ปู่บัฟเฟตต์ เตือนความเสี่ยงลงทุนหุ้นต่างประเทศ ในปีที่ไม่มีอะไรน่าลงทุน

ปู่บัฟเฟตต์ เตือนความเสี่ยงลงทุนหุ้นต่างประเทศ ในปีที่ไม่มีอะไรน่าลงทุน

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ร่อนจดหมายฉบับล่าสุดถึงผู้ถือหุ้นกว่า 3 ล้านบัญชีของ เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ เตือนความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นต่างประเทศที่ต้องเจอกับความยุ่งเหยิงของ "อัตราแลกเปลี่ยน"

KEY

POINTS

  • วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ร่อนจดหมายฉบับล่าสุดถึงผู้ถือหุ้นกว่า 3 ล้านบัญชีของ "เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์"
  • เบิร์กเชียร์ถือเงินสด 1.676 แสนล้านดอลลาร์ ทุบสถิติเดิม 
  • ไม่มีอะไรน่าลงทุนในสายตาของบัฟเฟตต์ สะท้อนจากการขายหุ้นมากกว่าที่ซื้อในปี 2566
  • "การลงทุนสุดชาญฉลาด" เพื่อเอาชนะ และเอากำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เป็นความเสี่ยงสุดยุ่งเหยิงที่ บัฟเฟตต์ "รังเกียจ"

 

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ร่อนจดหมายฉบับล่าสุดถึงผู้ถือหุ้นกว่า 3 ล้านบัญชีของ เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ เตือนความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นต่างประเทศที่ต้องเจอกับความยุ่งเหยิงของ "อัตราแลกเปลี่ยน"

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ร่อนจดหมายฉบับล่าสุดถึงผู้ถือหุ้นกว่า 3 ล้านบัญชีของ เบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ (Berkshire Hathway) ซึ่งปู่ทำมาทุกปีตั้งแต่เข้าซื้อบริษัทสิ่งทอแห่งนี้เมื่อปี 1965 ได้ไม่นานจนกลายเป็นอาณาจักรลงทุนที่ต่อไปคงกลายเป็นตำนาน แต่ละปีมีนักลงทุนมากมายคอยจับจ้องรอถอดรหัสข้อความ เผื่อจะได้ไอเดียในการลงทุน 

สำหรับในปีนี้ ในหน้าแรก บัฟเฟตต์ กล่าวถึง ชาลี มังเกอร์(Charlie Munger)ผู้ล่วงลับไปแล้ว การเสียชีวิตของมังเกอร์ เป็นอีกหนึ่งเครื่องเตือนใจว่าวันหนึ่ง เบิร์กเชียร์ จะต้องก้าวไปข้างหน้าโดยไม่มีบัฟเฟตต์ที่อายุ 93 ปี ในตอนนี้

ไม่มีอะไรน่าลงทุนในสายตาของบัฟเฟตต์

ทั้งปี 2566 รายได้จากการประกอบการเพิ่มขึ้น 17% มาอยู่ที่ 3.735 หมื่นล้านดอลลาร์ จาก 3.0853 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2565  นอกจากนี้ในไตรมาสสี่ เบิร์กเชียร์ถือเงินสด 1.676 แสนล้านดอลลาร์ ทุบสถิติเดิม 1.572 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสสาม เรียกได้ว่าถือเงินสดจำนวนมากจนสามารถใช้เงิน 2.2 พันล้านดอลลาร์เพื่อซื้อหุ้นคืนในไตรมาสที่ 4 

แต่การที่ Berkshire ถือเงินสดสูงเป็นประวัติการณ์  เนื่องจากบัฟเฟตต์ ไม่สามารถลงทุนมหาศาลใน"ราคาที่สมเหตุสมผลได้" หรือไม่มีอะไรน่าลงทุนในสายตาของบัฟเฟตต์ สะท้อนจากการขายหุ้นมากกว่าที่ซื้อในปี 2566 ประมาณ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์

พร้อมบอกกับนักลงทุนว่า เบิร์กเชียร์เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยในการเก็บ"เงินสด" ตราบใดที่พวกเขาไม่คาดหวังว่า "ผลการดำเนินงานที่ตื่นตา" ในอดีต เนื่องจากไม่มีเป้าหมายในการเข้าซื้อกิจการที่มีราคาน่าดึงดูดมากพอที่จะสร้างความแตกต่างที่มีความหมายได้

บัฟเฟตต์ ให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนว่า “เราจะพร้อมที่จะซื้อของเมื่อสิ่งต่างๆ มีเหตุผลในที่สุด” พร้อมเตือนถึงอันตรายของ Wall Street ว่า “เป็นเหมือนพลเมืองหัวขโมย และพวกเขาจะขายของให้คุณ ในสิ่งที่พวกเขาสามารถขายคุณได้"

พร้อมกับพูดถึงข้อดีของการถือเงินสดและตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) เพื่อเตรียมรับสถานการณ์เศรษฐกิจในแบบต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจเป็นอัมพาต ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงการหดตัวของเศรษฐกิจเป็นเวลานานได้ ทำให้บริษัทมูลค่ากว่า 9 แสนล้านดอลลาร์ ได้กลายเป็นป้อมปราการที่สามารถทนทานต่อภัยพิบัติทางการเงินที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เตือนความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ


น่าสนใจสำหรับสิ่งที่เขาพูดเกี่ยวกับการลงทุนในบริษัทต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยเมื่อพิจารณาจากขนาดของงบดุลทั้งหมด

บัฟเฟตต์จำไม่ได้แล้วว่าการลงทุนใน หุ้นต่างประเทศ มีมูลค่าการลงทุนมากกว่าหุ้นสหรัฐตอนไหน ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นวันที่ซื้อหุ้นครั้งแรก สำหรับการลงทุน "นอกสหรัฐอเมริกา" เบิร์กเชียร์ เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการลงทุนครั้งใหญ่ใน BYD ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนในปี 2551 แต่บัฟเฟตต์ขายหุ้นส่วนใหญ่ในปีที่แล้ว

รวมทั้งในปีที่แล้ว เบิร์กเชียร์ ใช้ 1.6 ล้านล้านเยน หรือราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อหุ้นประมาณ 9% ในบริษัทใหญ่ของญี่ปุ่น 5 แห่ง ได้แก่ อิโตชู (Itochu) มารูเบนิ (Marubeni) มิตซูบิชิ (Mitsubishi) มิตซุยแอนด์คัมปะนี (Mitsui & Co) และซูมิโตโม (Sumitomo) หรือที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มบริษัทเทรดดิ้ง “Sogo Shosha” ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการค้าและเศรษฐกิจในญี่ปุ่น เพราะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของประเทศมากมาย รวมถึงพลังงาน เทคโนโลยี และการผลิต

การลงทุนที่เอาชนะอัตราแลกเปลี่ยน

ขอเรียกว่า "การลงทุนสุดชาญฉลาด" เพราะ บัฟเฟตต์ไม่ได้ใช้เงินสดจำนวน 1.68 แสนล้านดอลลาร์เพื่อซื้อหุ้นญี่ปุ่น แต่ประกาศขายพันธบัตรเงินเยนมูลค่า 1.22 แสนล้านเยน หรือประมาณ 815 ล้านดอลลาร์ ในการระดมทุนครั้งที่ 2 ในปีนี้ โดยไม่เอาเงินดอลล่าร์มาแลกเป็นเงินเยนเพื่อลงทุนซื้อหุ้น

แต่ใช้วิธีการออกบอนด์ที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำมากเพราะฝนขณะนั้น พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นระยะเวลา 10 ปีอยู่ที่ประมาณ 0.8% เท่านั้นซึ่งต่ำกว่าของอเมริกาประมาณ 5 เท่ากว่าๆ

นอกจากนี้ยังเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องค่าเงินอีกด้วย ทีนี้เมื่อบัพเฟตต์แปลงเงินไปจากดอลล่าร์เป็นเยนในช่วงที่ค่าเงินเยนแข็ง แต่พอถอนออกค่าเงินเยนกลับอ่อน บัฟเฟตต์จะเสียสองเด้งเลย

เปรียบเทียบกับตอนที่การลงทุนเป็นเงินเยนทั้งหมด เงินเยนก็อยู่ในช่วงที่อ่อนค่าอย่างมาก หากบัฟเฟตต์ลงทุนในระยะยาว 10 ถึง 20 ปี เงินเยนเมื่อเทียบกับดอลล่าร์อาจแข็งค่ากลับขึ้นมา เมื่อนั้นคุณปู่จะได้กำไรมหาศาลเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม บัฟเฟตต์ไม่ได้ลงรายละเอียดว่าทำไมเขาถึง"รังเกียจ"โอกาสในการลงทุนต่างประเทศ นอกเหนือจากการกล่าวถึงว่าเขารู้สึกว่า "เขาไม่มีความสามารถในการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ"

อ้างอิง reuter axios