'ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง' ทำ Gen Z ใช้เงินเกินตัว สะดวกจริงแต่เสี่ยงเป็นหนี้?

'ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง' ทำ Gen Z ใช้เงินเกินตัว สะดวกจริงแต่เสี่ยงเป็นหนี้?

Buy Now, Pay Later ทำ Gen Z ใช้เงินเกินตัว ซื้อของฟุ่มเฟือย สะดวกจริงแต่เสี่ยงเป็นหนี้? บริการที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 6 พันบาทต่อปี จากดอกเบี้ยและส่วนต่างที่ไม่รู้ตัว

"ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง" หรือ Buy Now, Pay Later (BNPL) กลายเป็นบริการทางการเงินยอดนิยมพบได้ในแอพลิเคชันทางการเงินและอีคอมเมิร์ซ ที่มอบความ"สะดวก"ให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าและบริการ โดยไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวน และสามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆ โดยมีดอกเบี้ยต่ำ 

ทว่าบริการเหล่านี้ก็นำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับ “ปัญหาหนี้สิน” แบบไม่คาดคิด หลายคนมองว่าบริการนี้ช่วยให้สามารถซื้อของที่อยากได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่ท้ายที่สุดแล้วอาจจะต้องจ่ายเงินมากกว่าที่ตั้งใจไว้

เทีย ไวท์ไซด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการออทิซึมในเด็ก วัย 27 ปี ซึ่งมีรายได้ดี แต่กำลังเผชิญปัญหาหนี้สินจากการใช้บริการซื้อก่อนจ่ายทีหลังรวมมูลค่ากว่า 2 บาทเป็นยอดที่สะสมมาตลอดสองปี จากการซื้อของฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า เครื่องม้วนผมราคาแพง แม้ว่าจะมีรายได้ดี แต่ไวท์ไซด์ก็มองข้ามภาระหนี้สินเหล่านี้ จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อแผนการซื้อบ้าน

"เหมือนเงินเดือนโดนหักไปเรื่อยๆ จนเกิดคำถามว่า แล้วเงินฉันหายไปไหนหมด?"

หลังจากที่รู้สึกตัวว่าโดนบริการวื้อก่อนจ่ายทีหลังเล่นงาน ก็ลบแอพลิเคชันเหล่านั้นทิ้งไป เหตุการณ์นี้กระตุ้นให้เธอตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการเงิน และวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

บริการยอดอิตในกลุ่ม Gen Z

"ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง" กำลังกลายเป็นตัวเลือกการชำระเงินยอดนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภค Gen Z และ Millennials เพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยบัตรเครดิต หรือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิตหรือมีวงเงินไม่เพียงพอ

ผลการศึกษาโดย เล็กซิสเนซิส ริก โซลูชั่น เผยให้เห็นว่า กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการ BNPL มากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 35 ปีและต่ำกว่า คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งของผู้กู้ทั้งหมด 

ความเสี่ยงแฝงความสะดวก

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและนักวิจัยต่างออกมาเตือน เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มเหล่านี้

  • การใช้จ่ายเกินตัว: ผู้บริโภคอาจใช้จ่ายเงินเกินตัวโดยไม่รู้ตัว
  • หนี้สิน: การใช้ BNPL หลายรายการอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สิน
  • ค่าธรรมเนียมแอบแฝง: ผู้ให้บริการ BNPL บางรายอาจมีค่าธรรมเนียมแอบแฝง
  • ความเสี่ยงทางกฎหมาย: ผู้บริโภคอาจมีปัญหาทางกฎหมายหากไม่สามารถชำระหนี้ BNPL ได้

ใช้เงินเกินตัว เพราะ"ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง"

 

เบน ลูรี อาจารย์วิชาบัญชีจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ มองว่าบางคนอาจใช้บริการอย่างชาญฉลาด แต่ก็ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพทางการเงินของผู้บริโภคทำให้ผู้คนใช้จ่ายเงินมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคอาจใช้จ่ายเกินตัวโดยไม่รู้ตัวและอาจส่งเสริมการใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงแผนการเงินในระยะยาว

ผลการศึกษาของลูรี ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบของบริการนี้ต่อสภาพการเงินของผู้ใช้ หลังจากได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตของผู้บริโภคเกือบ 11 ล้านคน  ผลการศึกษาพบว่า

  • ผู้ใช้บริการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 176 ดอลลาร์ หรือราว 6 พันบาท  ต่อปี
  • ค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมถึงค่าธรรมเนียมเบิกเกินบัญชี ดอกเบี้ยบัตรเครดิต และค่าธรรมเนียมการชำระล่าช้า
  • การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น หลังจากเริ่มต้นใช้บริการ BNPL

ขณะเดียวกัน สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (CFPB) ได้เผยรายงานที่น่ากังวลเกี่ยวกับบริการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง โดยรายงานนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้บริการนี้มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางการเงินมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ

ด้านผู้ให้บริการหลายรายต่างออกมาตอบโต้ต่อข้อกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงของบริการเหล่านี้  ซึ่งพยายามเน้นย้ำถึงมาตรการที่พวกเขาใช้เพื่อปกป้องผู้บริโภคและข้อดีของบริการ

อย่างเช่น PayPal และ Klarna ชูความยืดหยุ่นในการชำระเงินเป็นจุดเด่น  หรือฟีเจอร์หลังการบริการ Afterpay ที่ช่วยให้ผู้บริโภคกำหนดวงเงินใช้จ่ายที่ต่ำลงและปรับแต่งการแจ้งเตือนได้ตามต้องการ 

อ้างอิง cnbc