สำรวจ 11 หุ้นกลุ่มแบงก์ ‘โบรก’ คาดผลงานไม่เวิร์ค ครึ่งปี 66 ใครปัง - แป๊ก 

สำรวจ 11 หุ้นกลุ่มแบงก์ ‘โบรก’ คาดผลงานไม่เวิร์ค ครึ่งปี 66 ใครปัง - แป๊ก 

หุ้นกลุ่มแบงก์ 11 หุ้น ครึ่งปีผ่านไปมี 5 ตัว ผลงานเป็นบวก และ 6 ตัวผลงานเป็นลบ TCAP บวกมากสุด 15.12% ด้าน KKP ลบมากสุด 20.20%

หุ้นกลุ่มธนาคารที่ถือว่า เป็นอีกหนึ่งกลุ่มยอดนิยมของนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย ที่ในช่วงไตรมาส 2/66 นักวิเคราะห์ได้ออกมาประเมินว่า มีการชะลอตัวลงจากไตรมาส 1/66 จากการปรับตัวลดลงของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน กรณีหุ้น STARK ตั้งแต่เกิดปัญหาขึ้น ส่งผลให้หลายธนาคารเริ่มเคร่งครัดต่อการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นด้วย     

กิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจว่า ภาพรวมไตรมาส 2/66 ของกลุ่มธนาคารมีกำไรลดลงประมาณ 6% QoQ แต่มีการเติบโตขึ้น 8% YoY สาเหตุที่ปรับลดลงมาจากรายได้ที่ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยที่จะชะลอตัวลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/66 ที่เป็นช่วงไฮซีซั่นของกลุ่มธนาคาร แต่สาเหตุที่สามารถโต YoY ได้มาจากการตั้งสำรองที่มีการปรับตัวลดลง 

ทั้งนี้ ธนาคารเกือบทุกแห่งในไตรมาส 2/66 มีการชะลอ QoQ หมดเลย มากบ้างน้อยบ้าง แต่ถ้าไปดู YoY การเติบโตในระดับค่อนข้างสูงหรืออยู่ในระดับดีจะเป็นกลุ่มในธนาคารใหญ่ อย่าง BBL ที่ 21% SCB 18.1%  KBANK 18.2% และ TTB 15.4%  

และถ้าไปดูกำไรก่อนตั้งสำรองจะเห็นว่า BBL โต 16% ส่วน SCB โต 12.7% ซึ่งมองว่า BBL ได้มีการสะท้อนปัจจัยบวกไปพอสมควรแล้ว ในขณะที่ SCB ช่วงที่ผ่านมา ค่อนข้างที่จะ Underperform ตลาด และยังไม่ได้สะท้อนปัจจัยบวกในด้านการฟื้นตัวของผลประกอบการ จึงมองว่า SCB เป็น Top Picks โดยราคาเหมาะสมอยู่ที่ 138 บาท 

ส่วนกรณีหุ้น STARK ตั้งแต่เกิดปัญหาขึ้น ก่อนหน้านี้ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้มีการตั้งสำรองไว้แล้วถึง 90% เพราะช่วงแย่ที่สุดของหุ้น STARK น่าจะผ่านมาแล้วช่วงไตรมาส 1/66 ในขณะที่ผลขาดทุนจาก บลจ.ที่เข้าไปลงทุนในหุ้น STARK ก็ไม่ได้กระทบกับธนาคาร ส่วนผู้ที่ได้รับกระทบจะเป็นเจ้าของเงินลงทุน หรือนักลงทุนทั่วไป เพราะฉะนั้นไม่ได้รับผลกระทบต่อกลุ่มธนาคารโดยตรง 

กรรณ์ หทัยศรัทธา นักกลยุทธ์ ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้งบในไตรมาส 2/66 ของกลุ่มแบงก์ยังถือว่าไปได้ หลังจากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับขึ้นมาจากธปท. อาจจะส่งผลกระทบต่อค่าธรรมเนียม หรือค่าฟีปรับลดลงมาแต่คาดว่าไม่มาก 

ขณะเดียวกัน กรณีประเด็นหุ้น STARK เริ่มมีการตั้งคำถามว่า SCB และ KBANK ตั้งสำรองพอแล้วหรือยัง และกังวลว่า หากมี STARK ตัวที่ 2 ในกรณีคล้ายกัน หรือเหมือนกัน ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง จึงเริ่มรัดเข็มขัดในการปล่อยสินเชื่อลง ฉะนั้นแล้วในไตรมาส 2/66 อาจจะเริ่มเห็นธนาคารพาณิชย์ออกการตั้งสำรองในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นการรัดเข็มขัด

อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มธนาคารยังคงมีความชื่นชอบ BBL เนื่องจากเป็นแบงก์ที่มีการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีสุด

“กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจหุ้นกลุ่มแบงก์ 11 หุ้นครึ่งปีผ่านไปมี 5 ตัวผลงานเป็นบวก และ 6 ตัวผลงานเป็นลบ

สำรวจ 11 หุ้นกลุ่มแบงก์ ‘โบรก’ คาดผลงานไม่เวิร์ค ครึ่งปี 66 ใครปัง - แป๊ก 

1.บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP

  • มาร์เก็ตแคป 51,905.89 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 43.00 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 49.50 บาท
  • เปลี่ยนแปลงบวก 6.50 บาท หรือ +15.12%
  • P/E 9.01 เท่า

2.ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB

  • มาร์เก็ตแคป 149,037.59 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 1.41 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 1.57 บาท
  • เปลี่ยนแปลงบวก 0.16 บาท หรือ +11.35%
  • P/E 9.74 เท่า

3.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB

  • มาร์เก็ตแคป 271,135.59 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 17.80 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 19.40 บาท
  • เปลี่ยนแปลงบวก 1.60 บาท หรือ +8.99%
  • P/E 7.75 เท่า

4.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL

  • มาร์เก็ตแคป 304,460.44 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 151.00 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 159.50 บาท
  • เปลี่ยนแปลงบวก 8.50 บาท หรือ +5.63%
  • P/E 9.42 เท่า

5.บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB

  • มาร์เก็ตแคป 361,964.03 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 107.00 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 107.50 บาท
  • เปลี่ยนแปลงบวก 0.50 บาท หรือ +0.47%
  • P/E 9.44 เท่า

6.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY

  • มาร์เก็ตแคป 226,189.67 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 31.25 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 30.75 บาท
  • เปลี่ยนแปลงลดลง 0.50 บาท หรือ -1.60%
  • P/E 7.07 เท่า

7.บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO

  • มาร์เก็ตแคป 77,462.46 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 99.50 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 96.75 บาท
  • เปลี่ยนแปลงลดลง 2.75 บาท หรือ -2.76%
  • P/E 10.73 เท่า

8.ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT

  • มาร์เก็ตแคป 26,464.92 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 0.84 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 0.76 บาท
  • เปลี่ยนแปลงลดลง 0.08 บาท หรือ -9.52%
  • P/E 9.88 เท่า

9.บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG

  • มาร์เก็ตแคป 23,302.03 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 1.24 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 1.10 บาท
  • เปลี่ยนแปลงลดลง 0.14 บาท หรือ -11.29%
  • P/E 13.42 เท่า

10.ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK

  • มาร์เก็ตแคป 311,566.58 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 149.00 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 131.50 บาท
  • เปลี่ยนแปลงลดลง 17.50 บาท หรือ -11.74%
  • P/E 8.83 เท่า

11.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP

  • มาร์เก็ตแคป 51,016.75 ล้านบาท 
  • ราคาย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (3 ม.ค.66) ที่ 75.50 บาท 
  • ราคา ณ 3 ก.ค.66 ปิดที่ 60.25 บาท
  • เปลี่ยนแปลงลดลง 15.25 บาท หรือ -20.20%
  • P/E 6.68 เท่า