‘ประธานตลท.’เร่งปลุกหุ้นไทย สั่งยกระดับทุกแผน เล็งหารือ ‘คลัง’ ผุดโครงการ ‘ออมเพื่อซื้อหุ้น’  

‘ประธานตลท.’เร่งปลุกหุ้นไทย สั่งยกระดับทุกแผน เล็งหารือ ‘คลัง’ ผุดโครงการ ‘ออมเพื่อซื้อหุ้น’  

‘ประธานตลท.’เร่งปลุกหุ้นไทย สั่งยกระดับทุกแผน เล็งหารือ ‘คลัง’ ผุดโครงการ ‘ออมเพื่อซื้อหุ้น’ เสนอยกร่าง พ.ร.ก.ปฏิรูปกม.-ดึง New Economy-เลิกข้อจำกัดซื้อหุ้นคืน ดึงฟื้นเชื่อมั่น  

สถานการณ์ “ตลาดหุ้นไทย” คงต้องบอกว่ายังไม่เห็นแสงสว่าง สะท้อนจากดัชนี SET INDEX ที่ร่วงรุนแรงกว่าที่คาดไว้ !! สารพัดปัจจัยรุมเร้าทั้งภายนอกและภายใน ยิ่งเฉพาะ “นโยบายของประธนานาธิบดีสหรัฐ” ที่กำลัง “จุดชนวน” ทำให้โลกปั่นป่วน ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศไม่เอื้ออำนวย เพราะ “เศรษฐกิจเติบโตต่ำ” เกือบเป็นอันดับที่แย่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และสินค้าส่วนใหญ่ในตลาดบ้านเราเป็น “เศรษฐกิจยุคเก่า” (Old Economy) รวมทั้งเกิดกรณีบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ที่มีกลโกงที่ทำให้ “ความเชื่อมั่น” หดหายไป

‘ประธานตลท.’เร่งปลุกหุ้นไทย สั่งยกระดับทุกแผน เล็งหารือ ‘คลัง’ ผุดโครงการ ‘ออมเพื่อซื้อหุ้น’  

ล่าสุด ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงมาถือว่า “ต่ำสุดในภูมิภาค” ติดลบอยู่ที่ 14.15% หรือลดลงไปตั้งแต่ต้นปีที่ 198.18 จุด (ข้อมูล ณ วันที่ 7 มี.ค.2568 ปิดตลาดที่ 1,202.03 จุด เทียบกับปิดตลาด ณ วันที่ 30 ธ.ค. 2567) ดังนั้น เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับคืนมาอย่างเร่งด่วน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จึงเร่งหาแนวทางอย่างเร่งด่วนในแผนงานช่วง 3-6 เดือนข้างหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ JUMP+ และการเร่งแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ในปัจจุบันให้มีความทันสมัย รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และส่งเสริมการลงทุนระยะยาวกับโครงการออมเพื่อซื้อหุ้นไทย

ศ.พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์” ประธานกรรมการ ตลท. เปิดเผยว่า ตลท. ไม่ได้นิ่งนอนใจ กรณีที่ดัชนีหุ้นไทยมีความ “ผันผวนรุนแรง” แต่สถานการณ์ดังกล่าวก็ไม่แค่ตลาดหุ้นไทยแต่เป็นคล้ายกันทั่วโลก เนื่องจาก “ภูมิรัฐศาสตร์” (Geopolitics) ดังนั้น จึงเร่งสร้าง “ความเชื่อมั่น” ให้กับตลาดทุน เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ที่จะนำบริษัทจดทะเบียนที่มีอยู่ให้ดีขึ้น 

โดยมาตรการสำคัญที่ ตลท.จะดำเนินการคือการเสนอให้รมว.คลัง ปฏิรูปกฎหมายแบบ Omnibus ด้วยการยกร่างเป็น พ.ร.ก.ฟื้นฟูความเชื่อมั่นตลาดหุ้นไทย เพื่อให้กระบวนการแก้ไขกฎหมายทำได้รวดเร็วขึ้น และสามารถแก้ไขไปพร้อมกับสถานการณ์ที่เกิดวิกฤตตลาดทุนไทยได้เลย โดยจะแก้กฎหมายทั้งที่เป็นอุปสรรค และเพิ่มเติมข้อกฎหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนา ไปพร้อมกันทุกฉบับ ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กม.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กม.มหาชน กม.แพ่งและพาณิชย์ กม.ส่งเสริมการลงทุน (BOI)

“โครงการ Jump Plus” (JUMP+) สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียน “เพิ่มมูลค่า” จะเร่งให้เร็วขึ้น ด้วยงบสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนและสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (CMDF) และการศึกษาของ SASIN ซึ่ง ตลท. มีแนวคิดจะเพิ่มเติมมาตรการอื่น ๆ โดยเฉพาะมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้ บจ.เข้ามาร่วมโครงการ และลงทุนด้าน ESG ด้วย

สนับสนุน “โครงการซื้อคืนหุ้น” (Treasury Stock Buyback) ของ บจ. ด้วยการยกเลิกทุกข้อจำกัด ได้แก่ เพดานซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10%, ต้องขายหุ้นที่ซื้อคืนภายใน 3 ปี และ ต้องรอให้โครงการเดิมจบไปก่อน 6 เดือนจึงจะสามารถซื้อหุ้นคืนได้อีก เป็นต้น เพราะ ตลท. มองว่าจะช่วยให้บริษัทที่มีเงินในมือสามารถบริหารสภาพคล่องได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าจากการนำหุ้นที่ซื้อคืนไปลดทุนฯ เชื่อว่าจะทำให้มี บจ.ซื้อหุ้นคืนมากขึ้นกว่าในปัจจุบันที่มีอยู่ราว 15 บริษัทในแต่ละปี รวมทั้งแก้หลักเกณฑ์การทำ “เทนเดอร์ออฟเฟอร์” ไม่ต้องใช้ราคาสุดท้ายที่เข้าไปทำดีล เนื่องจากพบว่ามีผู้ทำดีลบางรายเข้าไปทำราคาหุ้นให้เกิดความผิดปกติก่อนจะประกาศเทนเดอร์ฯ

โครงการเพิ่มสินค้าที่เป็น “New S-Curve Economy” จะมีมาตรการหลายอย่าง เช่น เจรจากับ “สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน” (BOI) เพิ่มเงื่อนไขให้โครงการขนาดใหญ่ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์, ลดกฎเกณฑ์และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับ Start Up ที่จะเข้าจดทะเบียน, ดึงธุรกิจเทคโนโลยี Health Care และ Hospitality ที่เป็นจุดแข็งของไทยเข้ามาจดทะเบียน โดยอาจจัดตั้งตลาดซื้อขายหุ้นกลุ่มนี้โดยเฉพาะแยกออกไปเช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือ ตลาด LiVex เพื่อผลักดันให้ไทยเป็น Reginal Listing Hub

“ได้มีการพูดคุยกับทาง BOI ว่าหากอยากนำบริษัทเข้ามาลิสต์ใน BOI แต่ยังไมได้ “กำไร” เช่น New Economy มาลิสต์ผ่านเงื่อนไข หรือบริษัทต่างชาติมาลิสต์ในไทย และมีพิจารณาดูมีการติดขัดในข้อกฎหมายใดบ้าง หรือติด BOI ในส่วนใด หรือติดที่กระทรวงพาณิชย์ หรือ ก.ล.ต. ในส่วนใดต้องแก้กฎหมาย โดยการแก้ไขพร้อมกันหลาย ๆ ฉบับทีเดียว หรือหากจะต้องแก้สิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ต้องแก้กฎหมายสรรพากรด้วย หากจะมีการควบรวมกิจการ เช่น โครงการ JUMP+ หากจะบอกว่าถ้าต่อไปบริษัทไปควบรวมกิจการ หรือ spin-off บริษัท New Economy ในหลาย ๆ บริษัท และ Startup ใหม่ ๆ มาลิสต์ในตลาด อย่าง Healthcare หรือ food มาควบรวมกำลังจะพิจารณาภาษีต้องได้รับยกเว้นก็ต้องออกกฎหมายแก้ ซึ่งจะเหมือนกันตลาดหุ้นเกาหลี และจีน ก็จะมีตลาดพิเศษ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างพิจารณา โดยอาจนำกระดาน LiVEx เดิม ซึ่งอยู่ในระหว่างกันพูดคุยกับ ก.ล.ต. หรือจะนำอีกแพลตฟอร์มเข้ามาให้บริการ ซึ่งประเทศจีนมีการทำเยอะ รวมถึงอังกฤษ สหรัฐ และอินเดียขณะที่ไทยมีตลาด mai”

พร้อมทั้งการจัดให้มีโครงสร้างบริษัทที่เป็นหุ้นสองระดับ (Dual-class share) เพื่อดึงบริษัทขนาดใหญ่ และธุรกิจครอบครัวที่กังวลการสูญเสียอำนาจควบคุมการบริหารเข้ามาจดทะเบียน โดยจะกำหนดหุ้นที่มีอำนาจโหวตเรื่องสำคัญแยกออกจากหุ้นที่ถือเป็นเพื่อรับเงินปันผล ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ในตลาดหุ้นต่างประเทศ

ขณะที่ ศึกษาโมเดล NISA หรือ Nippon Individual Saving Account ของญี่ปุ่น มาปรับเป็น “Thailand ISA” เป็น “โครงการออมหุ้นระยะยาว” ซึ่งเงินที่ผู้ลงทุนซื้อหุ้นจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้เพดานที่กำหนด และจะต้องถือไว้ระยะยาวก่อนจะสามารถขายได้ และเมื่อขายก็จะไม่ต้องเสียภาษี โดยโมเดลของญี่ปุ่นกำหนดเพดานไว้ที่ 6 ล้านเยน ขณะนี้ ตลท. หารือกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว เตรียมหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันตลาดกำลังศึกษาแนวทางใกล้จะสำเร็จ หากโครงการดังกล่าวสามารถทำสำเร็จ จะทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเก็บสะสมหุ้นได้ และเงินลงทุนในโครงการนี้เน้นลงทุนระยะยาวจะได้สิทธิทางภาษี เป็นการสะสมโดยตรงโดยไม่ซื้อผ่านกองทุนรวม และมีความแตกต่างจากกองทุน RMF และ กองทุน LTF และอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดร่วมกับกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ก.ล.ต. และ CMDF ก็เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว