้สารน้ำในช่องปาก รู้ผลภายใน 20 นาที 

 

การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเองมีข้อดี คือ สะดวก มีความเป็นส่วนตัว สามารถตรวจและทราบผลได้ด้วยตนเอง เหมาะกับผู้ที่ต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่แต่ไม่สะดวกเดินทางไปโรงพยาบาล 

 

สามารถหาซื้อชุดตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเองได้ที่ร้านขายยาทั่วไป แต่ในปัจจุบันอาจยังมีการจำหน่ายไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ 

 

หากผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองเป็นบวก ควรตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา แต่หากผลตรวจยืนยันเป็นลบ จะได้รับคำปรึกษาเพื่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อให้กับคู่ และการชวนคู่มาตรวจ เป็นต้น

 

ตรวจพบเชื้อ HIV ต้องทำอย่างไร 

 

หากพบว่า ติดเชื้อเอชไอวี ควรเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยเร็ว (Same day ART) เพื่อให้สามารถกดปริมาณไวรัสในกระแสเลือดได้สำเร็จ ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงต่อการ เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา วัณโรคในปอดหรือต่อมน้ำเหลือง ปอดอักเสบ งูสวัด ตาบอดจากไวรัสขึ้นจอตา และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น  

 

นอกจากนี้ การคงอยู่ในระบบการรักษา โดยการกินยาอย่างต่อเนื่อง ตรงเวลา และสม่ำเสมอ จะทำให้ปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดต่ำมากจนตรวจไม่พบเชื้อ จะไม่ถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่น ส่งผลต่อการลดการติดเชื้อรายใหม่ ลดการเสียชีวิต และผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็สามารถใช้ชีวิต ในสังคมได้ตามปกติ 

 

สามารถติดตามกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ได้ทาง Facebook Page กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค และเพจ Safe SEX Story