‘กอบศักดิ์' ชี้ 4 สิ่งตลาดทุนไทยต้องเปลี่ยน รอดพ้นโลกเข้าสู่โค้งท้าทาย

‘กอบศักดิ์' ชี้ 4 สิ่งตลาดทุนไทยต้องเปลี่ยน รอดพ้นโลกเข้าสู่โค้งท้าทาย

กอบศักดิ์ ประธานฯ เฟทโก้ มององค์ประกอบ ตลาดทุนไทยต้องเปลี่ยน ก่อนหมดเสน่ห์ เพื่อรอดพ้นโลกกำลังเข้าสู่ช่วงโค้งท้ายทาย แนะเตรียมรับมือ คริปโทฯยุคสอง -ปฏิรูปตลาดทุนไทย-ปิดจุดมืดปัญหา สร้างความเชื่อมั่น - สนับสนุนความยั่งยืน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO)  กล่าวปาฐกาพิเศษ อนาคตตลาดทุนไทย กับการเคลื่อนย้ายทุน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง ภูมิรัฐศาสตร์โลก ในงานสัมมนาวิชาการ SEC Capital Market Symposium 2023   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า ขณะนี้โลกกำลังเข้าสู่ช่วงโค้งสำคัญ  ของความท้าทาย 4 ด้าน ที่กำลังเปลี่ยนทุกอย่างอย่างรวดเร็ว คือ 1.เทคโนโลยี  2.ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ 3.การขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่อย่างเอเชียและอาเซียน  4. การแปลงเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ  

ทั้งนี้ ตลาดทุนไทยจะก้าวข้ามความท้าทาย 4 ดังกล่าว ต้องการมาตรการจากทุกส่วน มาตรการ บีโอไอ กฎหมายต่างๆ กระทรวงการคลัง กระทรวงต่างๆ ธปท. ก.ล.ต. 

 

พร้อมกับ 4  ความท้าทายดังกล่าว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่จะก้าวขึ้นมาเป็น 4 เทรนด์โลกการเงินยุคใหม่  ที่ตลาดทุนไทย ต้องหาโอกาสให้เจอและหยิบมาเป็นโอกาส

โดยมองว่า มี  4 สิ่งที่ตลาดทุนไทย จะสามรถรอดพ้นในโลกกำลังเข้าสู่ช่วงโค้งสำคัญ สู่โลกการเงินยุคใหม่  ดังนี้  

1 .สินทรัพย์แห่งอนาคต  คริปโทฯ ยุคสองกำลังมา ตลาดทุนไทยจะผนึกรวมได้อย่างไร 

2.การปฏิรูปตลาดทุนไทย การปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ และการพัฒนา ซิงเกิลพอร์ทัล ผ่านรัฐบาลที่จุดๆเดียวแล้วทุกคนใช้ร่วมกัน 

 3. การปิดจุดมืดของตลาดทุนไทย ได้แก่ กรณีปัญหา หุ้นเล็ก /unrated bonds  , การปั่นหุ้น และแก้ไขปัญหากรณีหุ้น มอร์ และสตาร์ก  ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาปัญหาเหล่านี้ลุกลามมากขึ้นและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบคลีนอัพ สร้างความเชื่อมั่นกลับมา 

4.การส่งเสริมสนับสนุนภาพรวมตลาดทุนไทย ( Capital market for all ) ไม่ว่าจะเป็น การสนับสนุนเรื่อง Sustainableและ ESG, Social contribution /credit  และ SME Community ด้วยการให้คการให้และทักษะทางการเงินและการลงทุน รวมถึง ทำให้หุ้นขนาดเล็กที่มีอยู่แล้ว มีความเข้มแข็งเป็นหุ้นระดับกลาง  เพื่อเพิ่มมูลค่าตลาด 

”เราต้องเตรียมเข้าโค้งที่ท้าทายนี้ให้ดี ทั้งผู้ประกอบการและหน่วนงานกำกับดูแล ถ้าเราเตรียมการดีผ่านไปได้ ถ้าเตรียมไม่ดีก็จะลำบาก ถ้าองค์ประกอบของ SET ไม่เปลี่ยนไปสู่อนาคต  ก็จะหมดความน่าสนใจไปเรื่อยๆ"

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า 4 ความท้าทาย จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เป็นโอกาส ภายใต้ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศต่างๆ ทำให้ตลาดเอเชียและเอเซียนกลับมามีความน่าสนใจ มีเงินลงทุนต่างชาติโดยตรง เข้ามาลงทุนในอินฟราสตักเจอร์  เช่น  เทคโนโลยี กรีนเอ็นเนอร์ยี่ แชทจีพีที โอเพ่นท์เอไอ  โรโบติกเอไอ เมตาเวิร์ส ชิปที่สามารถที่เข้าไปเชื่อมต่อเซลล์ของร่างกายมนุษย์ สิ่งใหม่ๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นเร็วมาก ใน10 ปีข้างหน้า  ท่ามกลางเสน่ห์ที่หายไปของตลาดทุนไป เพราะส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมดังเดิม อย่าง รถยนต์ อาหาร ฮาร์ดดิส  ปิโตรเคมี ก็กำลังจะหายไป 

”การเปลี่ยนแปลงเพื่อเกิดสิ่งใหม่ หากไม่ยอมรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แล้วความวามเชื่อมั่นหายไป ต้นทุนก็ยังจะเพิ่มขึ้นกันไปหมด  ถ้าเราไม่เปลี่ยน เราจะค่อยๆเล็กลง เราจะออกจากเทรนด์นี้ได้อย่างไร เพื่อเข้าโค้งท้าทายนี้ ไม่ล้มหายตายจากได้อย่างไร  ปัญหาหุ้นตกมองว่า เป็นปัญหาสั้นๆ การสร้าง Strong Foundation (พื้นฐานที่แข็งแกร่ง) คือคำตอบสำหรับโลกการเงินยุคใหม่“ 

นอกจากนี้ สิ่งที่น่ากังวลและเป็นแรงกดดัน ตลาดทุนไทยระยะสั้นจนถึงกลางปีหน้า  มองว่า มาจาก ผลประกอบการของบริษัทมีกำไรไม่ดี รวมถึงการไหลกลับของเงินทุนที่เข้ามาปีที่แล้วจำนวนมาก และปัญหาประเทศในภูมิภาค การเคลื่อนย้านเงินทุนโลก ตั้งแต่ต้นปีมานี้ เงินทุนต่างชาติไหลออกแล้วราว 2แสนล้านบาท ไปยังตลาดสหรัฐ โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ และตั้งแต่ต้นปีมานี้ เฟดดูดเงินกลับไปแล้ว 6 แสนล้านบาท และปีที่ผ่านมา 7 แสนล้านบาท รวมเฟดดูดเงินทุนไหลกลับไปกว่า 1 ล้านล้านบาท จากช่วงโควิด เฟดอัดฉีดสภาพคล่องไปถึง 5ล้านล้านบาท แน่นอนว่าเฟดยังคงดูดเงินกลับดึงเอาสภาพคล่องออกไปอีกต่อเนื่องในปีหน้า และอาจยังมี การออกบอนด์ของสหรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ 

แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม ตลาดหุ้นไทย มองว่า ในช่วงกลางปีหน้าเซนต์ทริเมนต์ ตลาดหุ้นไทยภาพรวมน่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่ระยะนี้ตลาดหุ้นอาจยังตกต่อได้  จนกระทั่งเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงกลางปี 67 เนื่องจาก ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง รวมไปถึงเฟด คาดว่าจะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ในช่วงปลายปีหน้า จะหนุนให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้น และสภาพคล่องที่ตึงตัวปรับตัวดีขึ้น

ขณะที่ ราคาหุ้นไทย ณ ปัจจุบัน ยังมีอัพไซด์พอสมควร และน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว คาดว่ากลางปีหน้าเป็นต้นไปเซนทริเมนต์ต่างๆ ก็จะเริ่มเปลี่ยน จากการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันยังคงมีแรงกดดันจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรลดลง, ดอกเบี้ยสหรัฐที่อยู่ในระดับสูง, เงินทุนไหลออก, ปัญหาในตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค ที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน, การดูดสภาพคล่องกลับ หรือการทำ คิวที ของสหรัฐ