“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมแพทย์ผิวหนัง แห่งประเทศไทย แนะนำวิธีสังเกตว่า เราเป็นโรคฝีดาษลิงหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร

โรคฝีดาษ มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ เป็นโรคเก่าแต่มีการอุบัติใหม่

โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มไวรัสพอกซ์ (Poxvirus) ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับ ไวรัสฝีดาษคน (smallpox หรือ ไข้ทรพิษ)

 

มีรายงานการติดเชื้อครั้งแรกในลิงที่ใช้เป็นสัตว์ทดลองในปี พ.ศ. 2501 จึงเรียกว่า ฝีดาษลิง

แท้จริงแล้ว สัตว์ที่เป็นรังโรค คือ สัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 จึงพบรายงานการติดเชื้อครั้งแรกในคน

“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

  • สถานการณ์โรคฝีดาษลิง

ปัจจุบัน (24 มิถุนายน 2565) มีผู้ป่วยยืนยันประมาณ 2,103 คน กระจายทั่วโลก ใน 42 ประเทศกลุ่มเสี่ยงแถบยุโรปและอเมริกา

โดยเฉพาะในประเทศ สเปน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกส มีรายงานการระบาด พบจำนวนผู้ติดเชื้อเกิน 20 คน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งการระบาดในขณะนี้ โรคฝีดาษลิง เป็นโรคประจำถิ่นในแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก

“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

โดยพบมีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อประปราย รวมถึงนอกถิ่นการระบาดจากการเดินทางไปในถิ่นระบาด

การระบาดระลอกนี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 พบผู้ป่วยในหลายประเทศ โดยเฉพาะทวีป ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย

โดยพบใน กลุ่มชายรักชาย สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวและมีกิจกรรมใกล้ชิดในช่วง เทศกาลไพรด์ (Pride month) ของกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ)

“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

  • อาการของโรคฝีดาษลิง

รศ.นพ.สุมนัส บุณยะรัตเวช กรรมการกลาง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อาการของโรคฝีดาษลิง แบ่งเป็น 3 ระยะ

1)ระยะฟักตัว

เป็นระยะที่ไวรัสฟักตัวในร่างกาย ไม่มีอาการ ไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่อาจถึง  3 สัปดาห์ได้หลังสัมผัสเชื้อ

2)ระยะก่อนออกผื่น

เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการไข้ เมื่อยตัว ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ทางละอองฝอยในระยะนี้

3)ระยะออกผื่น

หลังจากมีไข้ 1- 3 วัน จะพบผื่นที่ ใบหน้า ลำตัว และกระจายไป แขน ขาสามารถพบได้ที่ ฝ่ามือ มือฝ่าเท้า

ผื่นมีลักษณะเป็น ตุ่มขนาดเล็ก จากนั้นจะเปลี่ยนเป็น ตุ่มน้ำใส และ แตกออก จน ตกสะเก็ด และหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์

“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

อาจพบการติดเชื้อ แบคทีเรีย ซ้ำเติมได้ในช่วงที่เป็น ตุ่มน้ำใส ทำให้เห็นเป็นหนองในตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยสามารถ แพร่เชื้อได้ ในระยะนี้

จากการสัมผัสสารคัดหลั่งอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาหลายนาทีจนถึงชั่วโมง และอาจเกิดจากการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อได้

ภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปอาการมักไม่รุนแรงและหายได้เอง ยกเว้นในผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจพบภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ร้อยละ 1 (สายพันธุ์อาฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดในขณะนี้)

“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

  • หากมีอาการน่าสงสัย ควรไปพบแพทย์

รศ.นพ.จักรพงษ์ บรูมินเหนทร์ อายุรแพทย์ โรคติดเชื้อ  กล่าวว่า หากมีอาการที่ไม่แน่ใจว่าเป็น โรคฝีดาษลิง หรือไม่ ควรไปพบแพทย์

“พร้อมแจ้ง ประวัติความเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาทำการตรวจหา ดีเอ็นเอของเชื้อไวรัส จากผื่นหรือตุ่มหนอง โดยส่งตรวจห้องปฏิบัติการด้วยวิธี PCR 

  • การรักษา 

ในปัจจุบัน ยังไม่มี ยาต้านไวรัส ที่ใช้รักษา ฝีดาษลิง โดยตรง แต่มียาที่ชื่อ tecovirimat ซึ่งใช้รักษาฝีดาษคน

มีข้อมูลในสัตว์ทดลองว่าอาจใช้รักษาโรคฝีดาษลิง ได้แต่ยังไม่มียาชนิดนี้อยู่ในประเทศไทย

อาจพิจารณาให้ วัคซีน แก่ผู้ที่ไม่เคยได้รับหรือรับวัคซีนก่อนหน้าเกิน 3 ปี โดยสามารถฉีดวัคซีนภายใน 4 วัน (อาจให้ได้จนถึง 14 วัน) หลัง สัมผัสเชื้อ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงของโรค

“ฝีดาษลิง” อาการเป็นอย่างไร และสถานการณ์ล่าสุด

  • การป้องกันโรคฝีดาษลิง

นพ.จักรพงษ์ กล่าวว่า วิธีป้องกัน คือ ไม่ไปใกล้ชิดกับผู้ที่มีผื่นหรือผู้มีความเสี่ยง

1) หลีกเลี่ยงการ สัมผัสใกล้ชิด กับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่มีผื่น โดยเฉพาะในช่วงการแตกของแผลและมีสารคัดหลั่งจำนวนมาก

2) ควร แยกและทำความสะอาดอุปกรณ์ ที่ใช้ร่วมกัน สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ

3) หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับ สัตว์รังโรค ที่มีอาการ 

  • วัคซีนป้องกัน มีสองชนิด

1) วัคซีนเชื้อเป็น (ACAM2000) บรรจุเชื้อเดียวกับที่ใช้ในการปลูกฝีในประเทศไทย (ยุติการปลูกฝีหลัง พ.ศ. 2517) โดยพบว่าอาจสามารถป้องกันการติดเชื้อ ฝีดาษลิง ได้ร้อยละ 85 (ควรรอการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป)

2) วัคซีนเชื้อตาย (JYNNEOS) ต้องฉีด 2 เข็มห่างกัน 4 สัปดาห์ ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนทั้งสองชนิดในประเทศไทย และยังแนะนำวัคซีนเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการหรือทำวิจัยกับสัตว์ทดลอง