เปิดพอร์ต ‘การไฟฟ้า’ ลงทุนผ่าน 8 หลักทรัพย์ รวมมูลค่ากว่า 9 หมื่นล้าน

เปิดพอร์ต ‘การไฟฟ้า’ ลงทุนผ่าน 8 หลักทรัพย์ รวมมูลค่ากว่า 9 หมื่นล้าน

“การไฟฟ้า” ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีทั้งเป็นลงทุนจากหน่วยงานหลัก เช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด หรือผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมมูลค่า 91,308 ล้านบาท   

ปัญหา “ค่าไฟแพง” กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ “การไฟฟ้า” ซึ่งแบ่งเป็น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงพลังงาน ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย และ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) รัฐวิสาหกิจ สังกัด กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีพื้นที่บริการ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

“กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจ องค์กร “การไฟฟ้า” ที่มีการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ฃึ่งมีทั้งเป็นลงทุนจากหน่วยงานหลัก เช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด หรือผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พบด้วยกัน 8 หลักทรัพย์ รวมมูลค่ากว่า 91,308 ล้านบาท   

เปิดพอร์ต ‘การไฟฟ้า’ ลงทุนผ่าน 8 หลักทรัพย์

เปิดพอร์ต ‘การไฟฟ้า’ ลงทุนผ่าน 8 หลักทรัพย์ รวมมูลค่ากว่า 9 หมื่นล้าน

1.บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 978,750,000 หุ้น หรือ 45.00% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 37.75 บาท มีมูลค่า 36,947.81 ล้านบาท  

 

  • สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 3 จำนวน 114,592,893 หุ้น หรือ 5.27% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 37.75 บาท มีมูลค่า 4,325.88 ล้านบาท

 

  • สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย จำกัด ( Alpha-1) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 9 จำนวน 11,953,700 หุ้น หรือ 0.55% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 37.75 บาท มีมูลค่า 451.25 ล้านบาท

 

  • สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด โดย บลจ.กสิกรไทย จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 10 จำนวน 9,530,609 หุ้น หรือ 0.44% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 37.75 บาท มีมูลค่า 359.78 ล้านบาท

 

2.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 133,773,662 หุ้น หรือ 25.41% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 156.00 บาท มีมูลค่า 20,868.69 ล้านบาท

 

  • สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 จำนวน 27,717,900 หุ้น หรือ 5.26% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 156.00 บาท มีมูลค่า 4,323.99 ล้านบาท

 

3.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT

  • สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 9 จำนวน 348,998,700 หุ้น หรือ 1.22% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 31.00 บาท มีมูลค่า 10,818.95 ล้านบาท 



4.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB

  • สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 จำนวน 418,620,500 หุ้น หรือ 3.00% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 18.00 บาท มีมูลค่า 7,535.16 ล้านบาท

 

5.กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGATIF

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 จำนวน 521,375,000 หุ้น หรือ 25.00% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 6.55 บาท มีมูลค่า 3,415.00 ล้านบาท 



6.บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR

  • สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 7 จำนวน 56,990,200 หุ้น หรือ 0.47% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 21.40 บาท มีมูลค่า 1,219.59 ล้านบาท

 

  • สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง จำกัด ถือหุ้นใหญ่อันดับ 10 จำนวน 26,047,800 หุ้น หรือ 0.22% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 21.40 บาท มีมูลค่า 557.42 ล้านบาท

 

7.บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือหุ้นใหญ่อันดับ 8 จำนวน 19,147,200 หุ้น หรือ 1.66% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 23.30 บาท มีมูลค่า 446.12 ล้านบาท  

 

8.บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ CHASE

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งจดทะเบียนแล้ว  ถือหุ้นใหญ่อันดับ 9 จำนวน 14,829,900 หุ้น หรือ 0.75% ราคาปิด ณ วันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ 2.54 บาท มีมูลค่า 37.66 ล้านบาท