สำรวจ 7 หุ้นโรงกลั่น อานิสงส์ค่าการกลั่นในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

สำรวจ 7 หุ้นโรงกลั่น อานิสงส์ค่าการกลั่นในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

ค่าการกลั่น หรือ GRM ในตลาดปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หุ้นโรงกลั่น รับอานิสงส์ หุ้น TOP ผลตอบแทนราคา 5 วัน +4.23% และผลตอบแทนราคา 20 วัน +12.57%

หุ้นโรงกลั่น กำลังเป็นที่จับตาจากนักลงทุนในขณะนี้ หลังจากที่ค่าการกลั่น  (gross refining margin หรือ GRM) ในตลาดปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือน มี.ค.66 ที่ผ่านมา และผลตอบแทนด้านราคา ได้ปรับตัวผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงไตรมาส 2/66 ที่กำลังจะประกาศงบออกมา ซึ่งน่าจะทำให้  Earnings momentum ต่อจากนี้เป็นบวกต่อเนื่องได้ 

ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจว่า ค่าโรงกลั่นมีการปรับตัวขึ้นจาก บวกกับการคาดหวังของเศรษฐกิจจีน และน้ำมันมีการไต่ระดับขึ้นมา และจะใกล้เข้าสู่ฤดูพายุมรสุมเฮอลิเคนของสหรัฐฯ 

แม้ในไตรมาส 2/66 หุ้นในกลุ่มโรงกลั่นงบส่วนใหญ่จะออกมาขาดทุน แต่หุ้น TOP มีกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้นมา TOP ช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือจะไม่มีการปิดซ่อมโรงกลั่น เหมือน IRPC จะมีการปรับซ่อมโรงกลั่น ทั้งนี้นักลงทุนสามารถเข้าซื้อได้หลังจากที่มีการประกาศผลประกอบการแล้ว 

กรรณ์ หทัยศรัทธา นักกลยุทธ์ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน สายงานวิจัย บล.ซีจีเอส ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้ว่าจะคาดการณ์ว่า งบไตรมาส 2/66 จะออกมาไม่ดีขาดทุนหลายหลักทรัพย์ เนื่องจากค่าการกลั่นไตรมาส 2 ลงมาประมาณ 50% QoQ  รวมถึงน้ำมันไม่มีการปรับขึ้นเป็นไซด์เวย์ 

อย่างไรก็ตาม ต้องเลือกเล่น Outlook ในไตรมาส 3/66 ซึ่งคาดว่าจะดีขึ้น ค่าการกลั่นจะมีการฟื้นตัวจากไตรมาส 2/66 จากฤดูขับขี่ของคนสหรัฐฯ รวมถึงมาตรการกระตุ้นของจีนได้เข้ามาสนับสนุนค่าการกลั่น หุ้นที่แนะนำเป็น SPRC ควรเข้าซื้อบริเวณ 8.00 บาท Valuation ถูกกว่าโรงกลั่นอื่นในเอเชีย และถ้าการกลั่นฟื้นขึ้นมาจริง SPRC จะได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเป็นโรงกลั่นล้วน ขณะที่บางบริษัทยังมีโรงกลั่น และมีปิโตรเคมีรวมอยู่ด้วย

“กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจ 7 หุ้นโรงกลั่น ตั้งแต่ต้นปี และช่วง 5 วันที่ผ่านมาหุ้นหลักทรัพย์ใดบ้างที่มีการขยับเพิ่มขึ้น 

สำรวจ 7 หุ้นโรงกลั่น อานิสงส์ค่าการกลั่นในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

1.บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) 

  • มาร์เก็ตแคป 189,491.13 ล้านบาท (26 ก.ค.66)
  • ผลตอบแทนราคา YTD -17.18% 
  • ผลตอบแทนราคา 5 วัน -%
  • ผลตอบแทนราคา 20 วัน +0.75%
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน 4.74% 
  • P/E Ratio  10.55 เท่า
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 46.25 / 31.00 บาท 

2.บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล  (PTTGC) 

  • มาร์เก็ตแคป 173,590.69 ล้านบาท (26 ก.ค.66)
  • ผลตอบแทนราคา YTD -18.52% 
  • ผลตอบแทนราคา 5 วัน -1.28%
  • ผลตอบแทนราคา 20 วัน +4.76%
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน 2.60% 
  • P/E Ratio - เท่า
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 52.50 / 34.75 บาท 

3.บมจ.ไทยออยล์ (TOP) 

  • มาร์เก็ตแคป 110,016.40 ล้านบาท (26 ก.ค.66)
  • ผลตอบแทนราคา YTD -12.44% 
  • ผลตอบแทนราคา 5 วัน +4.23%
  • ผลตอบแทนราคา 20 วัน +12.57%
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน 7.51% 
  • P/E Ratio 3.66 เท่า
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 63.25 / 42.25 บาท 

4.บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) 

  • มาร์เก็ตแคป 52,323.08 ล้านบาท (26 ก.ค.66)
  • ผลตอบแทนราคา YTD +20.63% 
  • ผลตอบแทนราคา 5 วัน -1.30%
  • ผลตอบแทนราคา 20 วัน +10.14%
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน 5.86% 
  • P/E Ratio 4.77 เท่า
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 39.00 / 28.50 บาท 

5.บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) 

  • มาร์เก็ตแคป 47,407.85 ล้านบาท (26 ก.ค.66)
  • ผลตอบแทนราคา YTD -23.18% 
  • ผลตอบแทนราคา 5 วัน -1.69%
  • ผลตอบแทนราคา 20 วัน +3.57%
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน 3.02% 
  • P/E Ratio - เท่า
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 3.56 / 2.16 บาท 

6.บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) 

  • มาร์เก็ตแคป 35,987.99 ล้านบาท (26 ก.ค.66)
  • ผลตอบแทนราคา YTD -22.43% 
  • ผลตอบแทนราคา 5 วัน +1.22%
  • ผลตอบแทนราคา 20 วัน +1.84%
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน 13.37% 
  • P/E Ratio 9.97 เท่า
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 13.50 / 7.60 บาท 

7.บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) (ESSO) 

  • มาร์เก็ตแคป 32,185.98 ล้านบาท (26 ก.ค.66)
  • ผลตอบแทนราคา YTD -26.19% 
  • ผลตอบแทนราคา 5 วัน -%
  • ผลตอบแทนราคา 20 วัน +5.68%
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน 8.60% 
  • P/E Ratio 7.26 เท่า
  • ราคาสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ 15.00 / 8.15 บาท