หุ้นไทยโคม่าทุบสถิติต่ำสุดเท่า 10 ปีที่แล้ว กูรูแนะรอจังหวะเด้งปรับพอร์ต

หุ้นไทยโคม่าทุบสถิติต่ำสุดเท่า 10  ปีที่แล้ว กูรูแนะรอจังหวะเด้งปรับพอร์ต

สถิติตลาดหุ้นไทยปัจจุบันหลุด 1,400 จุดใกล้เคียงกับดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงปี 56 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 1200 จุด ขณะที่ ช่วง 10 ปีค่า P/E อยู่ที่ประมาณราว 19 เท่า ขณะที่ค่า P/E ปัจจุบันอยู่ 15.8 เท่า กูรู แนะรอจังหวะเด้งปรับพอร์ต

หากเทียบสถิติตลาดหุ้นไทย ณ ปัจจุบันหลุด 1,400 จุด ไปเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา จะใกล้เคียงกับดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงปี 2556 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 1,200 จุด ซึงช่วงต้นปีของปี 2556 ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด ขณะที่ต้นปี 2566 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,691 จุด และทยอยปรับตัวลงมาเรื่อย ๆ เช่นกัน 

แต่อย่างไรก็ตาม ช่วง 10 ปีผ่านมาหากเทียบค่า P/E อยู่ที่ประมาณราว 19 เท่า (ไม่นับรวมช่วงโควิด เนื่องจากผลกำไรบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างย่ำแย่ลงไปมาก) ขณะที่ค่า P/E ปัจจุบันอยู่ 15.8 เท่า ซึ่งถือว่า ไม่แพงและไม่ถูกมาก อยู่ในระดับกลาง ๆ ที่สามารถเข้าเทรดได้ 

“กูรู” เผยว่า ทางจิตวิทยานักลงทุนมีความกังวลสูงต่อสถานการณ์นอกประเทศ บวกกับสถานการณ์หลักอย่างบอนด์ยิลด์ที่เป็นตัวจุดให้ดัชนีปรับตัวลงมาค่อนข้างแรง ในช่วง เดือนกันยายน และตุลาคมที่ปรับตัวลงเกือบ 300 จุด 

ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า จากสถิติดัชนีหุ้นไทย หากย้อนกลับไปช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงตั้งแต่ปี 2556 - 2559 ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะใกล้มีความใกล้เคียงกับช่วงปัจจุบันมากที่สุดคือ แกว่งตัวอยู่ที่ระดับกรอบล่าง 1,200 จุด ขณะที่กรอบข้างบนจะอยู่ที่ 1,620 จุด เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ปี 2556 - ปลายปี 2559 เป็นช่วงสถานการณ์ทางการเมือง และมาเร่งตัวเร่งตัวขึ้นมาได้ในปี 2561 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1,800 จุด  และถอยลงมา โดยกรอบจะอยู่ราวประมาณ 1,500 -1,800 จุด  

หลังที่เร่งตัวขึ้นมาได้จาก 1,600 - 1,800 จุด พอมาเจอโควิด-19 ดัชนีปรับตัวลงมาเหลือ 969 จุด พอหลังจากโควิด-19 ดัชนีหุ้นไทยมีการฟื้นตัวปรับขึ้นมากลับไปเล่นที่ระดับกรอบเดิมที่ด้านล่างอยู่ที่ระดับ 1,500 จุด ส่วนด้านบนอยู่ที่ระดับ 1700 จุด และมาปีนี้ (2566) ที่หลุด 1,500 จุด และหลุด 1,400 จุด ตามลำดับ 

“1,500 จุด ถือเป็นฐานรับสำคัญตลอดระยะเวลา 2 ปีที่สามารถยืนได้รับนี้มาโดยตลอด ขณะที่กราฟออกมาแย่สุด นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2563 หรือช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าหนักลงทุนในรอบ 3 ปี” 

ขณะที่หากเทียบดัชนีตั้งแต่ต้นปี 2566 ซึ่งสิ้นปี 2565 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,669 จุด ลบด้วยดัชนีหุ้นไทยปัจจุบันที่ 1392 จุด ปรับตัวลดลงมากว่า 277 จุด ซึ่งดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงมากสุดในช่วงเดือน กันยายน กับตุลาคม ซึ่ง 2 เดือนนี้ลบหนักลงสุดไปกว่า 170 จุด 

สาเหตุที่ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงมาค่อนข้างแรง สาเหตุมาจากบอนด์ยิลด์สหรัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่บอนด์ไทยอายุ 10 ปี ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ต้นปี  ถึง กรกฎาคม 2566 อยู่ที่ในกรอบ 2.2 - 2.6% ซึ่งถือว่านิ่งมาก แต่พอเดือนสิงหาคม ปรับเพิ่มขึ้นไปเป็น 2.8% ส่วนเดือนกันยายน พุ่งสูงแตะระดับ 3.2% และเดือนตุลาคม พุ่งขึ้นไปอีกที่ระดับ 3.3% 

ทั้งนี้่สาเหตุหลักมาจาก ในช่วงนั้นความกังวลต่อนโยบายดิจิทัลวอเล็ต ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมาก และอาจจะต้องกู้เพิ่ม เลยทำให้แรงขายพันธบัตรออกมากขึ้นเพราะว่า มีแนวโน้มว่า รัฐบาลจะออกพันธบัตรออกมาขายใหม่ ทำให้เกิดซัพพลายเยอะ ส่งผลให้ราคาลง ฉะนั้นผลตอบแทนอาจจะสูงขึ้น จึงทำให้กลายคนกังวล และเกิดแรงเทขายบอนด์ไทยออกมาทั้งคนไทยและต่างชาติ นี้ถือว่า เป็นเรื่องหลัก ทำให้ประสอดรับกับดัชนีหุ้นไทยที่ปรับตัวลงมาแรง ๆ ในช่วงเดือน กันยายน ถึงตุลาคม

ขณะที่หากเทีียบดัชนีหุ้นไทยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สิ้นสุดเดือนกันยายน ปรับตัวลงไป 11.8% และหากเทียบ ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 1,388.23 จุด ลงไป 16.8% และถ้าเทียบเดือน ตุลาคม เพียงอย่างเดียวลงไป 5.7% 

ส่วนในไตรมาส 3/66 เดือน กรกฎาคม - กันยายน ลงไปแค่ 2% เท่านั้น โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม ปรับขึ้่นมาที่ 3.5% เดือนสิงหาคม บวกอยู่ที่ระดับ 0.6%สาเหตุที่ปรับบวกขึ้นมาได้จากการเมืองที่เริ่มมีความชัดเจน และมีข่าวที่ทักษิณ ชินวัตร จะบินกลับมาประเทศไทย จึงทำให้ตลาดช่วงนั้นบวกขึ้นมารับรอกว่า 20 จุด 

ทั้่งนี้ในระยะสั้นหลังจากนี้น่าจะเห็นการฟื้นตัวปรับขึ้นก่อน เพราะว่า ณ ขณะนี้นักลงทุนทราบดีว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยลง มาจากบอนด์ยิลด์ในประเทศที่มีการเร่งตัวขึ้นมามาก หากซื้อพันธบัตรอายุ 10 ปีได้ผลตอบแทนที่ 3.3% ขณะที่ซื้อหุ้นให้ผลตอบแทน Earning Yield ของค่า P/E อยู่ที่  6 - 7% ซึ่งพันธบัตรมีความน่าสนใจมากกว่า เนื่องจากไม่เสี่ยง 

อย่างไรก็ตาม จากสถิติบอนด์ยิลด์ในเดือนพฤศจิกายน บอนด์ยิล์ของไทยมักจะนิ่ง เพราะได้ผ่านช่วงของงบประมาณไปแล้ว และ ณ ขณะนี้งบประมาณใหม่ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ ขณะเดียวกัน ดิจิทัลวอเล็ตมีการปรับลดขนาดไซด์ลงมา ความกังวลการออกบอนด์ใหม่และจะไปกระทบบอนด์เก่าจึงลดน้อยลง และปััจจัยต่างประเทศหากเฟดมีการส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้จะส่งผลให้บอนด์ยิลด์นิ่ง และในเดือนตุลาคมที่่ผ่านมาเริ่มเห็นต่างชาติกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรอายุที่มากกว่า 1 ปี ประมาณ 18,000 ล้านบาท หากย้อนไปจะใกล้เคียงกับเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 18,000 - 19,000 ล้านบาท เช่นกัน ถือว่าเป็นภาพที่ดี

ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน จะมี 2 อีเว้นท์ คือผลประกอบการไตรมาส 3/66 ที่เริ่มเห็นกลุ่มแบงก์ไม่ได้แย่กว่าคาด ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ โอกาสที่จะถูกดาวน์เกรดก็จะน้อยลง และกลางเดือนจะมีการประกาศ จีดีพีไตรมาส 3/66 เชื่อว่าจะดีกว่าไตรมาส 2/66 

ช่วง 2 เดือนที่เหลือ นักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังการลงทุนอยู่ เพราะในปีหน้าเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป หลายตัวแปรทางด้านการบริโภค ส่งผลว่าอาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะฉะน้ั้นในช่วงที่เหลือของปี ถ้ามีช่วงจังหวะที่เด้งขึ้นมา มองเป็นโอกาสในการปรับพอร์ตได้ ในการขายออกไป และเตรียมเงินสดไว้หากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจริง ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงมา ถือเป็นโอกาสเข้าซื้อได้ 

หุ้นไทยโคม่าทุบสถิติต่ำสุดเท่า 10  ปีที่แล้ว กูรูแนะรอจังหวะเด้งปรับพอร์ต
วิจิตร อารยะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บล.ลิเบอเรเตอร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากย้อนสถิติหุ้นไทยไปเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ ช่วงปี 2556 มีการปรับฐานใกล้เคียงกับปี 2566 ที่ ณ ช่วงต้นปีเปิดอยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด และสิ้นปีอยู่ที่ระดับ 1,200 จุด เหวี่ยงและทิ่้งตัวลงมา ซึ่งคล้าย ๆ กัน กับปีนี้ที่ตอนต้นปีนี้อยู่ที่ระดับ 1,700 จุด และปรับฐานลงมา 1,300 กว่า 

อย่างไรก็ตาม การคิดหรือเทียบ SET INDEX แบบนี้ตอบค่อนข้างยาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วในช่วง 10 ปี ในเชิงของกำไร และ ค่า P/E ไม่ได้เป็นไปในแนวเดียวกัน

ขณะที่ ย้อนไป 10 ปี ช่วงปี 2556 ค่า P/E ช่วงพีคอยู่ที่ประมาณ 19 เท่า และจุดที่ปรับลงมาที่ 13 เท่า ขณะที่ ค่า P/E ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 15.8 เท่า ถือว่าไม่ได้ถูกเมื่อเทีียบช่วง 10 ปีผ่านมา แต่ การปรับฐาน INDEX มีความใกล้เคียง 

“ในแต่ละปีสถานการณ์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ซึ่งกำไรบริษัทจดทะเบียนมีความแตกต่างกัน หากจะมาคิดจะเป็นการนำ INDEX นั้นมาเทียบกับกำไรที่มองไปข้างหน้า”

ในมุมของ P/E ตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจอยู่ เพราะค่า P/E ถือว่า ไม่ได้แพงเกินไป อยู่ในโซนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระยะกลาง - ยาว ซึ่ง P/E อยู่ที่  15.8 เท่า มีการ DISCOUNT ลงมากขึ้นเรื่อย ๆ 

แต่ถ้าหากมองในมุมของการเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้นเป็นตลาดสินทรัพย์เสี่ยง อาจจะต้องไปมองในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเช่น ตลาดพันธบัตร และเชื่อว่า ช่วงถัดไปของบอนด์ยิลด์ของสหรัฐที่ให้ผลตอบแทนที่ 5% เริ่มที่จะตึงแล้ว มีแต่ภาพของการทรงและรอปรับตัวลงมา

ขณะนี้ถือว่า การลงทุนในหุ้นสามารถเข้าไปแบ่งไม้ในการลงทุนได้ ตลาดหุ้นไม่ได้แย่ขนาดนั้นแล้ว และหากดูเซนติเมนรอบข้างซึ่งตลาดรับรู้หมดแล้ว และเริ่มมองเห็นจังหวะที่สามารถเข้าไปลงทุนได้ 

“หากเทีียบตั้งแต่ต้นปี สัญญาณทิศทางกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนของตลาดโดนปรับลดบลงมา ทำให้ P/E มีการเหวี่ยง ซึ่งช่วงต้นปีอยู่ที่ประมาณ 1,691 จุด และค่อย ๆ ไซด์เวย์ ดาวน์ ลงมาเรื่อย ๆ จน ร ปัจจุบันยืนที่ 1,380 จุด ร่วงไป ประมาณ 300 จุด ช่วงต้นปีที่ปรับตัวลงมาจากสถานการณ์ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ จากความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้ง รวมถึงตัวเลขการส่งออกที่ปีนี่้อ่อนลงไป และกลาง ๆ ปีมีโมเมนตัมของตะวันออกกลางเข้ามากดดัน รวมถึงความกังวลเฟดกับการปรับข้นอัตราดอกเบี้ยมาเรื่อย ๆ หากเทีียบช่วง 9 เดือน ตั้งแต่มกราคมที่ 1,691 จุด สิ้นกันยายน 1,471 จุด ลบไปประมาณ 220 จุด” 

นอกจากนี้ ค่า EPS หรือ Earning Per Share ตัวชี้วัดอัตราทางการเงินที่ช่วยคำนวณโอกาสการทำกำไรขององค์กร เรียกอีกอย่างว่า กำไรต่อหุ้นนั้น ซึ่ง P มีการปรับตัวลงมาตั้งแต่ต้นปี  และถอยลงมาเรื่อย ๆ ซึ่งทำจุดต่ำสุดในรอบปีอยู่  แต่ถ้าไปดู SET EPS ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนสูตรไปบ้างเล็กน้อยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีการปรับลดลงมาเรื่อย ๆ เช่นกัน  อยู่ที่ประมาณ 106 บาทต่อหุ้น แต่ ณ ขณะนี้กด EPS ลงมา ไซด์เวย์ ดาวน์ เรื่อยๆ ลงมาเหลือ 87 บาทต่อหุ้น จะเห็นได้ว่า ตัวกำไรตลาดปรับลดลงมา 18% ตั้งแต่ต้นปี 2566

ทั้งนี้ ถือว่าเป็นเทรนด์เดียวกัน INDEX ปรับลงมาจาก 1,700 จุด อยู่ที่ 1380 จุด ส่วนกำไรตลาดห้นปรับลดลงมา 18% เลยกลายเป็นว่า INDEX ก็ปรับตัวลงมา และ EPS ก็ปรับตัวลงมาด้วยเช่นกัน เมื่อปรับลดลงมาแบบนี้ส่งผลให้ค่า Forward P/E ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 15.8 เท่า ไม่ได้แพงมากเหมือนช่วงก่อนหน้าและไม่ได้ถือว่า ถูกมาก อยู่ในระดับกลาง ๆ และถ้าเทีียบ จาก 10 ปีย้อนหลัง ค่า P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 17 เท่า ถือว่า ถูกในระดับหนึ่ง ถือว่าไม่ได้แพง 

อย่างไรก็ตาม แม้ค่า P/E จะอยู่ในระดับที่ถูก แต่ในทางจิตวิทยาการลงทุน คนเกิดความกลัว จนทำให้ SET หาฐานไม่ได้ จากปัจจัยร้าย ๆ ที่ยังมีในหน้าข่าวอยู่ เช่น ตะวันออกกลางส่อแววว่าจะรุนแรงขึ้น รวมถึงปัจจัยอัตราดอกเบี้ย แต่ตลาดเริ่มเข้าใจว่าปรับสูงขึ้นมากแล้ว รวมถึงอยู่ในช่วงของผลประกอบการบริษัทจดเบียน ทำให้ตลาดยังคงมีความผันผวนอยู่  

โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะเป็นสถานการณ์ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมถึงปัญญาวิกฤตเศรษฐกิจของกรีก ที่เข้ามาเหวี่ยง ๆ บ้าง และอีกสถานการณ์คือ ช่วงโควิด-19 ส่วนบ้านเราจะมีประเด็นน้ำท่วม หรือการเมืองที่ใส่เข้ามา และตัดช่วงเออเร่อโควิดออกไป P/E จุดพีคจะอยู่ที่อยู่ประมาณ 19 เท่า ไม่นับรวมโควิดจะอยู่ที่ระดับ 20 -30 เท่า เป็นช่วงที่กำไรไหลลงเร็ว จึงไม่นับรวม

ในช่วง 2 เดือนที่เหลือ จะเห็นได้ว่า สัญญาณ Valuation บ้านเราปรับฐานลงมาค่อนข้างมาก อยู่ในโซนที่ไม่ได้แพง แต่เป็นการค่อย ๆ ฟื้นตัว กำไรจดทะเบียนในปีหน้าจะมีการเติบโตได้ หากดูค่า EPS ปรับลงมาที่ 87 บาทต่อหุ้น ปีหน้าอาจจะมีการปรับขึ้นมาได้เกือบ 100 บาทต่อหุ้น ยังอยู่ในโซนน่าลุ้น บวกกับจิตวิทยาการลงทุนที่นักลงทุนอยู่ในภาวะความกลัวมากเกินไป หากกลัวหุ้นมาก สามารถแบ่งไม้การลงทุนได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละความเสี่ยงของแต่ละบุคคล 

อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าตลาดหุ้นไทยยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หากสหรัฐยังไม่หยุดการขึ้นดอกเบี้ย หรือชะลอลงมาบ้าง รวมถึงการแช่อัตราดอกเบี้ยในระยะยาว เศรษฐกิจอาจจะไม่ไหว ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคอย่างจีน การกลับมาฟื้นตัวของจีนยังคงมีความเสี่ยงอะไรที่ประทุออกมามากกว่านี้หรือไม่