‘กฤษณ์‘ เร่งเครื่อง ’ไทยพาณิชย์‘ เปิด 4 เป้าหมาย หนุนแบงก์เติบโต

‘กฤษณ์’เร่งเครื่อง‘ไทยพาณิชย์’ เปิด ‘4 เป้าหมาย’ ขับเคลื่อนธุรกิจแบงก์ หนุนการเติบโต ปักธงลดต้นทุนแบงก์ แข่งเวอร์ชวลแบงก์-สร้างรายได้จากดิจิทัล
โดยในนี้ต้องยอมรับว่า หลักๆ มาจากธุรกิจ Gen1 คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ยังคงเป็นเสาหลักในการสร้าง “รายได้-กำไร” ให้กลุ่ม “เอสซีบี เอกซ์” อย่างต่อเนื่อง
“กฤษณ์ จันทโนทก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปี 2567 ที่ผ่านมา ผลงานถือว่าออกมาดีตามเป้าหมายที่คาดไว้ หรือดีกว่าแผนที่คาดไว้ซึ่งเป็นปีที่ 3 ที่ธนาคารสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น นับตั้งแต่ตนเข้ามารับตำแหน่ง
ส่วนความเสี่ยงที่มองไปข้างหน้า ยังมองใกล้เคียงเดิม คือ ยังมองความเสี่ยงจาก “ภูมิรัฐศาสตร์” (Geopolitics) และความเสี่ยงจากพอร์ตลูกค้ารายย่อย และมูลหนี้จากพอร์ตลูกค้ารายย่อยที่ยังไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น ธนาคารต้องพยายาม Digitization เปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล พยายามลดต้นทุน และประคองพอร์ตหนี้ โจทย์เหล่านี้ยังเป็นโจทย์ที่ธนาคารให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง
ด้านโจทย์ธนาคารไทยพาณิชย์ในปี 2568 และหลังจากนี้ ยังคงเดิมโดยมี “4 เป้าหมายหลัก” ในการดำเนินธุรกิจ ด้านแรก การที่ธนาคารไทยพาณิชย์พยายามที่จะบริหารจัดการต้นทุน ให้ลดลงต่อเนื่อง ด้วยความตั้งใจของแบงก์ที่มีการตั้งโจทย์ในการแข่งขันกับ “เวอร์ชวลแบงก์” (Virtual Bank)
นั่นหมายความว่า ไทยพาณิชย์เองต้อง “ลดต้นทุน” ให้เหมือนเวอร์ชวลแบงก์ ซึ่งหากดูจากเวอร์ชวลแบงก์ ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจใกล้ 30% นั่นแปลว่า ธนาคารเองก็อยากลดต้นทุนไปให้ใกล้ 30%
แต่เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า แบงก์จะประกาศเป้าหมายว่าวันนี้ ต้องลดต้นทุนแบงก์ให้เหลือ 30% ภายในปีนี้ หรือปีหน้า แต่ธนาคารต้องการตั้งเป้าและมองไปข้างหน้า Forward looking เพื่อให้พนักงานของธนาคารตื่นตัว ในการไปสู่เป้าหมายหมายนี้ ซึ่งเมื่อธนาคารสามารถผันจาก “ออฟไลน์” ไปสู่ “ดิจิทัล” หรือออนไลน์ได้ ธนาคารไทยพาณิชย์ก็จะสามารถแข่งขันได้ ดังนั้นการลดต้นทุน และการผันตัวเองไปสู่ “ดิจิทัล” เป็นเรื่องที่สำคัญ
ด้านที่สอง อุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อประเทศ การบริหารจัดการพอร์ตที่ยังคงค้าง ทั้งพอร์ตสินเชื่อรายใหญ่ รายกลาง รายเล็ก ต่างๆ ให้เกิดการ soft landing ให้ได้ เพื่อไม่ให้ ต้นทุนในการบริหารความเสี่ยงของแบงก์ หรือ Credit cost ของแบงก์สูงเกินไป นั่นหมายถึง “น้ำใหม่ที่เข้ามา” ต้องมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ผมมีการตั้งการ์ดสูงมาโดยตลอด
ด้านที่สาม ในธุรกิจเวลท์ หลังธนาคารมีการปรับโครงสร้างเวลท์ โดยมองภาพรวมมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของประกัน ที่มองว่าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเวลท์ และเสนอขายต่างๆ ต้องทำไม่ให้เกิด “การบังคับขาย” หรือ Forced Sell โดยไม่ดูความต้องการลูกค้า เหล่านี้ควรลดลง
และปีนี้ถือเป็นปีแรก ที่ธนาคารปักหมุดการวางแผนการเงินแบบครบวงจร ซึ่งหากทำสำเร็จ เชื่อธนาคารน่าจะใกล้เคียงกับเป้าหมายในการเป็น “เวลท์อันดับหนึ่ง” ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้
ด้านที่สี่ เรื่องของเทคโนโลยี โดยธนาคารอยู่ระหว่างการ Migration ย้ายระบบ Core banking เก่าไปสู่ Core banking ใหม่ และกำลังย้ายธุรกรรมต่างๆ ไปอยู่บนคลาวน์ ดังนั้น หลังจากนี้ Core banking และการ Migration จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ
รวมไปถึง ความสามารถในการรักษาเสถียรภาพของระบบ ลดระบบขัดข้องระบบล่มต่างๆ ที่ปีนี้ธนาคารมีเป้าหมายลดลงให้เหลือครึ่งหนึ่งของ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปี 2567 รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับภัยไซเบอร์ต่างๆ ที่เป็นเรื่องที่ธนาคารต้องทำต่อเนื่อง
สำหรับการ “ปรับโครงสร้างองค์กร” ที่แบงก์เริ่มปรับมาตั้งแต่ต้นไตรมาส 4 ที่ผ่านมา และธนาคารประกาศเป็นองค์กรที่ต้องมีลำดับขั้นน้อยลง การปรับโครงสร้างเหล่านี้โดยรวมถือว่าสมูท และเชื่อหลังจากปรับโครงสร้างไปแล้วองค์กรจะ LEAN ขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้น โจทย์ของธนาคารไทยพาณิชย์คือ การ LEAN องค์กร และเป็น “เสาหลัก” ของกลุ่มต่อไป ภายใต้การทำให้รายได้จากดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนต่ำลง
สิ่งที่ธนาคารจะเดินหน้าหลังจากนี้ คือการสร้างรายได้บน “SCB Easy App” ให้มากขึ้น ให้มากกว่าการการทำธุรกรรม “ฝาก ถอน โอน จ่าย” แต่ต้องสามารถให้บริการเฉพาะบุคคล หรือ Personalize มากขึ้น หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเชื่อว่าธนาคารจะสามารถเปิดทางไปสู่การเสนอขายผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มเติมได้ในอนาคต
ในแง่ระบบการให้บริการ ปัจจุบันระบบขัดข้อง หรือปัญหาระบบล่มต่างๆ ผ่าน SCB Easy App ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2567 หากเทียบกับปี 3-4 ปีที่ผ่านมา