ยอดขาย ‘หลักทรัพย์ที่มีหนี้เน่าค้ำ’ จีนปีที่แล้วพุ่ง 46% หวั่นระเบิดทำเศรษฐกิจพัง

ยอดขาย ‘หลักทรัพย์ที่มีหนี้เน่าค้ำ’  จีนปีที่แล้วพุ่ง 46% หวั่นระเบิดทำเศรษฐกิจพัง

ยอดขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ในจีนซึ่งมีหนี้ด้อยคุณภาพเป็นหลักประกัน(Bond-like Securities Backed by Nonperforming Debt) ที่ถือโดยธนาคารเพิ่มขึ้น 46% ในปีที่แล้ว

KEY

POINTS

  • ยอดขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ในจีนซึ่งมีหนี้ด้อยคุณภาพค้ำที่ถือโดยธนาคารเพิ่มขึ้น 46%
  • การลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ลดลงประมาณ 10% ทั้งในปี 2565 และ 2566 
  • ปีที่แล้วจีนออกหลักทรัพย์ที่มีหนี้ที่ไม่ก่อรายได้เป็นหลักประกันราว 4.66 หมื่นล้านหยวน (6.5 พันล้านดอลลาร์)

ยอดขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ในจีนซึ่งมีหนี้ด้อยคุณภาพเป็นหลักประกัน(Bond-like Securities Backed by Nonperforming Debt) ที่ถือโดยธนาคารเพิ่มขึ้น 46% ในปีที่แล้ว

สำนักข่าวนิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) รายงานแถลงการณ์ของรัฐบาลญี่ปุ่นล่าสุดว่า ยอดขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ในจีนซึ่งมีหนี้ด้อยคุณภาพเป็นหลักประกัน (Bond-like Securities Backed by Nonperforming Debt) ที่ถือโดยธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 46% ในปี 2566 

ข้อมูลดังกล่าวเน้นย้ำถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจจีนหากมีการผิดนัดชําระหนี้ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งหลักประกันนั้นเป็นผลพวงมาจากเศรษฐกิจที่ซบเซา และภาคอสังหาริมทรัพย์

ตัวเลขข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในรายงาน "แนวโน้มเศรษฐกิจโลก" รายปีของสํานักงานคณะรัฐมนตรี ซึ่งเปิดเผยว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของจีนมีสัญญาณของการฟื้นแบบชะงักงันซึ่งการจัดทำรายงานในครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสนใจพัฒนาการของเศรษฐกิจจีน

รายงานดังกล่าวเตือนว่า หากการตกต่ำของอสังหาริมทรัพย์จีนยังคงมีอยู่ก็จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมอาจซบเซาไปในระยะยาว

ยอดลงทุนพัฒนาอสังหาฯ ลด 

ทั้งนี้ การลงทุนเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีนลดลงประมาณ 10% ทั้งในปี 2565 และ 2566 ซึ่งหมายความว่า กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้เริ่มการแก้ไขงบดุลเพื่อมุ่งให้ความสําคัญกับการลดหนี้ จํากัดการลงทุนรวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่คาดการณ์ล่วงหน้า

ขณะที่ยอดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คงค้างอยู่ที่ 41.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีน (GDP) เมื่อเดือนก.ย.ปีที่แล้ว ส่วนแบ่งลดลงปานกลางตั้งแต่เดือนส.ค.2020 เมื่อมีการจํากัดการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คงค้างยังคงสูงกว่า ส่วนครั้งนั้นเมื่อญี่ปุ่นอยู่ในช่วงฟองสบู่สินทรัพย์ญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวอยู่เพียง 20% เท่านั้น

หลักทรัพย์ที่ค้ำโดยหนี้ด้อยคุณภาพในจีน

ด้านอสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ทางการเงินอื่นๆ คิดเป็นประมาณ 39% ของสินทรัพย์ทั้งหมดในจีน ณ สิ้นปี 2019 เทียบเท่ากับส่วนแบ่ง 41% ของญี่ปุ่น ณ สิ้นปี 1989

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มในจีนที่จะลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์มากเกินไป และสํานักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเชื่อว่าการปรับฐานอาจเกิดโดยกินเวลายาวนาน ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางการเงินของจีนโดยรวม

จีนออกหลักทรัพย์ที่มีหนี้ไม่ก่อรายได้ค้ำประกันอื้อ

ด้าน รายงานของสํานักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นรายงานว่า ปีที่แล้วจีนออกหลักทรัพย์ ที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นหลักประกันราว 46.6 พันล้านหยวน (6.5 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3.2 หมื่นล้านหยวนในปี 2565 และปรับตัวสูงขึ้น 46% ต่อปีแซงหน้ากําไรที่ต่ำกว่า 10% ในปี 2564 และ 2565

ปีที่แล้วหลักทรัพย์ที่ได้ค้ำประกันด้วยสินเชื่อบ้านคิดเป็น 50% ของตัวเลขทั้งหมดซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในปีที่แล้วเป็น 2.36 พันล้านหยวน

อ้างอิง

Nikkei Asia

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์