ข้อถกเถียงการทำ ‘Bailout’ สหรัฐ - ทำไม ‘SVB’ จึงเป็นการ ‘Bailout’ อย่างแท้จริง

ข้อถกเถียงการทำ ‘Bailout’ สหรัฐ - ทำไม ‘SVB’ จึงเป็นการ ‘Bailout’ อย่างแท้จริง

การทำ ‘Bailout’ คือ การที่รัฐบาลเข้าไปอุ้มบริษัทที่ประสบวิกฤติทางการเงินไว้ โดยเหตุผลหลักหนึ่งข้อเพราะต้องการช่วยเหลือประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งกรณีธนาคาร SVB ถือเป็นการทำ ‘Bailout’ อย่างแท้จริง เพราะหน่วยงานรัฐต้องการให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงิน

Key points

  • จากเหตุการณ์ปี 2008 และ 2023 มีสิ่งที่เหมือนกันคือ รัฐบาลสหรัฐต่างเข้าไปให้ความช่วยเหลือธนาคาร เพราะต้องการช่วยผู้ฝากเงินที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างวิกฤติ
  • ตั้งแต่วิกฤติปี 2008 เป็นต้นมา หุ้น Citigroup Inc และ American International Group Inc ร่วงลงไปมากกว่า 90% และไม่เคยกลับมาแตะจุดสูงสุดเดิมเลย
  • เหตุผลข้างต้นชี้ชัดว่าการทำ ‘Bailout’ เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชนบริสุทธิ์ไม่ใช่เพื่ออุ้มกิจการหรือผู้บริหาร
  • กรณี SVB ถือเป็นการทำ ‘Bailout’ อย่างแท้จริงเพราะ ลูกค้าได้รับการช่วยเหลือ และธนาคารรายเล็กอื่นๆ ก็ได้รับความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน

โจ ไวเซนธาล นักข่าวชาวอเมริกันจากบลูมเบิร์ก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่หน่วยงานกำกับดูแลสหรัฐเข้ามาอุ้ม SVB ผ่านบทความ ‘Why the US Backstop After SVB’s Failure Is a Bailout’ ว่า หลังจากธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB ปิดกิจการไม่นาน หน่วยงานกำกับดูแลสหรัฐก็เข้ามาให้ความคุ้มครองเงินฝากของประชาชนทันที ในขณะที่ผู้ถือหุ้น และทีมผู้บริหารไม่ได้อะไรทั้งสิ้น ซึ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปเรียกร้องให้เกิดขึ้นอยู่แล้ว

จากย่อหน้าข้างต้นก็มีกลิ่นอายของการตัดสินอย่างแน่วแน่ ‘บนข้อเท็จจริง’ ให้เห็น และการพูดคุยในประเด็นดังกล่าวไม่เพียงการถกเถียงเรื่องของการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับบริษัทที่ประสบวิกฤติทางการเงิน หรือ ‘Bailout’ แต่มันคล้ายกับว่าคุณเชื่อในระบบ ‘ทุนนิยม’ อย่างแท้จริง 

รวมทั้งคุณก็อาจไม่ต้องการให้เหตุการณ์เลวร้ายอย่างวิกฤตการณ์การเงินครั้งใหญ่ของโลก (the Great Financial Crisis) ในช่วงปี 2007-2008 ซ้ำรอยอีกครั้ง รวมทั้งพวกใช้นโยบาย ‘Troubled Asset Relief Program Funds’ หรือ TARP ที่ทางการสหรัฐเคยใช้เพื่อหยุดวิกฤติ Subprime เมื่อ 12 ปีก่อน 

การ Bailout ในอดีต

อย่างไรก็ดี ความแตกต่างระหว่างวิกฤติในครั้งนั้นกับครั้งนี้ไม่ได้ ‘แบ่งแยก’ กันชัดเจนเหมือนที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายประเมิน เพราะในปี 2008 รัฐบาลก็เข้ามา ‘อุ้ม’ เงินฝากของประชาชนเช่นเดียวกับกรณี SVB 

ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงนั้นรัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือ Citigroup Inc. ทว่าผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวก็ยังสูญเสียเงินในพอร์ตกว่า 98% จากการที่ประชาชนแห่เข้ามาถอนเงิน (Bank Run) และแม้ไม่ได้สูญเสียทั้ง 100% แต่ก็ทำให้เราเห็นชัดเจนว่าการ ‘Bailout’ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องกลุ่มผู้ถือหุ้น ซึ่งจนทุกวันนี้ราคาหุ้น Citigroup Inc. ก็ยังดิ่งลงมากกว่า 90%

ข้อถกเถียงการทำ ‘Bailout’ สหรัฐ - ทำไม ‘SVB’ จึงเป็นการ ‘Bailout’ อย่างแท้จริง เหตุการณ์คล้ายกันเกิดขึ้นกับบริษัท American International Group Inc หรือAIG เพียงแค่เปลี่ยนจากปกป้อง ‘ผู้ฝากเงิน’ เป็นปกป้อง ‘ผู้ถือกรมธรรม์’ เท่านั้นเอง

ข้อถกเถียงการทำ ‘Bailout’ สหรัฐ - ทำไม ‘SVB’ จึงเป็นการ ‘Bailout’ อย่างแท้จริง

ตอนนี้ประชาชนก็คงเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า AIG ได้รับช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ อย่างไรก็ตามกลับมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายหลังจากที่สำนักข่าวหลายแห่งนิยามกรณีของ AIG ว่าเป็นการ Bailout โดยในตอนนั้นไม่เพียงแต่หุ้นบริษัท เท่านั้นที่ร่วงลงอย่างร้อนแรง ทว่าคณะผู้บริหารระดับสูงหลายตำแหน่งก็ต้องออกจากหน้าที่ด้วย 

อย่างไรก็ตาม ภายใต้คำจำกัดความใหม่ที่ว่า “ถ้าการกระทำนั้นเป็นเพียงการปกป้องผู้ฝากเงินหรือผู้ถือกรมธรรม์ที่บริสุทธิ์” เราก็อาจจะไม่เรียกกรณี AIG ว่าเป็นการ Bailout 

อนึ่ง อาจไม่เป็นการกล่าวเกินจริงมากนักหากจะบอกว่า ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ลุกลามไปตลอดทั้งปี 2008 และ 2009 ธนาคารวอลล์สตรีทรายใหญ่หลายแห่งได้รับการ ‘อัดฉีดเงินสด’ เพื่อให้กิจการสามารถดําเนินการต่อไป และในช่วงนั้นก็มีความขุ่นเคือง / ความโกรธ / ความสับสน ที่ว่ากันว่าเป็นกลุ่มความรู้สึกที่ ‘เข้าใจได้’ ท่ามกลางคำถามที่ว่า “ทำไมหุ้นธนาคารวอลล์สตรีทเหล่านั้นไม่ร่วงลงไปบ้าง” หากตอบแบบผิวเผินอาจมองได้ว่า“ก็ใช่สิ หุ้นธนาคารอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการล่มสลายในวิกฤติ ก็ไม่ควรตกลงไปเฉียดศูนย์ดอลลาร์อยู่แล้ว แล้วทำไมผู้ถือหุ้นถึงจะไม่ได้รับบทลงโทษที่สาสมล่ะ?” แต่ทั้งหมดก็พูดง่ายกว่าทำจริง

ความคิดเห็นที่แตกต่างในเรื่องเงื่อนไขของการ Bailout

ปัญหาคือ เมื่อคุณกําหนดว่าการได้รับการสนับสนุนจากสาธารณะผ่านการ Bailout จำเป็นต้องมีเงื่อนไขว่าผู้ถือหุ้นจะถูกปลดจากตำแหน่ง และออกจากคณะผู้บริหารแล้ว สุดท้ายก็คงไม่มีธนาคารใดอยากได้ความช่วยเหลือพรรคนั้น แล้ววิธีการไหนล่ะที่จะเข้ามาหยุดวิกฤติแบงก์รัน ผู้เขียนเชื่อว่าในปี 2008 อาจมีวิธีที่ดีกว่าก็ได้ แต่พอเวลามันผ่านไปเกือบ15 ปีแล้ว หลายคนก็คงลืมไปแล้วว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นส่วนหนึ่งแต่ละหน่วยงานต่างต้องการ ‘ปกป้องลูกค้าผู้บริสุทธิ์’ เท่านั้น

แล้วมีอะไรต่อ? แม้ว่าคุณอยากจะให้นิยามใหม่กับ Bailout (คือมันไม่ใช่ Bailout หากทีมผู้บริหารไม่ได้รับการช่วยเหลือ) ดังนั้นผมมองว่าเหตุการณ์ของ SVB ในช่วงที่ผ่านมาก็เข้าเกณฑ์ และแน่นอน ราคาหุ้น SVB แทบจะดิ่งแตะศูนย์ดอลลาร์ แต่ในช่วงเช้าที่ผ่านมาก็ยังมีประธานกรรมการบริหาร (ซีอีโอ) ของธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ที่ยังอยู่ในตำแหน่งผู้ที่อาจต้องออกจากงานไปแล้วหากไม่ใช่เพื่อป้องกันบริษัทจากการล่มสลายของ SVB 

ถ้ามองในมุมของคนที่ไม่เห็นด้วย บางที SVB อาจไม่ได้รับการ Bailout ก็เป็นได้แต่แล้วด้วยเหตุผลสองประการคือ 

1. ลูกค้าของบริษัทได้รับการช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อย (เช่นเดียวกับลูกค้าของ Citiและ AIG) 

2. ธนาคารรายเล็กอื่นๆ ต่างก็ได้รับการช่วยเหลือเช่นเดียวกัน (ซีอีโอของธนาคารเหล่านั้นยังคงอยู่ในตำแหน่งและหุ้นก็ไม่ได้ดิ่งต่ำศูนย์)

ทั้งนี้ ก็ยังมีมุมมองในมิติอื่นอีก โดยหนึ่งคอลัมน์สั้นๆ ของ The Financial Times ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจาก VC Michael Moritz  เกี่ยวกับบทบาท SVB ในการส่งเสริมการเติบโตของ Silicon Valley โดยคอลัมน์นั้นระบุว่า คนทำงานในสายเทคโนโลยีจำนวนมากโพสต์ข้อความเกี่ยวกับบริการที่ SVB มอบให้ผู้ก่อตั้ง / สตาร์ตอัป / VCs ที่ธนาคารอื่นอาจไม่ให้บริการแน่นอน ดังนั้นสำหรับผู้ฝากเงินใน SVB ส่วนหนึ่งก็เพลิดเพลินกับการบริการของธนาคารแบบ ‘non-commodity’ ที่พวกเขาจะได้รับการอุดหนุนย้อนหลัง (in retrospect subsidized) โดยการค้ำประกันโดยนัย (implicit guarantee)  

จุดประสงค์ของการถกเถียง

สุดท้ายอะไรคือ ประเด็นของการถกเถียงเรื่อง ‘Bailout’ ในบทความนี้ ส่วนใหญ่เป็นนิยามที่แน่นอน (semantics) ของกระบวนการดังกล่าว แต่ปีเตอร์ คอนติ-บราวน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ the Wharton School of the University of Pennsylvaniaซึ่งเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การทำงานของธนาคารกลางสหรัฐ​ (เฟด) ให้ความเห็นว่า 

“ไม่มีความหมายในเชิงคอนเซปต์ให้กับคำว่า Bailout แต่สิ่งที่เรารู้เป็นภาพกว้างคือ คำๆ นี้ให้นัยในเชิงลบและหยามเหยียด  ทุกคนมองว่า Bailout คือ สิ่งไม่ดี ดังนั้นหลายคนก็คงอยากทำให้ประวัติศาสตร์มันชัดเจนมากขึ้น โดยเขียนให้แรงกระตุ้นเบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน บางครั้งก็มีรายละเอียดที่แตกต่าง มีขนาดความเสียหายที่ไม่เหมือนกัน หรือแม้กระทั่งคนละวิกฤติ แต่ทั้งหมดล้วนมีแรงจูงใจ มีเครื่องมือ และมีผลลัพธ์คล้ายกันในทุกเหตุการณ์”

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์