12 หุ้นค้าปลีก อัพไซด์เหลืออื้อ รับรัฐบาล ‘เศรษฐา’ กระตุ้นเศรษฐกิจ

12 หุ้นค้าปลีก อัพไซด์เหลืออื้อ รับรัฐบาล ‘เศรษฐา’ กระตุ้นเศรษฐกิจ

12 หุ้นค้าปลีก ราคาขยับขึ้น หลังรับอานิสงส์รัฐบาล ‘เศรษฐา’ กระตุ้นเศรษฐกิจหวังดันยอดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศ หุ้น BJC CRC HMPRO COM7 CPALL CPAXT ยังมีอัพไซด์เหลืออื้อ

หุ้นค้าปลีก เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์ปัจจัยบวก จากรัฐบาล ‘เศรษฐา’ ที่โหมกระพือกระตุ้นเศรษฐกิจหวังดันยอดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศ กับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ส่งผลให้หุ้นกลุ่มดังกล่าว ราคาขยับปรับบวกขึ้นมา 

กรรณ์ หทัยศรัทธา นักกลยุทธ์ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน สายงานวิจัย บล.ซีจีเอส ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า ไตรมาส 4/66 ที่ภาครัฐต้องการสนับสนุนการท่องเที่ยวกับนโยบายฟรีวีซ่า เพื่อต้องการหนุนนักท่องเที่ยวจีน ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา 300,000 รายต่อเดือน ซึ่งถือว่า ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ช่วงปี 2562 มีนักท่องเที่ยวจีนประมาณ 1 ล้านราย 

ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่จะมาในปีหน้า (ปี 2567) กับนโยบายเงินดิจิทัลที่คาดว่า จะสามารถออกมาได้ช่วงไตรมาส 1/67 ซึ่งต้องรอดูความชัดเจนของระยะเวลาอีกครั้ง 

“นโยบายเงินดิจิทัลที่จะให้กับประชากรไทยประมาณ 56 ล้านราย จำนวน 10,000 บาท ซึ่งสมมารถใช้ได้กับร้านค้าที่รับเงินดิจิทัลภายในรัศมี 4 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นก็ต้องมาดูว่า นโบายดังกล่าวจะนำมาใช้กับค้าปลีกอะไร ถ้าใช้กับสินค้าที่เป็นค้าปลีกในประเทศ คือ สินค้าที่เราต้องกินอยู่ทุกวัน จะได้ประโยชน์กับหุ้น CPALL CPAXT CRC และจะได้รับประโยชน์ในการกระตุ้น GDP ให้เพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มค้าปลีกที่จะได้รับประโยชน์เช่น GLOBAL DOHOME HMPRO แต่ถ้าหากมีการระบุว่า ใช้ได้กับมือถือ หุ้นที่ได้ประโยชน์ COM7 SYNEX แต่ผล กับ GDP จะลดน้อยลง เนื่องจากว่า มือถือส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า เม็ดเงินที่ได้จะเข้ามากระตุ้นในประเทศน้อยกว่ากับกลุ่มค้าปลีกที่เป็นของกิน”

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวค่อนข้างมาอย่างแน่นอน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าจะสามารถใช้กับอะไรได้บ้าง ในระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งหากเป็นผู้บริโภคต่างจังหวัด ในระยะทางดังกล่าวต้องมาคำนึงว่าจะสามารถใช้ได้กับอะไรได้ เนื่องจากพื้นที่ได้ต่างจังหวัดไมได้เหมือนกับในเมืองอย่างกทม. หากจะเน้นเป็นหุ้นกลุ่มที่จะสามารถได้ประโยชน์มากที่สุด คือหุ้น CPALL ที่สามารถครอบคลุมได้เกือบทุกพื้นที่ แม้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการออกมาอย่างชัดเจนว่าจะสามารถใช้กับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นได้หรือไม่ ขณะเดียวกับหุ้น CPAXT ค้าส่งที่ก็น่าจะได้รับประโยชน์เช่นกัน 

ณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ต้องยอมรับว่าหุ้นหลาย ๆ กลุ่มในตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเกือบจะทุกกลุ่มกับการรับข่าวตั้งแต่พรรคเพื่อไทยจะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลได้กันไปหมดแล้ว ในทางกลับกันนโยบายเพื่อไทยที่ยังไม่เคยพูดถึง และเพิ่งจะมาพูดกับเรื่องการปรับลดราคาพลังงาน กลับกลายมาเป็นข่าวร้ายซ้ำเติมตลาดหุ้นไทยลงไปอีกรอบ ส่งผลให้ผู้ประกอบการฟากน้ำมัน หรือโรงไฟฟ้า จะถูกบีบแคบในส่วนของมาร์จิ้นลงมาด้วย ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนในช่วง 3 - 4 วันที่ผ่านมา 

อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการใหญ่ที่พรรคเพื่อไทยจะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปีหน้า (2567) อย่างเช่น เงินดิจิทัล 10,000 บาท เพราะยังคงต้องเข้าไปดูในเรื่องของกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ส่งผลให้ปีนี้คาดว่าจะยังไม่สามารถทำได้ 

โดยกลยุทธที่บริษัทฯ มองไว้ว่า หากจะต้องลงทุนเพื่อเล่นบนความคาดหวังของเศรษฐกิจ อาจจะต้องลองหากลุ่มที่ Laggard ตลาดมาก ๆ เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน ขณะที่กลุ่มค้าปลีก หรือไฟแนนซ์มีการปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างแรง นักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนอาจจะต้องรอจังหวะย่อตัวลงมา หรืออาจจะเข้าไปลงทุนในกลุ่มที่เป็น Domestic Play อย่างกลุ่มมีเดีย หากสมมุติว่า มีนโยบายเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายของภาครัฐมาจริงจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคได้ เพราะฉะนั้นการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาจะมีการกระเตื้องขึ้นมาได้บ้าง และปัจจุบันราคาของหุ้นกลุ่มนี้ก็ยังไม่ได้ปรับขึ้นแรงมากนัก จึงมองว่า อาจจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่จะสามารถเข้าไปลงทุนได้ในขณะนี้

ทั้งนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้คัด 12 หุ้นค้าปลีก ที่มีแนวโน้มสูงที่จะขยับราคาขึ้น บวกกับบางหลักทรัพย์ยังมีอัพไซด์เหลืออื้อ

1.บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) BJC

  • มาร์เก็ตแคป 133,259.24 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 42.43 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 33.25 บาท 
  • Upside 27.61%

2.บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) CRC 

  • มาร์เก็ตแคป 241,240.00 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 49.87 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 40.25 บาท 
  • Upside 23.90%

3.บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) HMPRO

  • มาร์เก็ตแคป 177,541.17 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 16.80 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 13.60 บาท 
  • Upside 23.53%

4.บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) COM7

  • มาร์เก็ตแคป 77,999.94 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 37.69 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 32.25 บาท 
  • Upside 16.87%

5.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) CPALL

  • มาร์เก็ตแคป 579,410.04 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 74.25 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 64.00 บาท 
  • Upside 16.02%

6.บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) CPAXT

  • มาร์เก็ตแคป 370,311.32 ล้านบาท 
  • ราคาเป้าหมายที่ 38.92 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 34.75 บาท 
  • Upside 12.00%

7.บริษัท คอปเปอร์ ไวร์ด จำกัด (มหาชน) CPW

  • มาร์เก็ตแคป 1,860.00 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 3.16 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 3.14 บาท 
  • Upside 0.64%

8.บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) ILM

  • มาร์เก็ตแคป 11,766.50 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 23.15 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 23.10 บาท 
  • Upside 0.22%

9.บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) JMART

  • มาร์เก็ตแคป 33,815.47ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 24.00 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 24.00 บาท 
  • Upside -%

10.บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) SYNEX

  • มาร์เก็ตแคป 11,269.90 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 12.91 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 13.60 บาท 
  • Downside 5.07%

11.บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) DOHOME

  • มาร์เก็ตแคป 34,598.28 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 10.28 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 11.30 บาท 
  • Downside 9.02%

12.บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) GLOBAL

  • มาร์เก็ตแคป 91,532.99 ล้านบาท
  • ราคาเป้าหมายที่ 18.33 บาท 
  • ราคา ณ 5 ก.ย.ปิดที่ 18.50 บาท 
  • Downside 0.92%

12 หุ้นค้าปลีก อัพไซด์เหลืออื้อ รับรัฐบาล ‘เศรษฐา’ กระตุ้นเศรษฐกิจ