เปิดแชมป์ 10 อันดับ‘กองทุนทองคำ‘ ผลตอบแทนสูงสุด รอราคาเด้งทำไฮใหม่

เปิดแชมป์ 10 อันดับ‘กองทุนทองคำ‘ ผลตอบแทนสูงสุด  รอราคาเด้งทำไฮใหม่

เปิดแชมป์ 10 อันดับ‘กองทุนทองคำ‘ ผลตอบแทนสูงสุด รอราคาเด้งทำไฮใหม่ ราคาทองคำปี 2558 "ยกระดับต่ำ" จนยกระดับทรงตัวระดับสูงได้ตั้งแต่ปี 2563 สะท้อน แนวโน้มราคาทองคำระยะยาว เคลื่อนไหวทิศทางค่อยๆ ปรับตัวขึ้น (Sideway up)  

KEY

POINTS

  • YLG มอราคาทองคำ ณ ปัจจุบันที่ราว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มีโอกาสพุ่งแตะระดับที่ซิตี้กรุ๊ประบุไว้ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในภาวะ Stagflation
  • ราคาทองคำปี 2558 "ยกระดับต่ำ" จนยกระดับทรงตัวระดับสูงได้ตั้งแต่ปี 2563 สะท้อน แนวโน้มราคาทองคำระยะยาว เคลื่อนไหวทิศทางค่อยๆ ปรับตัวขึ้น (Sideway up)  
  • ปัจจุบันราคาทองคำ "ทรงตัว" ในระดับสูง หรือ"อ่อนตัวลง" ระดับจำกัด เพื่อสะสมแรงซื้อ และราคายังมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านโซน 2,144 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวต้านถัดไป 2,200 ดอลลาร์ออนซ์ 
  • มอร์นิ่งสตาร์ พบมีเพียง "กองทุนทองคำ" 10 อันดับแรก ที่ผลตอบแทนสูงสุด ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเท่านั้น ที่เหลือเป็นลบโดยกองทุนไทยพาณิชย์โกลด์  ผลตอบแทน สูงสุด 2.55% (ณ 23 ก.พ.2567) 

เปิดแชมป์ 10 อันดับ‘กองทุนทองคำ‘ ผลตอบแทนสูงสุด รอราคาเด้งทำไฮใหม่ ราคาทองคำปี 2558 "ยกระดับต่ำ" จนยกระดับทรงตัวระดับสูงได้ตั้งแต่ปี 2563 สะท้อน แนวโน้มราคาทองคำระยะยาว เคลื่อนไหวทิศทางค่อยๆ ปรับตัวขึ้น (Sideway up)  

กรณี นักวิเคาะห์ ทองคำ ซิตี้ คาด  12-18 เดือนข้างหน้า ทองคำพุ่งแตะ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากกรณีที่ นายอาคาช โดชี หัวหน้าฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ของซิตี้กรุ๊ป ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า ราคาทองคำ มีโอกาสปรับตัวขึ้นแตะระดับ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ภายใน 12-18 เดือนหลังจากนี้ 

หากมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์สนับสนุนจากการเข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากของกลุ่มธนาคารกลาง ในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ รวมไปถึงความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือความเป็นไปได้ที่อาจเกิดภาวะถดถอยพร้อมเงินเฟ้อสูง (Stagflation)

ประเด็นแรก หากอ้างอิงข้อมูลจาก สภาทองคำโลก (WGC) จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเหล่าบรรดาธนาคารกลางทั่วโลกมีการเข้าซื้อทองคำสุทธิทะลุกว่า 1,000 ตัน ทั้งในปี 2565 ที่ซื้อทองคำสุทธิทั้งหมด 1,081.88 ตันและในปี 2566  ที่ผ่านมาซื้อทองคำสุทธิไปทั้งหมด 1,037.38 ตัน 

โดยมีแรงซื้อหลักมาจาก ธนาคารกลางจีน (PBOC) ที่เดินหน้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นมากถึง 30% ในปี 2566 เพื่อแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ  

ทาง ซิตี้กรุ๊ประบุว่า หากธนาคารกลางซื้อทองคำสู่ระดับ 2,000 ตัน ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง 

ทั้งนี้ทางนักวิเคราะห์ บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (YLG) มองว่าการเข้าซื้อที่มากถึง 2,000 ตัน นั้นมีความเป็นไปได้ ในกรณีที่เกิดความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ขยายเป็นวงกว้าง จากทั้งการเป็นพันธมิตรที่เพิ่มขึ้นจองรัสเซีย เกาหลีเหนือ และอิหร่าน รวมไปถึงการแยกส่วน (fragmentation) ที่เพิ่มขึ้นระหว่างตะวันตกและเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ อาทิเช่น รัสเซีย จีน อินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้ (BRICS)

สถานการณ์ดังกล่าวอาจนำไปสู่กระแส De-Dollarization หรือการที่ประเทศต่างๆ หาวิธีการลดบทบาทเงินดอลลาร์สหรัฐต่อการค้าและการลงทุน ซึ่งจะกระตุ้นให้ธนาคารกลางลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ และเดินหน้าสำรองทองคำแทน 

ดังนั้นกระแสดังกล่าวจึงจะมีนัยสำคัญอย่างมากที่ทำให้เหล่าธนาคารกลางเลือกเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำ ท่ามกลางปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น   

ประเด็นถัดมา เป็นความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก หรือความเป็นไปได้ที่อาจเกิดภาวะถดถอยพร้อมเงินเฟ้อสูง (Stagflation)

ในประเด็นนี้ นักวิเคราะห์ YLG มองว่าหากเศรษฐกิจเกิดภาวะ Stagflation จริงจะเป็นสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุด ที่จะพาทองคำพุ่งแตะระดับ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์  

แต่ภาวะดังกล่าวเป็นภาพที่หาแทบไม่ได้จากประวัติศาสตร์  ซึ่งเคยเกิดขึ้นเพียง 1 ครั้ง คือในช่วงทศวรรษที่ 1970 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ครั้งนั้นอัตราเงินเฟ้อทะยานขึ้น

สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น 3-4 เท่าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กำลังผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ในปี 1973 อัตราเงินเฟ้อสหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเป็น 7.7% ต่อปี และยังพุ่งต่อเนื่องไปอีกลายปี จนกระทั่งในปี 1980 อัตราเงินเฟ้อสหรัฐก็พุ่งสูงขึ้นถึง 13.5% ต่อปี

หากย้อนดูการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ ในช่วงทศวรรษดังกล่าว มีการตอบสนองที่เริ่มชัดเจนในช่วงปลายปี 1976 โดยราคาทองคำได้พุ่งทะยานขึ้นจาก 100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สู่ระดับ 650 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในปี 1980 นั่น ซึ่งเป็นการพุ่งขึ้นกว่า 6.5 เท่า และคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่สูงถึงเกือบ 60%  

ดังนั้น หากพิจารณาจากระดับราคาทองคำ ณ ปัจจุบันที่ราว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จึงมีโอกาสพุ่งแตะระดับที่ซิตี้กรุ๊ประบุไว้ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในภาวะ Stagflation

เปิดแชมป์ 10 อันดับ‘กองทุนทองคำ‘ ผลตอบแทนสูงสุด  รอราคาเด้งทำไฮใหม่

ในช่วงเดือนธ.ค. 2566 ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,144 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่จากนั้นเกิดความผัวผวนที่เพิ่มขึ้น และมีแรงขายกดดันอย่างชัดเจน จนราคาทิ้งตัวจากระดับสูงสุดลงมาแตะระดับต่ำสุดของวันในโซน 2,020 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นการแกว่งตัวสูงถึง 124 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ทั้งนี้ หากย้อนดูราคาทองคำตั้งแต่ปี 2558 ในแต่ละปีราคามีการยกระดับต่ำสุดขึ้น จนมาเคลื่อนไหวในกรอบทรงตัวในระดับสูงได้ตั้งแต่ปี 2563 จนถึง ปัจจุบัน ส่งผลให้แนวโน้มราคาทองคำระยะยาว เคลื่อนไหวในทิศทางค่อยๆ ปรับตัวขึ้น (Sideway up)  

ดังนั้นในระยะยาว เมื่อราคาย่อตัวลงทดสอบแนวรับสำคัญ จึงมีแนวโน้มที่จะมีแรงซื้อดันราคาให้ยกระดับต่ำสุดขึ้นได้ โดยประเมินแนวรับแรกโซน 1,902-1,884 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ระดับต่ำสุดของเดือนก.ค. 2566 และเดือนก.ย.2566 ตามลำดับ) และแนวรับถัดไปในโซน 1,804-1,764 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ระดับต่ำสุดของปี 2566 และเดือนธ.ค. 2566 ตามลำดับ)

เปิดแชมป์ 10 อันดับ‘กองทุนทองคำ‘ ผลตอบแทนสูงสุด  รอราคาเด้งทำไฮใหม่ หมายเหตุ : ราคาทองคำในประเทศ 96.5% ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยน 35.69 บาทต่อดอลลาร์  (อัตราถัวเฉลี่ยย้อนหลัง 1 สัปดาห์)

โดยหากราคาทองคำสามารถทรงตัวในระดับสูง หรือการอ่อนตัวลงอยู่ในระดับจำกัด ประเมินว่าเป็นการแกว่งตัวในกรอบเพื่อสะสมแรงซื้อ และราคายังมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านโซน 2,144 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง  

แนะนำนักลงทุนที่ถือทองคำในมือจำนวนมาก หากราคาไม่ผ่านแนวต้านดังกล่าว ให้ทยอยแบ่งขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง  แต่หากรับความเสี่ยงได้สูง หรือหากราคาผ่านแนวต้านแรกได้ สามารถชะลอการขายไปยังโซนแนวต้านถัดไปบริเวณ 2,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์

เปิดแชมป์ 10 อันดับ‘กองทุนทองคำ‘ ผลตอบแทนสูงสุด  รอราคาเด้งทำไฮใหม่

ทาง มอร์นิ่งสตาร์ (ประเทศไทย) รายงานผลตอบแทน "กองทุนทองคำ" 10 อันดับแรกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด พบว่า มีเฉพาะ 10 กองทุนดังกล่าวเท่านั้น ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก  (ณ 23 ก.พ.2567)  ดังนี้ 

1.กองทุนไทยพาณิชย์โกลด์  ผลตอบแทน 2.55%

2.กองทุนบีแคป โกลด์ ผลตอบแทน 2.52%

3.กองทุนบัวหลวง โกลด์ ฟันด์ ผลตอบแทน  2.38%

4.กองทุนทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ผลตอบแทน  2.38%

5.กองทุนยูโอบี สมาร์ท โกลด์ ชนิดไม่จ่ายเงินปันผล  ผลตอบแทน 2.38% 

6.กองทุนกรุงศรีโกลด์ ผลตอบแทน 2.32% 

7.กองทุนบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ ผลตอบแทน 2.30% 

8.กองทุนธนชาตทองคำแท่งเพื่อการเลี้ยงชีพ-UH ผลตอบแทน 2.29%

9.กองทุนฟิลลิป ทองคำ ผลตอบแทน 1.32%

10.กองทุนเคเคพี โกลด์  ผลตอบแทน 0.41%