‘SABUY’ปั้น 3 ธุรกิจพลิกกำไร ปี 67 มุ่งขยายตลาดไทย-ตปท. หนุนรายได้ 1.2 หมื่นล้าน

‘SABUY’ปั้น 3 ธุรกิจพลิกกำไร ปี 67 มุ่งขยายตลาดไทย-ตปท.  หนุนรายได้ 1.2 หมื่นล้าน

“SABUY” เร่งสปีด 3 กลุ่มธุรกิจ “คอนซูเมอร์-เอ็นเตอร์ไพรส์-ไฟแนนซ์” หนุนรายได้ปี 67 แตะ 1.2 หมื่นล้าน เติบโต 20% จากปีก่อน พร้อมลุ้นผลงานพลิก “กำไร” คาดเริ่มเห็นไตรมาส 3 ปี 67 มุ่งโฟกัสรายได้ธุรกิจเดิม “ชะลอลงทุน-ซื้อกิจการ” แย้มกำลังเจรจาพันธมิตรร่วมธุรกิจในเครือบุกตลาดไทย-ต่างประเทศ

ภายหลัง บมจ. สบาย เทคโนโลยี หรือ SABUY มีการปรับโครงสร้างระดับผู้บริหาร หลัง นายชูเกียรติ รุจนพรพจี ยื่นลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และปรับแม่ทัพคนใหม่ ด้วยการแต่งตั้ง นายวิรัช มรกตกาล ขึ้นมาสานต่อโจทย์ใหญ่เพื่อเป้าหมายสร้างความแข็งแกร่งของ 3 ธุรกิจ ยังคงมุ่งเน้นอีโคซิสเต็ม (Ecosystem) เป็นหลัก

นายวิรัช มรกตกาล ประธานเจ้าหน้าบริหาร บมจ. สบาย เทคโนโลยี หรือ SABUY เปิดเผยว่า บริษัทไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ แต่ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพด้วยการสร้างความมั่นคง รวมถึงสร้างความมั่งคั่ง และจะโตในทางธรรมภิบาล เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทด้วยการขยายธุรกิจใหม่เข้ามาเสริมบริการ สะท้อนผ่านการกระจายรายได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ Consumer สัดส่วน 60% Enterprises สัดส่วน 35% และ Financial สัดส่วน 5%

‘SABUY’ปั้น 3 ธุรกิจพลิกกำไร ปี 67 มุ่งขยายตลาดไทย-ตปท.  หนุนรายได้ 1.2 หมื่นล้าน

ขณะที่ แผนธุรกิจปีนี้ตั้งเป้ารายได้ที่ 12,000 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีก่อนอยู่ที่ 9,629.82 ล้านบาท ภายใต้การขยายตัวของธุรกิจในเครือ โดยปีนี้ตั้งเป้า SABUY Conext ต้องเติบโตให้ได้ที่ 2,500 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกตั้งเป้าไว้จะเปิดให้ได้ในอีก 10 ช็อป ขณะที่บ้านกรองสบายมีด้วยกัน 10 กว่าช็อป โดยกลุ่มลูกค้าหลักของช็อปผ่อนสบายอยู่แถบอีสาน และคนงานเมียนมาร์ที่ยังเติบเงินกับตู้เติมเงินอยู่

ขณะเดียวกัน SABUY ยังมีตู้ Vending Machines ปีที่ผ่านมามีรายได้ที่ 1,016.3 ล้านบาท เป้าหมายจาก 11,000 ตู้ โดยตั้งเป้าปีนี้เติบโตที่ 1,200 ล้านบาท ส่วนด้าน Online Markets จาก SABUY Markets และ SABUY Food Plus ยอดขายอยู่ที่ 1,680 ล้านบาท ปัจจุบันเตรียมพัฒนาเป็น SABUY ALL เป็นช่องทางในการซื้อที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงมี SABUY Sure ที่จะมีการปรับกลยุทธมากขึ้น

ส่วน SABUY Speed มีรายได้ที่ 1,129.8 ล้านบาท โดยมีช็อปอยู่ประมาณ 22,000 ช็อป ส่วน Plus Tech หรือ Card มีรายได้ที่ 407 ล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมาขายไปได้ประมาณ 30 ล้านใบ เช่น บัตรเครดิต บัตรบีทีเอส บัตร MRT รวมถึงบัตรที่เป็นแต้มสะสมอยู่ในโลตัส เป็นต้น

นอกจากนี้ในส่วนของ Food Court CRM & POS รายได้อยู่ที่ 2,084.02 ล้านบาท เฉพาะในระบบ Food Court ในประเทศมีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 7 ล้านผู้ใช้บริการ ให้บริการ Food Court เกือบ 300 Food Court โดยมีการบริหารจัดการระบบทั้งหมดในร้านค้าสามย่านมิตรทาวน์

“ธุรกิจ Food Court เข้าไปพัฒนาระบบศูนย์อาหาร เช่น ระบบชำระเงิน เก็บข้อมูล มีมาร์เก็ตแชร์ 80% ปีนี้เตรียมขยายไปยังโรงงานอีก 300 แห่ง เริ่มจากนิคมอุตสาหกรรม หรือโรงงานที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 500 คน”

นอกจากนี้ ธุรกิจ Outsourcing มีรายได้ 648.67 ล้านบาท ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับคอลเซ็นเตอร์ที่รับ COMPLAIN ปีนี้ตั้งเป้าโตขึ้นมาจากการต่อยอดธุรกิจต่อไปด้วย และ ธุรกิจ Payment & Wallet รายได้ที่ 508 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ปีนี้ธุรกิจต่างๆ จะเป็นการดึงศักยภาพออกมาใช้เพื่อสร้างรายได้ ซึ่งในปีนี้การลงทุนใหม่ ๆ อาจต้องชะลอตัวไปก่อน ส่วนปี 2568 บริษัทมีแผนเติบโตยังภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศเวียดนาม หรือ สปป.ลาว แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงอยู่ในช่วงระหว่างของการศึกษา เพราะในแต่ละประเทศนั้นมีแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันออกไป

“ปีนี้บริษัทยังคงให้ความสำคัญในการบริหารต้นทุน หลังจากที่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาถือว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และในไตรมาส 3 ปี 67 เป็นต้นไป คาดจะสามารถเริ่มเห็นสัญญาณพลิกกลับมาเป็นกำไรได้”

ขณะที่ แผนธุรกิจช่วง 3-5 ปี จะลดการพึ่งพิงคน แต่ทำให้คนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งที่จะต้องพิจารณาคือ เรื่องแพลตฟอร์มทั้งหมด ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับตู้เติมเงินที่เป็นช่องทางหลัก ซึ่งในช่วงหลังจากนี้สิ่งที่ SABUY จะต้องโฟกัสให้มาก ๆ คือ ต้องการนำ INFORMATION PROCESS โดยพนักงานต้องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

โดยในส่วน Automation PROCESS การลดกระบวนการให้มีความแม่นยำมากขึ้น มีการแก้ไขรายการให้น้อย ใช้คนเท่าเดิมแต่มีวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งถ้าหากทำได้ช่วง 3-5 ปี จะเป็นแพลตฟอร์มด้านบริการมีความแข็งแกร่งอยู่