‘สารัชถ์’ ปลื้ม 4 หุ้น กลุ่ม GULF โกยกำไรปี 66 มูลค่ากว่า 5.74 หมื่นล้านบาท

‘สารัชถ์’ ปลื้ม 4 หุ้น กลุ่ม GULF โกยกำไรปี 66 มูลค่ากว่า 5.74 หมื่นล้านบาท

4 หุ้น กลุ่ม GULF เผยผลประกอบการปี 2566 โกยกำไรกว่า 5.74 หมื่นล้านบาท GULF กำไร 14,858 ล้านบาท ด้าน ADVANC กำไร 29,086 ล้านบาท

ชื่อของ "สารัชถ์ รัตนาวะดี" บิ๊กบอสอาณาจักร GULF เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะเป็น 1 ใน Billionaire ของเมืองไทย (Billionaire เป็นคำศัพท์สำหรับบุคคลที่มีสินทรัพย์รวมมูลค่าเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 36,000 ล้านบาท) และเขายังเป็นมหาเศรษฐีหุ้นเบอร์ 1 ของเมืองไทยติดต่อกันหลายปี ซึ่งขณะนี้เขามีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวม 4 บริษัท ซึ่งผลประกอบการในปี 2566 ออกมาค่อนข้างดี มีกำไรสุทธิรวมกัน 4 บริษัท มูลค่ากว่า 57,437 ล้านบาท

สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย ให้ข้อมูลกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ภาพรวมมีมุมมองเชิงบวกสำหรับกลุ่ม GULF ทั้งกลุ่มถือว่าเป็นปีที่ดี ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในปีนี้ทั้งปี เริ่มที่ GULF มีโอกาสสูงที่จะ perform เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ามีความเป็น defensive 

และในปีนี้มีการแพลนเพิ่มขึ้นจาก 6,800 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นเป็น 9,300 เมกะวัตต์ จำนวนที่เพิ่มขึ้นมานี้จะเพิ่มขึ้นในปีนี้นี้ทันที โดยคาดการณ์กำไรจะโตในปีนี้สูงถึง 20% ที่บริเวณ 17,900 ล้านบาท และจะเติบโตอีก 19% ในปี 2568 ที่ 21,230 ล้านบาท

ทั้งนี้ที่ผ่านมากำไรของ GULF ออกมาดี สูงว่าที่คาดการณ์ไว้ 15% ในไตรมาส 4/66 ที่บริเวณ 4,760 ล้านบาท และแนวโน้มการเติบโตมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ Earning ไตรมาส 1/67 ที่ประเมินไว้เติบโตทั้ง yoy และ qoq 

ขณะที่ ADVANC ธุรกิจมือถือเติบโตได้เป็นอย่างดี การแข่งขันจาก 3 เจ้าเหลือ 2 เจ้า ส่งผลบวกโดยตรงต่อธุรกิจโทรศัพท์ แต่ยังมีธุรกิจ 3BB ที่ Earning ระยะสั้น ซึ่งประเมินว่า จะใช้ระยะเวลา 1 -2 ไตรมาส และหลังจากนั้นธุรกิจ 3BB จะเริ่มกลับมาดีขึ้น โดยประเมินกำไรปีนี้อยู่ที่ 35,020 ล้านบาท เติบโตประมาณ 5% ขณะที่ปันผลสูงอยู่ที่ 4.1% 

ส่วน หุ้น THCOM ผลประกอบในระยะสั้น ๆ ยังคงไม่เห็นการฟื้นตัวมากนัก เพราะยังไม่ได้มีดาวเทียมดวงใหม่เปิด โดยคาดว่า กำไรปี 2567 -2568  ยังคงมีไม่มาก เนื่องจากยังเป็นการแกว่งตัวแบบ Sideway แต่ในระยะกลางถึงยาว THCOM ยังคงน่าจับตามอง เนื่องจากกำไรจะไปมากในปี 2569 -2570 เพราะมีสิ่งที่น่าตาม THCOM อยู่ประมาณ 2 - 3 เรื่อง โดยเรื่องแรก คือ อยู่ระหว่างการเจรจาหาพาร์เนอร์ในอินเดียเพิ่มขึ้น กำลังมีการพูดคุยกันถึงแผนการที่จะเข้ามาเติมช่องว่างของดาวเทียมในการหาลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ไทยคม 9 และ ไทยคม 10 ซึ่งขณะนี้อยู่ประมาณ 45% หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในกลางปี 2569 หรือต้นปี 2570 กำไรมีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด 

ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผลประการของกลุ่ม GULF ออกมาตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ในปีนี้  GULF ยังจะเห็นการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แรงหนุนมาจาก COD โรงไฟฟ้าเพิ่ม ขณะที่ต้นทุนราคาแก๊สธรรมชาติที่ปรับตัวลง ทำให้ตุ้นการผลิตไฟฟ้าปรับตัวลง และต้นทุนทางการเงินหรืออัตราดอกเบี้ย หากในปีนี้ กนง.มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดในช่วงครึ่งปีหลังได้

ส่วน ADVANC ปีนี้จะได้ธุรกิจบรอดแบนด์เข้ามาเสริม บวกกับการแข่งขันที่ลดลงน่าจะหนุนผลประกอบการให้มีการเติบโตได้ แต่ตัวที่เด่นยังมองเป็น THCOM เพราะไทยคมเป็นช่วงของการ turnaround เนื่องจากว่า ดาวเทียมไทยคม 8 ไทยคม 9 และไทยคม 10 อยู่ในช่วงปิดดีลกับลูกค้ารายใหญ่ที่อินเดีย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการเข้ามาเช่าใช้ช่องสัญญาณของไทยคม แต่อยู่ที่จะปิดดีลเมื่อไร 

ขณะที่ลาวเทเลคอม ที่ไทยคมถืออยู่ยังคงได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากค่าเงินลาวอ่อนค่าลงมาเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับค่าเงินบาท ฉะนั้นเมื่อแปลงเงินกลับมาจึงทำให้มีผลขาดทุนในส่วนนี้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวถ่วง THCOM มาตลอด ซึ่งขณะนี้ THCOM กำลังอยู่ในช่วงการปรับโครงการ 

สำหรับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF มีกำไรสุทธิปี 2566 กว่า 14,858 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.1% เมื่อเทียบกับปี 2565 ขณะที่กำไรจากการดำเนินงาน (core profit) ที่ 15,644 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.3% เมื่อเทียบกับปี 2565

ส่วนรายได้รวมจากการตำเนินธุรกิจในปี 2566 อยู่ที่ 116,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.0% เมื่อเทียบกับปี 2565 ประกอบไปด้วย

รายได้จากธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊ชธรรมชาติ อยู่ที่ 103,727 ล้นบาท เพิ่มขึ้น 28.5% เมื่อเทียบกับปี 2565 จากการรับรู้รายได้ของโครงการ GSRC หน่วยที่ 34 และโครงการ GPD หน่วยที่ 1-2 ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ไประหว่างปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ ซึ่งสามารถชดเชยผลกระทบจากราคาขายฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยให้แก่ กฟผ. ที่ลดลงตามทิศทางเดียวกับราคาค่าก๊ซได้ทั้งหมด

รายได้จากธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อยู่ที่ 2,399 ล้านบาท ลดลง 71.7% เมื่อเทียบกับปี 2565 สาเหตุหลักมาจากการลดสัดส่วนการถือหุ้นทางอ้อมในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม BKR2 เหลือ 24.99% ทำให้บริษัทฯ รับรู้เป็นส่วนแบ่งกำไร แทนการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายของโครงการเข้ามาในงบการเงินรวม นับตั้งแต่มกราคม 2566 เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ตาม รายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย ปรับเพิ่มขึ้นจากคำ Fและการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น ของโครงการโรงฟฟ้พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาภายใต้ GULF1 และในประเทศเวียดนาม รวมทั้งรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากโครงการพลังานลม MKW ที่เปิดดำเนินการเพิ่มเติม

รายได้จากธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค อยู่ที่ 4,195 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2565 จากความคืบหน้าของงานก่อสร้างโครงการพัฒนาทำเรืออุตสาหกรรม MIP3 ในส่วนของงานถมทะเล ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกันกับปีก่อนหน้า

รายได้จากธุรกิจดาวเทียม อยู่ที่ 2,627 ล้านบาท โดยรับรู้รายได้จาก THCOM เข้ามาในงบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นมา

ส่วน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC ผลงานปี 2566 กำไรสุทธิอยู่ที่ 29,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการเติบโตของรายได้การให้บริการหลัก ที่เติบโตเหนือกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและค่าใช้จ่ายผ่านการบริหารจัดการต้นทุนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้ผลกระทบจากการควบรวมกับ TTTBB นอกจากนั้นกำไรสุทธิตามรายงานยังได้รับผลดีจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิและการจำหน่ายเงินลงทุนในแรบบิทไลน์เพย์ หากไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ และ ผลกระทบจาก TTTBB  กำไรปกติจะอยู่ที่ 28,656 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ทั้งนี้ เอไอเอสมีรายได้รวมอยู่ที่ 188,873 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8% จากปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้การให้บริการซึ่งมีผลจากการรับรู้รายได้ของ TTTBB การเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ต การฟื้นตัวของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเติบโตที่แข็งแกร่งของธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร ชดเชยกับรายได้จากการขายอุปกรณ์ที่ลดลงเล็กน้อย หากไม่รวม TTTBB รายได้รวมเพิ่มขึ้น 0.7% จากรายได้การขายอุปกรณ์ที่ลดลง

ขณะที่รายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 118,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการมุ่งเน้นการให้บริการด้วยคุณภาพและประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าควบคู่ไปกับการนำเสนอบริการเสริมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนั้นรายได้การเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ยังฟื้นตัวสอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายของผู้บริโภค และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ และจากความพยายามในการผลักดันการใช้งาน 5G ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ ARPU อีกด้วย

รายได้จากธุรกิจอินเทอรเน็ตบ้านอยู่ที่ 13,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรับรู้รายได้ TTTBB เป็นเวลา 46 วัน ร่วมกับการรักษาระดับการเติบโตปกติได้ โดยการเติบโตมาจากการขยายฐานผู้ใช้บริการที่มีคุณภาพในพื้นที่รอบนอกผ่านการนำเสนอแพ็กเกจที่มุ่งเน้นด้านคุณค่าแก่ลูกค้าใหม่ซึ่งจะช่วยยกระดับ ARPU ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ส่งเสริมการขายบริการที่หลากหลาย (Cross-sell & Upsell) แก่ฐานลูกค้าเดิม หากไม่รวม TTTBB การเติบโตปกติของธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านจะอยู่ที่ 17% เมื่อเทียบกับปีก่อน

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH ผลการดําเนินงานของกลุ่มอินทัชในปี 2566 มีกําไรสุทธิรวม 13,139 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งผลกําไรจากไอทีวีในธุรกิจอื่น เนื่องจากการกลับรายการประมาณการส่วนต่างของค่าอนุญาตให้ดําเนินการค้างจ่ายและดอกเบี้ยของไอทีวี ภายหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคําตัดสิน

และการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งผลกําไรจากเอไอเอส เนื่องจากการเติบโตของรายได้จากการให้บริการ การควบคุม ค่าใชจ่ายด้านการตลาด และกําไรจากการขายเงินลงทุนในแรบบิท-ไลน์ เพย์ รวมทั้ง เอไอเอสมีกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่ปีก่อนมีขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน โดยในปี 2566 ผลการดําเนินงานของกลุ่มอินทัชไม่มีสวนแบ่งกําไรจากไทยคม เนื่องจากอินทัชได้ขายเงินลงทุนในไทยคมไปเมื่อปลายปี 2565

ส่วนผลการดําเนินงานเฉพาะบริษัทในปี 2566 อินทัชมีส่วนแบ่งกําไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม รวม 12,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลกําไรของไอทีวีและเอไอเอส โดยอินทัชมีค่าใชจ่ายในการดําเนินงานสําหรับปี 2566 อยู่ที่ 176 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปี 2565

และบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ผลการดำเนินงานปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 354 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 737.8% จากปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 42 ล้านบาท เป็นผลมาจากการรับรู้รายได้อื่น ซึ่งเป็นรายได้ค่าชดเชยจากข้อพิพาทกับบริษัทคู่สัญญารายหนึ่ง จำนวน 301 ล้านบาท 

ขณะที่บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานในปี 2566 อยู่ที่ 217 ล้านบาท ลดลง 58.9% จากปีก่อน ที่มีกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 527 ล้านบาท สาเหตุหลักจากการลดลงของรายได้ ประกอบกับผลขาดทุนจากอัตรสแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริง (realized gain/loss on foreign exchange) ทั้งนี้ หากนับรวมกับรายได้อื่นจากค่าชดเชยข้างต้น บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานเป็นจำนวน 505 ล้านบาท

ส่วนรายได้จากการขายและการให้บริการรวมในปี 2566 อยู่ที่ 2,627 ล้านบาท ลดลง 10.7% จากปีก่อน ที่มีรายได้อยู่ที่ 2,940 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงปี 2566 ซึ่งดาวเทียมไทยคม 4 ใกล้สิ้นสุดอายุใช้งาน บริษัทดำเนินการปรับโครงสร้างลูกค้าบรอดแบนด์เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การให้บริกรดาวเทียมบรอดแบนด์ในอนาคตที่ตำแหน่ง 119.5 องศาตะวันออก โดยมุ่งเน้นการขยายบริการสำหรับลูกค้าที่อยู่ในบริเวณที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เช่น ลูกค้าในกลุ่มประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย

‘สารัชถ์’ ปลื้ม 4 หุ้น กลุ่ม GULF โกยกำไรปี 66 มูลค่ากว่า 5.74 หมื่นล้านบาท