CPALL ทุ่ม 7,500 ล้าน "ซื้อหุ้นคืน" 150 ล้านหุ้น เริ่ม 16 พ.ค. -14 พ.ย. 68

CPALL ทุ่ม 7,500 ล้าน "ซื้อหุ้นคืน" 150 ล้านหุ้น เริ่ม 16 พ.ค. -14 พ.ย. 68

CPALL ทุ่มเงิน 7,500 ล้านบาท ดำเนินการ "ซื้อหุ้นคืน" จำนวน 150 ล้านหุ้น หรือ 1.67 % ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เริ่ม 16 พ.ค. - 14 พ.ย. 2568

นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL  รายงานมติบอร์ด 

1. มีมติอนุมัติงบการเงินระหว่างกาล สำหรับไตรมาส สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568   

2. มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) ภายในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 7,500 ล้านบาท และจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนไม่เกิน 150 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 1.67 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด 

โดยวิธีจับคู่อัตโนมัติผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีกำหนด ระยะเวลาซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2568 นอกจากนี้มีมติมอบอำนาจให้นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ และนายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ เป็นคณะบุคคลมี อำนาจร่วมกันในการพิจารณากำหนดราคาและเงื่อนไขของการเข้าซื้อหุ้นคืนภายในขอบเขตที่ได้รับอนุมัติ จากที่ประชุมคณะกรรมการ

รวมถึงการเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนให้มีอำนาจดำเนินการ ต่างๆ ตามจำเป็นและสมควรเกี่ยวกับเรื่องการซื้อหุ้นคืนของบริษัท 

ทั้งนี้ กำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัท ข้อมูลจากงบการเงินสอบทานงวดล่าสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรรของบริษัท เท่ากับ 80,592 ล้านบาท หนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน เท่ากับ 19,700 ล้านบาท

ความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทที่ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน โดยระบุแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการชำระหนี้คืน ณ วันที่31 มีนาคม 2568 บริษัทมีเงินสดคงเหลือ จำนวน 27,693 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทประมาณการว่าจะมีกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2568 จึงทำให้บริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระ ในอีก 6 เดือนนับจากวันที่ดำเนินการซื้อหุ้นคืน และมีเงินสดคงเหลือเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการซื้อหุ้น คืนตามโครงการ

จำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Free Float) ณ วันปิดสมุดทะเบียนล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 เท่ากับร้อยละ 63.94 ของทุนชำระแล้วของบริษัท  ซึ่งเหตุผลในการซื้อหุ้นคืน เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity) และอัตราำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings per Share) และเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัทใน อนาคต