มาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ตลท. สรุป 3 กรณี บจ.ไม่ส่งงบตามกำหนด จะเป็นเช่นไร?

มาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ตลท. สรุป 3 กรณี บจ.ไม่ส่งงบตามกำหนด จะเป็นเช่นไร?

ตลท. สรุป 3 กรณี ให้เข้าใจง่ายๆ บจ. ไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด จะเป็นอย่างไรบ้าง ? เมื่องบลงทุนถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน

               ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เผยแพร่ Infographic เรื่อง สรุปให้! บจ. ไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด จะเป็นอย่างไรได้บ้าง ?” โดยงบการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ลงทุนใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยมีข้อมูลทั้งเหตุการณ์สำคัญ ผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินในอดีตของกิจการ นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถนำมาคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคตของกิจการได้ด้วย

เมื่อบริษัทจดทะเบียนไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการดำเนินการอย่างไร และบริษัทจดทะเบียนต้องแก้ไขอย่างไร สามารถสรุปออกมาได้ 3 กรณี

มาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ตลท. สรุป 3 กรณี บจ.ไม่ส่งงบตามกำหนด จะเป็นเช่นไร?

1. ในกรณีส่งงบแล้ว และผู้สอบบัญชีรับรอง ทางตลาดหลักทรัพย์ฯจะขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อพักการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่บริษัทจดทะเบียนนั้นๆไม่ส่งงบตามกำหนด จนถึงวันที่ส่งงบ และผู้สอบฯรับรอง และหลังจากส่งงบที่มีผู้สอบฯรับรองแล้ว จะให้กลับมาเปิดซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติ

2. กรณีส่งงบแล้ว แต่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความคิดเห็น (หากผู้สอบฯไม่ได้รับความร่วมมือจากบริษัทในการตรวจสอบ จะขึ้นเครื่องหมาย C ให้ซื้อด้วย Cash Balance) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมาย SP ตั้งแต่วันที่บริษัทจดทะเบียนไม่ส่งงบตามกำหนด และเมื่อบริษัทส่งงบตามกำหนดแล้ว แต่ผู้สอบฯไม่แสดงความคิดเห็น จะขึ้นเครื่องหมาย SP ต่อ 1 วัน เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาศึกษาข้อมูล และหลังจากนั้นจะเปิดให้ซื้อขาย แต่จะขึ้นเครื่องหมาย NP ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่บอกว่ายังมีข้อมูลที่ต้องรายงาน และตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากบริษัท ซึ่งจะขึ้นเครื่องหมาย NP จนกว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะแจ้งว่าไม่ต้องแก้ไขข้อมูล

3. กรณีส่งงบแล้ว แต่ผู้สอบบัญชีระบุงบไม่ถูกต้อง ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP หยุดพักการซื้อขายชั่วคราว ตั้งแต่บริษัทจดทะเบียนไม่ส่งงบตามกำหนด แต่เมื่อส่งงบแล้ว ผู้สอบฯระบุว่างบไม่ถูกต้องก็ยังคงให้หยุดพักการซื้อขายชั่วคราวต่อ และเมื่อขึ้นเครื่องหมาย SP ครบ 6 เดือน จะถูกเข้าข่ายหลักทรัพย์ที่อาจถูกเพิกถอน และใช้เวลา 3 ปี ในการแก้ไข โดยขึ้นเครื่องหมาย SP พักการซื้อขายชั่วคราวต่อ และเครื่องหมาย NC ที่แสดงว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการเปิดซื้อขายชั่วคราว และเมื่อครบระยะเวลา 3 ปี หากบริษัทจดทะเบียนแก้ไขงบได้ตามคุณสมบัติอย่างครบถ้วน จะให้กลับมาซื้อขาย 

ทั้งนี้หลักทรัพย์ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ครบ 3 เดือน จะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนซื้อขาย 1 เดือน ด้วย Cash Balance