สัญญาณ "เก็งราคา" หุ้น KCE สะท้อนปี 2566 ประคองตัวหรือฟื้น

สัญญาณ "เก็งราคา" หุ้น KCE   สะท้อนปี 2566   ประคองตัวหรือฟื้น

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE แสดงให้เห็นการเก็งกำไรฟื้นตัวหลังเผชิญปัญหาตัวบริษัท และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2565 จนกระทบราคาหุ้นจากเกือบแตะออลไทม์ไฮใหม่ 88.50 บาท ลงมาลึกแถว 40.25 บาท เกิดขึ้นภายในปีเดียว

            ปี 2563 - 2564 ราคาหุ้น KCE ปรับตัวสูงถึง  112%  เปรียบเทียบกับดัชนีหุ้นไทยในช่วงเวลาเดียวกันปรับตัวขึ้น  60 จุด เพิ่มขึ้น  3.88% เรียกได้ว่าหุ้น KCE เป็นหุ้นที่ Outperform market  หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวม

            เมื่อตั้งแต่ต้นปี 2565 ราคาหุ้น KCE เปิดตลาดที่  88.50 สิ้นเดือน ม.ค. อยู่ที่ 71.75 บาท และเดือนก.พ. มีการปรับตัวลงมากที่สุดราคาหุ้นต่ำสุดที่ เพราะหลุดระดับ 70 บาท 60 บาท และล่าสุด  59 บาท(14 ก.พ.) เท่ากับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาราคาลดลงมาแล้วเกือบ 30 บาท

        ราคาหุ้นลงมาลึกในช่วงปลายปี  40.25 บาท (12 ต.ค.)  ท่ามกลางการปรับประมาณการกำไรลดลงต่อเนื่องตามมาด้วยการลดราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์   ตั้งแต่ตัวเลขกำไรช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์อยู่ที่ 700 กว่าล้านบาท แต่มีประเด็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงจนนำมาสู่กระแสข่าวบริษัทเผชิญปัญหาสายการผลิตที่โรงงานแห่งใหม่เขตลาดกระบัง กระทบการส่งสินค้าล่าช้า และค้างสต๊อก กระทบกำไรขั้นต้นลดลง อัตราของเสียเพิ่มขึ้น  

            อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นวันนี้ของ KCE แม้จะยังไม่กลับไปที่มูลค่าสูงสุดที่เคยทำได้ แต่ราคาหุ้นสามารถปรับตัวขึ้นมาในช่วง 5 เดือนที่ 55.50 บาท ก่อนที่ราคาหุ้นจะปิดที่  54.75 บาท เพิ่มขึ้น 4.75  บาท หรือเปลี่ยนแปลง 9.50%  (31 ม.ค.) ส่งทำให้เดือนม.ค. ที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.46%

           ธุรกิจของ KCE   เป็นบริษัทผลิตและส่งออก 100% ผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์  หรือที่เรียกว่า   PCB   ซึ่งถือได้ว่าติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มยานยนต์ 80%    รองลงมาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต  12.5%  และยังมีสินค้าโภคภัณฑ์ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร   ซึ่งด้วยการแข่งขันที่สูงเพราะด้วยผู้เล่นในตลาดต่างชาติถึง 2,000 กว่ารายทำให้บริษัทหันไปขายสินค้าที่มีอัตรากำไรที่สูงขึ้น

ปัจจัยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีผลต่อธุรกิจชิ้นส่วนฯ และส่งออก supply chain disruption ส่งผลให้ปัญหา chip shortage  ตามมาหลังเกิดสงครามรัสเซีย – ยูเครน  และยังมีผลต่อเนื่องด้านราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น  กดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นรุนแรง

     ถัดมาทิศทางค่าเงินกลับมาแข็งค่าของค่าเงินในเอเชีย ยิ่งค่าเงินบาทของไทยที่พลิกสถานการณ์มาแข็งค่าในรอบ 9 เดือนที่ระดับ 32.74 บาทต่อดอลลาร์ จากปี 2565 เฉลี่ยที่  36.60 บาทต่อดอลลาร์ และปี 2564 ที่ 33.30 บาทต่อดอลลาร์  ยังไม่นับรวมกับต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมจากค่าจ้างแรงงาน และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มทุนจึงทำให้ล้วนกดดันผลประกอบการ KCE ไปด้วย

       อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ไตรมาส 4 ปี 2565 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) คาดกำไรอยู่ที่  652 ล้านบาท ลดลง 7% จากช่วงปีก่อน และลดลงเล็กน้อย 0.5%  จากไตรมาสก่อน ทำให้ทั้งปี 2565 กำไรสุทธิอยู่ที่  2,468 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.7%

      บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)  คาดไตรมาส 4 การดำเนินงานอ่อนแอ ซึ่งผู้บริหารคาดแนวโน้มยอดขายจะทรงตัว  (q-q) เนื่องจากมีเลื่อนส่งมอบจากปัญหาการขนส่งในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ margin คาดทรงตัวเช่นกัน แต่คาดปกติจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติจึงปรับยอดขายเป็น 531 ล้านดอลลาร์  (+13% y-y) และปรับ margin ลงจากเดิมจาก margin ที่ต่ำกว่าคาด รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ปรับกำไรสุทธิลงเป็น 2,428 ล้านบาท  (ทรงตัว y-y)
      แนวโน้มปี 2566 คาดฟื้นตัวไม่มากผู้บริหารให้แนวโน้มยอดขายปี 2566 ว่าจะเพิ่มขึ้น 5-10% (y-y) จากเดิมคาด +20% เนื่องจากคาดยอดขายรถยนต์ตลาดโลกจะลดลง 3% จากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นและความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

        อีกทั้งการขาดแคลนชิปยังส่งผลกระทบต่อยอดผลิตรถยนต์ซึ่งคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายในปี 2567 เป็นต้นไป จึงประมาณการยอดขายปี 2566 ที่ 554 ล้านดอลลาร์  (+5% y-y)แม้ว่าบริษัทจะเพิ่มสัดส่วนการขายในกลุ่ม HDI เพิ่มขึ้น แต่จากการปรับราคาขายลงราว 1-2% ตามราคาวัตถุดิบที่ลดลง และแนวโน้มเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าทำให้คาดแนวโน้ม margin จะทรงตัวปรับประมาณการกำไรสุทธิเป็น 2,618 ล้านบาท (+8% y-y )

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์