ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย

ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย

ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย 63% ของ Green Bonds ในไทยครบกำหนดชำระอีก 5 ปีข้างหน้า มีระยะเวลาไถ่ถอนเฉลี่ยที่ 4.7 ปี

KEY

POINTS

  • ยอดคงค้างของ Green Bonds ในประเทศไทยต่ำ มีสัดส่วนเพียงประมาณ 1.0-1.7% ของตราสารหนี้ทั้งหมด
  • ค่าเฉลี่ยนดอกเบี้ยหน้าตั๋ว หรือ Coupon Rate ของ Corporate Green Bonds ในประเทศไทยต่ำกว่า Vanilla Bonds ที่มีคุณสมบัติที่คล้ายกันถึง 21 bps ตรงกับทั่วโลกที่เรียกว่า Greenium 
  • 63% ของ Green Bonds ในไทย จะครบกำหนดชำระภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีระยะเวลาไถ่ถ่อนเฉลี่ยน 4.7 ปี สะท้อนว่า ผู้ออกตราสารหนี้ยังรับความเสี่ยงได้น้อย และไม่พร้อมจะลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย 63% ของ Green Bonds ในไทยครบกำหนดชำระอีก 5 ปีข้างหน้า มีระยะเวลาไถ่ถอนเฉลี่ยที่ 4.7 ปี

ดร.กฤตย์ สีตะธนี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า Green Bonds หรือตราสารหนี้เขียว เป็นตราสารหนี้ที่มีข้อผูกมัดหรือเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ซึ่งต่างจากสารหนี้ทั่วไป หรือ Vanilla Bonds โดยตราสารหนี้เขียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เช่น พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานการป้องกันมลพิษ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

อย่างไรก็ดี Green Bond มีลักษณะด้านเครดิตที่เหมือนกับ Vanilla Bonds หลายประการ เช่น การประเมินความเสี่ยง/ผลตอบแทน รวมถึงเงื่อนไขทั่วไปที่แตกต่างกัน เช่น อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหรืออัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่แตกต่างกัน

ในปัจจุบัน การนำ Green Bonds มาใช้ในประเทศไทย ยังไม่ค่อยแพร่หลายเมื่อเทียบกับในเวทีโลก เนื่องจากต้นทุนจากการรายงานตามมาตรฐานเขียวที่ค่อนข้างสูง และดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) จากการออก Green Bonds ที่ไม่ต่ำกว่า Vanilla Bond มาก

ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย ยอดคงค้างของ Green Bonds ในประเทศไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าการออก Green Bonds ใหม่จะลดลงในปี 2566 อย่างไรก็ดี เมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อจำนวนตราสารหนี้ทั้งหมด ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำที่ประมาณ 1.0 - 1.7% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการออกตราสารหนี้ทั่วโลกที่ 8.26 - 9.44%

นอกจากนี้ 63% ของ Green Bonds ในไทยจะครบกำหนดชำระภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีระยะเวลาไถ่ถอนเฉลี่ยที่ 4.7 ปี ขณะที่ระยะเวลาครบกำหนดเฉลี่ยของ Green Bonds ทั้งตลาดในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 6.4 ปี ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่ 6.5 ปี และของโลกที่ 12-17 ปี ทั้งนี้ภาพดังกล่าวสะท้อนว่าผู้ออกตราสารหนี้ไทยรับความเสี่ยงจากการออก Green Bond ได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับทั่วโลก และยังไม่พร้อมที่จะลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย

เมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งสองมิติทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงตามหลังโลกในเรื่องนำ Green Bonds มาเป็นหนึ่งในเครื่องมือการระดมทุน

ต้นทุน Green Bond สูง ฉุดปริมาณการออกตราสารหนี้ประเภทนี้ในไทย นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ของ Corporate Green Bonds ในประเทศไทย ต่ำกว่า Vanilla Bonds ที่มีคุณสมบัติที่คล้ายกันถึง 21 bps ตรงกับทั่วโลกที่ Green Bonds มักมีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่า Vanilla Bonds ซึ่งเรียกว่า Greenium แต่ในปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 2 bps นั่นหมายความว่า
นักลงทุนในประเทศไทยอาจจะลดความยินยอมที่จะรับดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า

อนาคตของ Green Bonds ในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าปัญหาการขาดการออก Green Bonds ในไทย เกิดจากปัญหาด้านอุปทานเป็นสำคัญ กล่าวคือ ปัญหาต้นทุนการระดมทุนที่สูง อาทิ จากทั้งการรายงานเพิ่มเติมและอัตราดอกเบี้ยหน้าที่ไม่ได้ต่ำกว่า Vanilla Bonds ดังนั้น จึงทำให้ผู้ระดมทุนในประเทศไทย เน้นออกพันธบัตรประเภท Sustainability และ Sustainability Linked Bonds แทนเนื่องจากเนื่องจากกฎระเบียบกว้างกว่า ผู้ออกสามารถออกตราสารหนี้สำหรับ Social หรือ ผู้ออกเลือก KPI Sustainability เองได้ ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งจัดการกับทั้งสองประเด็นดังกล่าว เพื่อผลักดันให้เกิดการออกตราสารหนี้ประเภท Green Bonds มากขึ้น

แม้ว่ากฎระเบียบจะเป็นปัจจัยสำคัญ สำหรับนักลงทุนในการหลีกเลี่ยงการฟอกเขียว ควรมีการรณรงค์และการสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐ เพื่อให้ผู้ออกตราสารหนี้เข้าถึงการรายงาน Green Bonds ได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงการรณรงค์ให้นักลงทุนมาช่วยมีส่วนร่วมในการระดมทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม แม้จะได้รับผลตอบแทนที่อาจจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ Vanilla Bonds

ทั้งนี้ ภาครัฐไทยอาจใช้เครื่องมือการระดมทุนผ่านการออก Green Bonds เช่น การกำหนดวงเงินขั้นต่ำสำหรับการระดมทุนในรูป Green Bonds เพื่อใช้ลงทุนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐต่อจากนี้ เพื่อสร้างบรรยากาศและเป็นบรรทัดฐานแก่ภาคเอกชนให้เกิดการระดมทุนผ่าน Green Bonds ในประเทศมากขึ้นได้ เพื่อนำไปสู่การบรรลุ Net Zero ของประเทศได้ภายในปี 2608