'หุ้นไทย'วันนี้(12 พ.ค.)แกว่งตัว 1,560 - 1,580 จุด กังวลกลุ่มธนาคารของสหรัฐ

'หุ้นไทย'วันนี้(12 พ.ค.)แกว่งตัว 1,560 - 1,580 จุด กังวลกลุ่มธนาคารของสหรัฐ

โบรกคาด "หุ้นไทย" วันนี้ (12 พ.ค.2566) แกว่งตัว 1,560 - 1,580 จุด ความไม่แน่นอนปัญหาเพดานหนี้สหรัฐ, ความกังวลสถานการณ์กลุ่มธนาคารของสหรัฐ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงตามตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนและสหรัฐจะกดดันให้ดัชนีผันผวน

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี ประเมินดัชนี "หุ้นไทย" วันนี้ (12 พ.ค.2566) แกว่งตัว 1,560 - 1,580 จุด แม้ภาวะตลาดจะได้แรงหนุนจากหุ้นรายตัว ได้แก่ กลุ่ม Domestic play ธีมการเลือกตั้งไทย , หุ้นงบ 1Q23 เติบโต และหุ้นเข้าคำนวณ MSCI รอบใหม่ อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนปัญหาเพดานหนี้สหรัฐ, ความกังวลสถานการณ์กลุ่มธนาคารของสหรัฐ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงตามตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนและสหรัฐจะกดดันให้ดัชนีผันผวน 

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ : 

  • หุ้นที่ได้เข้าคำนวณ MSCI รอบใหม่ Global Standard ( MAKRO ) Global Small Cap ( JMT, TIDLOR, SAPPE, SISB,TU )
  • BBL KTB TTB KBANK SCB แนวโน้มกำไร 2Q23 ยังคงเติบโต
  • AMATA WHA ROJNA CPALL GLOBAL DOHOME STEC CK SIRI SC PR9 หุ้นธีมการเลือกตั้งไทย 

ประเด็นสำคัญวันนี้ที่ต้องติดตาม 

(+) กลุ่มค้าปลีก- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี: วานนี้ ม.หอการค้าฯ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นแตะระดับ 55 จาก 53.5 ในเดือน มี.ค. นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี 2 เดือน ถือเป็น Sentiment บวกโดยตรงต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีกเนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กล้าจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นเป็นบวกต่อยอดขายของผู้ประกอบการ อาทิ CPALL MAKRO CRC GLOBAL DOHOME 

(-) กลุ่มน้ำมัน- น้ำมันดิบลดลงกดดัน Sentiment ในช่วงสั้น: ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.69 ดอลลาร์ (-2.3%) ปิดที่ 70.87 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 นักลงทุนยังกังวลกับดีมานด์ที่ชะลอตัวโดยเฉพาะหากสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ และยังถูกกดดันจากความกังวลเดิมที่สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินคาด รวมไปถึงตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนที่ลดลง

(+/-) ติดตามการเจรจาแก้ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐ, IMF เตือนอาจกระทบ ศก.โลก: ปธน. โจ ไบเดน และ ประธานสภาผู้แทนฯ จะนัดหารือกันเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเพดานหนี้ของสหรัฐกันอีกครั้งในวันนี้ ซึ่ง ก.การคลังสหรัฐเร่งให้สภาฯ ผ่านการเพิ่มเพดานหนี้ให้ได้โดยเร็วก่อนที่สหรัฐอาจผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 23 ขณะที่ IMF เตือนปัญหาดังกล่าวอาจะสร้างความผันผวนให้ ศก. และระบบการเงินของโลก