AWC ไตรมาส3/66 กำไร 1.13 พันล้าน เพิ่มขึ้น 3.4% เหตุ ธุรกิจโรงแรมโต

AWC ไตรมาส3/66 กำไร 1.13 พันล้าน เพิ่มขึ้น 3.4% เหตุ ธุรกิจโรงแรมโต

AWCไตรมาส3/66มีกำไรสุทธิตามงบการเงิน 1.13 พันล้านบาท  โต3.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เหตุ ธุรกิจโรงแรม-การบริการโตแม้อยู่นอกฤดูกาลท่องเที่ยว อัตราเข้าพักพุ่ง 62.7%

 

นายกานต์ ปฏิเวธวรรณกิจ หัวหน้าคณะสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC  เปิดเผยว่า  ไตรมาส 3 ปี 2566  บริษัท มีกำไรสุทธิตามงบการเงิน 1.13 พันล้านบาท  โต3.4%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 1.09 พันล้านบาท จากกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการเป็นหลัก ถึงแม้ว่าอยู่ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวอัตราการเข้าพักโรงแรมของไตรมาส3/2566 อยู่ที่ 62.7% เป็นการเติบโตในทุกกลุ่ม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า

โดยเฉพาะรีสอร์ท ระดับ ลักซ์ซูรีและโรงแรมอื่นๆ นอกกรุงเทพ โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อวัน(Average Daily Rate: ADR) เท่ากับ 5,370 บาทต่อคืน เติบโต 9.1% เมื่อเปรียบเทียบ จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) 3,367 บาท และโตขึ้น 29% เมื่อเปรียบเทียบจากไตรมาสเดียวกันปี ก่อนหน้า และสูงกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2562

ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า บริษัทได้มีการปรับปรุงพัฒนาศูนย์การค้า ให้เข้ากับกลยุทธ์การตลาด เพื่อเสริมศักยภาพของศูนย์การค้าให้กับผู้เช่าในการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาให้บริการเพิ่มมากขึ้น ส่วนธุรกิจอาคารสำนักงานยังคงเป็นธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดรับ ให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในภาพรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัทยังคงมีผลการดำเนินงานที่มั่นคง และในไตรมาส 3ปี 2566 บริษัทมีกำไรจากมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจำนวน 1,263 ล้านบาท

บริษัทขับเคลื่อนกลยุทธ์การเติบโต Growth-Led Strategy โดยมุ่งเน้นการดำเนินกลยุทธ์สร้างการเติบโตของอิบิทดาด้วยโมเดลธุรกิจอย่างเป็นเอกลักษณ์ และทรัพย์สินคุณภาพเพื่อเพิ่มคุณค่าในระยะยาว ประกอบด้วย 3ระยะได้แก่

1. การเติบโตจากทรัพย์สินดำเนินงานใหม่ในช่วงระยะเวลาอันใกล้ (Near-Term Growth)บริษัทสร้ างการเติบโตโดยเร่งการเปลี่ยนผ่านทรัพย์สินที่อยู่ในช่วงด าเนินงานเริ่มต้น (RAMP UP) และทรัพย์สินที่อยู่ในช่วงการปรับกลยุทธ์ทางการตลาด (REPOSITIONING) เป็นทรัพย์สินที่ดำเนินงานปกติที่เติบโตเต็มที่ (MATURE)

โดยเป็น การเพิ่มอัตราผลตอบแทนกำไรจากการดำเนินงาน (อิบิทดา) ของทรัพย์สินดำเนินงานให้เติบโตเต็มที่สู่ ระดับที่มากกว่าร้ อยละ 15 ต่อปีอาทิ โรงแรม มีเลีย เกาะสมุย โรงแรมบันยันทรี กระบี่ โรงแรม มีเลีย เชียงใหม่ โรงแรมคอร์ทยาร์ด แมริออท ภูเก็ต ทาวน์ โรงแรม เดอะ เวสทิน สิเหร่ เบย์รีสอร์ท แอนด์สปา ภูเก็ต (ต่อไปจะดำเนินการภายใต้ชื่อใหม่คือโรงแรมริทซ์- คาร์ลตัน ภูเก็ต) โรงแรมอินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท อินเตอร์คอนติเนนตัลเชียงใหม่ แม่ปิงโฮเทลและโรงแรม เชียงใหม่ แมริออท โฮเทล เป็นต้น

สำหรับทรัพย์สินจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ได้แก่ อาคาร “เอ็มไพร์” ศูนย์การค้าเกทเวย์ เอกมัย ศูนย์การค้าเกทเวย์ แอท บางซื่อ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์เดสติเนชั่่นศูนย์การค้า พันทิพย์ พลาซ่า แอท งามวงศ์วาน และพันธุ์ทิพย์ ไลฟ์ สไตล์ ฮับ - เชียงใหม่ เป็นต้น ทั้งการเติบโตระยะใกล้จะเพิ่มกำไรจากการดำเนินงานของทรัพย์สินดำเนินงานให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

2. การเติบโตจากทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นทรัพย์สินดำเนินงาน (Medium-TermGrowth) บริษัทใช้จุดแข็งในการพัฒนาโครงการคุณภาพด้วยประสิทธิภาพการบริหารโครงการเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านทรัพย์สินระหว่างพัฒนาให้เป็นทรัพย์สินดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างโครงการในการเติบโตระยะกลางได้แก่ โรงแรม เดอะ วีนแยทท์ คอลเล็คชั่่น โรงแรม พัทยา แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา แอท จอมเทียนบีช และโรงแรมคิมป์ตัน หัวหิน รีสอร์ท เป็นต้น

3.การเติบโตจากการลงทุนในแผนพัฒนา สำหรับการเติบโตระยะยาว (Long-TermGrowth) บริษัทจะสร้างการเติบโตผ่านแผนการลงทุนภายใต้ข้อตกลง GRANT OFRIGHT (GOR) Agreement กับกลุ่มทีซีซี การลงทุนจากบุคคลภายนอก และโมเดล
กองทุนเพื่อการเติบโต เพื่อสร้างการเติบโตของกระแสเงินสดและเสริมสร้างพอร์ตโฟลิโอคุณภาพในระยะยาวอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันมีโครงการตามแผน อาทิ โครงการอควอทีค บายเดอะบีชโครงการเอเชียทีค 2.2 โครงการเวิ ้งนครเขษม โครงการเดอะ ล้ง 1919ริเวอร์ไซด์ เฮอริเทจเดสติเนชั่่น โครงการลานนาทีค โครงการ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทลแอนด์ สปา นิวยอร์ก และโรงแรม เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก เป็ นต้น

โดยทั้งสองโรงแรมจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท และเพิ่ม Flagship
โรงแรมระดับอัลตร้าลักซ์ชูรี่ให้ กับ 2 มหานครระดับโลก ทั้งนครนิวยอร์กและกรุงเทพมหานคร เชื่อมสองโครงการที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยมี โรงแรม เดอะพลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก โดยพัฒนาจากอาคาร EAC (East
Asiatic Company) เป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางเชื่อมต่อหลากหลายโครงการริมแม่น ้าเจ้าพระยาของบริษัท ภายใต้แนวคิด River Journey Projec

 โดย ณ สิ้นไตรมาส 3/2566 บริษัทมีทรัพย์สินถาวรรวม 146,341 ล้านบาท โดยเป็นทรัพย์สินดำเนินงาน จำนวน 125,758 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตทั้งในธุรกิจโรงแรมและการบริการ และธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์โดยปัจจุบันมีทรัพย์สินที่สร้างรายได้ทั ้งหมดถึงกว่า 85% และได้เพิ่มขีดความสามารถของทรัพย์สินในช่วงดำเนินงานเริ่มต้นมาสู่ระดับดำเนินงานปกติ มูลค่ากว่า 12,500 ล้านบาท สร้างผลตอบแทนกระแสเงินสดสูงถึง 10.2%

 ด้วยกลยุทธ์ ผลักดันรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ใน 9 เดือนแรกของปี สูงถึง 3,619 บาท เพิ่มขึ้น 87.6% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน(YoY) และเติบโตกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ปี 2562 นอกจากนี้บริษัทได้เปิดตัวโรงแรมและห้องอาหารหลากหลายแห่ง รวมมูลค่ารวมกว่า 10,000 ล้านบาท ตอบโจทย์เป้าหมายกลยุทธ์การเติบโต (Growth-Led Strategy) สร้างกระแสเงินสดก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง

รวมถึงในระยะเวลาที่ผ่านมาทรัพย์สินมีการเติบโตที่ 14% ต่อปีส่วนของผู้ถือหุ้นเติบโตร้อยละ13เมื่อเทียบกับปี 2562 อัตราส่วนหนี้สินที่เป็นดอกเบี้ย ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 0.77 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของโครงสร้างเงินทุนของบริษัท