TTB ลุ้นครึ่งปีหลังศก.ฟื้น-ลดดบ. ดันพอร์ตสินเชื่อรายย่อยทะลุเป้า

TTB ลุ้นครึ่งปีหลังศก.ฟื้น-ลดดบ. ดันพอร์ตสินเชื่อรายย่อยทะลุเป้า

“ทีทีบี” ปั้นสินเชื่อรายย่อยโต 1-2%  ลุ้นครึ่งปีหลังเศรษฐกิจฟื้น - ลดดอกเบี้ย หนุนสินเชื่อโตทะลุเป้า  จ่อนำร่องปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์บนแพลตฟอร์มดิจิทัลต้นเม.ย.นี้ รวมถึงขยายกลุ่มลูกค้ากลุ่มมั่งคั่ง ดันค่าฟีรายย่อยปีนี้โต5-6%

นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB เปิดเผยแผนกลยุทธ์ลูกค้าบุคคลปี 2567 คาดการณ์สินเชื่อลูกค้าบุคคลเติบโต 1-2% จากปีก่อนที่เติบโตทรงตัว แต่มองว่าในช่วงครึ่งปีหลัง มีโอกาสเติบโตได้มากกว่าเป้าหมาย 

 หากทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายชัดเจน เริ่มนิ่งหรือปรับตัวลดลง  รวมถึงการฟื้นตัวเศรษฐกิจชัดเจน จากงบประมาณที่จะเริ่มเบิกจ่ายได้ จากขณะนี้การปล่อยสินเชื่อบ้านและรถยนต์ ยังทรงตัวตามสภาพตลาดที่ยังมีความท้าทายอยู่  

ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียม(ค่าฟี)ปีนี้ คาดเติบโต 5-6%จากการขยายฐานลูกค้ากลุ่มมั่งคั่งมากขึ้น

พร้อมกันนี้ ธนาคารเตรียมเปิดตัวสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ บนแพลตฟอร์มดิจิทัล 100% ภายในต้นเดือนเม.ย.นี้ จะเป็นการนำร่องในช่วงแรก คาดว่ามียอดสินเชื่อ 100 ล้านบาท  หากมีแนวโน้มที่ดีก็พร้อมขยายสินเชื่อดังกล่าวต่อเนื่อง แต่ยังคุมความเสี่ยง

TTB ลุ้นครึ่งปีหลังศก.ฟื้น-ลดดบ. ดันพอร์ตสินเชื่อรายย่อยทะลุเป้า

 

นายฐากร  กล่าวว่า  ธนาคารปรับตัวมุ่งขยายฐานลูกค้าย่อยตามกลุ่มที่โฟกัส และยังส่งมอบผลิตภัณฑ์เพื่อชีวิตทางการเงินดีขึ้น ทั้ง 4 มิติ เงินฝาก การลงทุน ประกันและสินเชื่อ   โดยยกระดับการบริการด้วยการใช้ Digital & Data Innovation ให้เข้าใจลูกค้าได้ในระดับบุคคล เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกมิติ ผ่าน4กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารเชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด Ecosystem Play ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth โดยมีแอป ttb touch เป็นแพลตฟอร์มหลักในการเชื่อมต่อโซลูชันและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากพันธมิตรชั้นนำของธนาคาร ด้วยกลยุทธ์ LEAD the CHANGE for Financial Well-being of Retail Customers

TTB ลุ้นครึ่งปีหลังศก.ฟื้น-ลดดบ. ดันพอร์ตสินเชื่อรายย่อยทะลุเป้า

ทั้งนี้ ธนาคารคาดการณ์การเติบโตปี 2567  แต่ละธุรรกิจ สินเชื่อบ้าน เติบโต 1-2% จากปีก่อน มียอดสินเชื่อคงค้าง 316,000 ล้านบาท , สินเชื่อบ้านแลกเงิน เติบโต 10% จากปีก่อนมียอดสินเชื่อใหม่ 8,000ล้านบาท , สินเชื่อรถยนต์ เติบโต1-2% จากปีก่อนมียอดคงค้าง 401,000 ล้านบาท ,สินเชื่อรถแลกเงิน ยอดรถใหม่เพิ่นขึ้น 15-20% จากปีก่อนที่ 85,000คัน

ทางด้านบัตรเครดิต มียอดการใช้จ่าย เติบโต 20-25% จากปีก่อนที่  130,000 ล้านบาท มียอดสินเชื่อคงค้าง เติบโต 10-15%  จากปีก่อนที่ 37,000 ล้านบาท, สินเชื่อบุคคล มียอดสินเชื่อปล่อยใหม่ เติบโต 10-15% จากปีก่อนที่ 35,000ล้านบาท และมียอดสินเชื่อคงค้าง เติบโต 10-15% จากปีก่อน 39,000 ล้านบาท 

สำหรับเงินฝาก คาดการณ์ว่า  ทรงตัว จากปีก่อนมียอดคงค้าง 980,000ล้านบาท แต่ยังเติบโตจากบัญชีเงินฝาก all free (Outstanding)เพิ่มขึ้น 14%  จากปีก่อนมียอดเงินฝากคงค้าง 114,000 ล้านบาท และ บัญชีเงินฝาก ME save  เพิ่มขึ้น 50% จากปีก่อน มียอดเงินฝากคงค้าง 33,000 ล้านบาท ขณะที่ บัญชี Term Deposit (Outstanding) ทรงตัวจากปีก่อนมียอดคงค้าง 350,000ล้านบาท  และทางด้านประกัน คาดการณ์มีเบี้ยประกันภัย เติบโต 30-35% จากปีก่อนที่  5,400 ล้านบาท และเบี้ยประกันชีวิต เติบโต 15-2% จากปีก่อนที่ 4,600 ล้านบาท   

พร้อมกันนี้ จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการลงทุน ทีทีบีจึงเน้นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งรักษาเงินต้นและปิด ความเสี่ยง เช่น หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงอ้างอิงดัชนี (Index Linked Note) เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทน ที่สูงขึ้น พร้อมคุ้มครองเงินต้นในเวลาเดียวกัน ช่วยต่อยอดความมั่งคั่งทางการเงิน 

ปีที่ผ่านมา ทีทีบีประสบ ความสำเร็จในการส่งต่อความมั่งคั่งของกลุ่มลูกค้า Wealth โดยมีลูกค้าใหม่ กลุ่ม AUM 30 ล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นกว่า 1,100 คน และ AUM เพิ่มขึ้นถึง 6% ธนาคารยังได้มีการจัดทีม Private Banking ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเพื่อยกระดับ การให้บริการ พร้อมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มนี้ ผ่านบัตรเครดิต ttb reserve รวมถึงเดินหน้าเจาะ กลุ่มลูกค้า Wealth ที่มีบุตร-หลานเรียนต่างประเทศ และมุ่งเน้นการส่งมอบ Wellness Solution เพื่อการลงทุนอย่างยั่งยืน

พร้อมกันนี้ คาดการณ์ในปีนี้ จะมียอดสินทรัพย์การบริหารจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้น15-20% จากปีก่อนที่ 190,000 ล้านบาท  ทางด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังคงคุมคุณภาพสินเชื่อ พร้อมเน้นปรับโครงสร้างหนี้ช่วยเหลือลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์ เชื่อว่าปีนี้ NPL ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยปัจจุบัน NPL สินเชื่อบ้านอยู่ที่ 2.9% มองว่าจะทรงตัวในปีนี้ เพราะสินเชื่อบ้านเราเน้นกลุ่มราคาสูงที่มีความเสี่ยงต่ำ 

ขณะที่สินเชื่อรถ NPL ค่อนข้างต่ำที่ประมาณ 1% เพราะเราเน้นรถใหม่ รวมถึงพยายามเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหา จากปีก่อนที่เฉลี่ย 6,000 คัน ปีนี้จะพยายามให้ได้ถึง 7,000 คัน ส่วนสินเชื่อบุคล NPL ประมาณ 2.2% ทรงตัว เพราะลูกค้ากลุ่มหลักเป็นลูกค้าเดิมและลูกค้าบัญชีเงินเดือน