เทียบฟอร์ม 4 หุ้น สื่อนอกบ้าน รับอานิสงส์ เลือกตั้งปี 66 

เทียบฟอร์ม 4 หุ้น สื่อนอกบ้าน รับอานิสงส์ เลือกตั้งปี 66 

ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านกลับมาคึกคักหลังจากที่มีการเลือกตั้งปี 66 ส่งผลให้ได้รับอานิสงส์ ในกิจกรรมการหาเสียงครั้งนี้

สนามเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 ถูกกำหนดวันแล้ว บรรดาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งต่างถูกคาดหมายว่าจะได้รับอานิสงส์จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการหาเสียง ซึ่งธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน  (Out Of Home หรือ OOH) ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าจับตาว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้เติบโตเป็นอย่างมาก  อีกทั้งหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลายไปในทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทำให้ผู้ประกอบการกลับมาใช้สื่อโฆษณานอกบ้านมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวสื่อโฆษณานอกบ้านก็ยังได้รับผลพลอยได้จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐต่าง ๆ อีกด้วย

เทียบฟอร์ม 4 หุ้น สื่อนอกบ้าน รับอานิสงส์ เลือกตั้งปี 66 

นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจว่า หุ้นสื่อนอกบ้านเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่คาดหวังว่า จะได้รับประโยชน์ในเชิงของเซนติเมนจากการเลือกตั้งในปีนี้ เนื่องจากจะเห็นมีการใช้สื่อโฆษณานอกบ้านกันมากขึ้นในการหาเสียง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนให้ผลประกอบการโดยรวมในปีนี้น่าจะฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การโปรโมทหาเสียงก็มีหลากหลายช่องทางให้เลือกมากขึ้น จากสมัยก่อนที่เป็นยุคของสื่อโทรทัศน์ และตามมาด้วยสื่อนอกบ้าน ขณะเดียวกันในปัจจุบันสื่อออนไลน์ก็ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เพิ่มเข้ามา ทางเลือกมากขึ้น 

นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการอาวุโส นักกลยุทธ์การลงทุน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า  หุ้นสื่อนอกบ้านได้รับการตอบรับในเชิงเซนติเมนจะเห็นเม็ดเงินโฆษณานี้เข้ามาเพิ่มเติม  เพราะถ้าย้อนกลับไปในอดีตกลุ่มมีเดียมักจะปรับตัวขึ้นก่อน ปัจจุบันเม็ดเงินพยายามไหลเข้ามา เพราะเป็นสื่อหนึ่งที่ค่อนข้างเห็นชัด

สำหรับสื่อธุรกิจนอกบ้านที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บจ.) มีด้วยกัน 4 บริษัท 

1.บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI มีมาร์เก็ตแคป 43,882.51 ล้านบาท (ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 21 มี.ค.66) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 

ปัจจุบันนายเนลสัน เหลียง เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ โดยรายได้ช่วง 9 เดือน ปี 2565 อยู่ที่ 4,466.86 ล้านบาท กำไรสุทธิ 195.37 ล้านบาท สำหรับสื่อโฆษณาของ VGI มี ภาพนิ่งมากกว่า 37,000 ป้าย สื่อดิจิทัลบนรถไฟฟ้าและบนสถานีกว่า 2,100 จอ สื่อในอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดภายใต้การจัดการรวมทั้งสิ้น 195 อาคารในเขตกรุงเทพฯ รวมถึงจอภาพภายในลิฟต์จำนวน 1,511 จอ ขณะที่สื่อโฆษณาในอาคารสำนักงานและอาคารที่พักอาศัย ครอบคลุมอาคารทั้งสิ้้น 492 อาคาร และมีจอภาพมากถึง 2,211 จอภาพ

 

2.บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANB มีมาร์เก็ตแคป 38,086.16 ล้านบาท มีนาย ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1

ปัจจุบันนายพินิจสรณ์  ลือชัยขจรพันธ์ เป็น กรรมการผู้จัดการ โดยผลประกอบการปี 2565 มีกำไรสุทธิ 

703.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ 64.04 ล้านบาท เติบโตกว่า 998.0% ขณะที่ รายได้รวม 6,706.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,607.41 ล้านบาท ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีการปรับตัวอย่างก้าวกระโดดประกอบกับเม็ดเงินสื่อโฆษณากลางแจ้งและระบบขนส่งมวลชนที่มีอัตราการเติบโตกว่า 47.0% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลเชิงบวกโดยตรงต่อผลการดำเนินงานของบริษัทได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด (V-Shaped) เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า

ทั้งนี้ PLANB มีสื่อโฆษณาภายนอกและภายในรถโดยสารประจำทางปรับอากาศจานวนกว่า 2,500 คัน สื่อโฆษณาในระบบรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) กว่า 10 สถานี สื่อป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ จานวนทั้งหมด 2,707 ป้าย สื่อดิจิทัลในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง (Smart bus shelter) 700 ศาลา โดยมีสื่อโฆษณาประเภทภาพนิ่งหน้าศาลาจำนวน 1,170 ป้าย รวมถึงติดตั้งสื่อโฆษณาในสถานที่สาคัญต่างๆ เช่น ศูนย์กลางย่านธุรกิจของกรุงเทพ (CBD) ห้างสรรพสินค้าชั้นนา บริเวณพื้นที่เศรษฐกิจหรือบริเวณที่มีการจราจรและประชากรหนาแน่น และขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมไปยัง 58 จังหวัดทั่วประเทศ ทาให้เกิดเครือข่ายพื้นที่ สื่อโฆษณาดิจิทัลครอบคลุมกว่า 15,399 จอ รวมถึงจอดิจิทัลในร้านสะดวกซื้อโดยเพิ่มพื้นที่สื่อโฆษณาภายใน 7-Eleven จานวนกว่า 1,929 สาขา และสื่อโฆษณา ณ สนามบินครอบคลุมทั่วประเทศจานวนทั้งหมดกว่า 23 สนามบิน โดยมีป้ายโฆษณาจานวน 752 ป้าย


3.บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR มีมาร์เก็ตแคป 15,030.41 ล้านบาท มีนาย วิชา พูลวรลักษณ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1

ปัจจุบันนายวิชา พูลวรลักษณ์ เป็นประธานกรรมการบริหาร โดยผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ปี 2565 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 252 ล้านบาท ลดลงจากปี 2564 ราว 1,329 ล้านบาท หรือคิดเป็น 84%ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลง จาก 1.77 บาท/หุ้น เป็น 0.28 บาท/หุ้น โดยช่วงเดียวกันของปีก่อนบริษัทรับรู้กำไรจากการขายหน่วยลงทุนใน บมจ.สยามฟิวเจอร์ หรือ SF จำนวน 3,163 ล้านบาท

ด้านรายได้บริษัท มีรายได้จากการขายและบริการปี 2565 เท่ากับ 6,388 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 3,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,379 ล้านบาท คิดเป็น 112%

ทั้งนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์, สื่อในอาคาร และสื่อนอกอาคาร ที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทุกสาขาในต่างจังหวัดและสาขาใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งปี 2566 จะขยายสาขาโรงภาพยนตร์มากที่สุดถึง 13 สาขา 49 โรง ด้วยงบลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท และ เปิดสาขาสแตนด์อโลนที่ภูเก็ต ตลอดจน ขยายสาขาโบว์ลิ่ง เพิ่มอีก 3 สาขา 40 เลน และ คาราโอเกะ 30 ห้อง

ปัจจุบัน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีสาขาโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้บริการ ณ สิ้นปี 2565 รวมทั้งสิ้น 180 สาขา 839 โรง 188,973 ที่นั่ง ในประเทศ 172 สาขา 800 โรง 180,081 ที่นั่ง ได้แก่ สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 44 สาขา 346 โรง 77,605 ที่นั่ง และสาขาในต่างจังหวัด 128 สาขา 454 โรง 102,919 ที่นั่ง

ส่วนในต่างประเทศ 8 สาขา 39 โรง 8,449 ที่นั่ง ได้แก่ สาขาในประเทศลาว 3 สาขา 13 โรง 3,235 ที่นั่งและ สาขาในประเทศกัมพูชา 5 สาขา 26 โรง 5,368 ที่นั่ง ขณะที่ สาขาโบว์ลิ่ง บลูโอ ริธึม แอนด์ โบว์ล เปิดให้บริการ 8 สาขา 210 เลน, คาราโอเกะ 121 ห้อง, ห้องแพลตตินั่ม 9 ห้อง

 

4.บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) หรือ MACO มีมาร์เก็ตแคป 4,383.70 ล้านบาท มีบริษัท วี จี ไอ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1

ปัจจุบันนางสาวธมนวรรณ นรินทวานิช เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (รักษาการ) โดยรายได้ช่วง 9 เดือน ปี 2565 อยู่ที่ 1,934.32 ล้านบาท กำไรสุทธิ 228.09 ล้านบาท ซึ่งมีธุรกิจหล้ก 7 ธุรกิจได้แก่ (1) สื่อโฆษณาบนระบบขนส่งมวลชน (2) สื่อโฆษณาภาพนิ่ง (3) สื่อโฆษณาดิจิท้ล (4) สื่อโฆษณาภายในห้างสรรพสินค้า (Retail Media) (5) สื่อโฆษณาภายในสนามบิน (6) สื่อโฆษณาออนไลน์ และ (7) การตลาดแบบมีส่วนร่วม