เปิดสถิติ ปี 66 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท

เปิดสถิติ ปี 66 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท

เปิดสถิติ ปี 2566 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.76% ด้านบริษัทที่มีอันดับเครดิตคงอยู่ตลอดทั้งปี 2566 นั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 215 ราย

ทริสเรทติ้ง ระบุผ่านบทวิเคราะห์ถึงตลาดตราสารหนี้ของไทยในปี 2566 ต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยหรือความเชื่อมั่นที่ลดลงของนักลงทุนภายหลังจากการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทที่ออกตราสารหนี้รายใหญ่รายหนึ่งซึ่งผู้บริหารถูกกล่าวหาว่ามีการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริตเกี่ยวกับการตกแต่งข้อมูลทางบัญชีซึ่งส่งผลให้ตราสารหนี้ใหม่ (รวมตราสารหนี้ต่างประเทศที่ออกเป็นสกุลเงินบาท) ที่ออกและจดทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 1.01 ล้านล้านบาท จาก 1.24 ล้านล้านบาทในปี 2565 หรือลดลงประมาณ 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม มูลค่าของตราสารหนี้ระยะยาวคงค้างของภาคเอกชน ณ สิ้นปี 2566 นั้นยังคงเพิ่มขึ้น 7.76% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นที่จำนวน 4.49 ล้านล้านบาท

ในปี 2566 ทริสเรทติ้งมีการจัดและประกาศผลอันดับเครดิตให้แก่ผู้ออกตราสารหนี้รวมทั้งสิ้นจำนวน 254 ราย ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวประกอบด้วยบริษัททั่วไปจำนวน 192 ราย สถาบันการเงินจำนวน 58 ราย ผู้ออกตราสารหนี้ที่มีโครงสร้างซับซ้อน (Structured Finance Issuer) 1 ราย และอีก 3 รายเป็นผู้ออกตราสารหนี้ที่จัดอยู่ในกลุ่มรัฐบาลซึ่งรวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ (Supranational Institution)

สำหรับการศึกษาสถิติการผิดนัดชำระหนี้นี้ทริสเรทติ้งไม่ได้รวมผู้ออกตราสารหนี้ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ผู้ออกตราสารหนี้ที่จัดอยู่ในกลุ่มรัฐบาล และผู้ออกตราสารหนี้ซึ่งเป็นบริษัททั่วไปจำนวนรวม 6 รายและสถาบันการเงินอีกจำนวน 3 รายที่ออกแต่เฉพาะตราสารหนี้ที่มีการค้ำประกันเต็มจำนวน ดังนั้น การศึกษานี้จึงใช้ข้อมูลของผู้ออกตราสารหนี้จำนวนทั้งสิ้น 241 ราย ซึ่งจำแนกออกเป็นบริษัททั่วไปจำนวน 186 รายและสถาบันการเงินจำนวน 55 ราย

สำหรับบริษัทที่มีอันดับเครดิตคงอยู่ตลอดทั้งปี 2566 นั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 215 ราย (ไม่นับรวมบริษัทที่ยกเลิกอันดับเครดิตจำนวน 9 รายและบริษัทที่เพิ่งได้รับอันดับเครดิตจำนวน 17 รายในปีดังกล่าว) โดยมีบริษัทที่ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตจำนวน 12 ราย ปรับลดอันดับเครดิตจำนวน 25 ราย และผิดนัดชำระหนี้จำนวน 2 ราย ทำให้สัดส่วนของบริษัทที่ถูกปรับลดอันดับเครดิต (รวมบริษัทที่ผิดนัดชำระหนี้) เมื่อเทียบกับบริษัทที่ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตนั้นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 2.25 เท่าในปี 2566 จาก 0.76 เท่าในปี 2565 และอัตราการผิดนัดชำระหนี้ในปี 2566 อยู่ที่ระดับ 0.93% ในขณะที่ผู้ออกตราสารที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มอันดับเครดิต (Rating outlook) มีจำนวน 22 ราย โดยจำแนกออกเป็นผู้ที่ได้รับการปรับเพิ่มแนวโน้มอันดับเครดิต จำนวน 6 ราย และผู้ที่ได้รับการปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตจำนวน 16 ราย

จำนวนบริษัทที่มีการผิดนัดชำระหนี้โดยรวมในระหว่างปี 2537-2566 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 26 รายจาก 24 รายในช่วงระหว่างปี 2537-2563 (รวมผู้ออกตราสารหนี้จำนวน 5 รายที่มีการผิดนัดชำระหนี้หลังจากยกเลิกอันดับเครดิตไปแล้วเกินกว่า 1 ปี) ทั้งนี้ในช่วงระหว่างปี 2564-2565 นั้นไม่มีบริษัทที่มีการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งทำให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้สะสม 1 ปี 2 ปี และ 3 ปี ในช่วงระหว่างปี 2537-2566 เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 0.840% 1.799% และ 2.582% จากระดับ 0.832% 1.785% และ 2.592% ในช่วงระหว่างปี 2537-2565 ตามลำดับ

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลสถิติอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของทริสเรทติ้งเมื่อเทียบกับสถาบันจัดอันดับเครดิตรายอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ทริสเรทติ้งจึงได้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติการผิดนัดชำระหนี้ของทริสเรทติ้งกับสถาบันจัดอันดับเครดิตรายสำคัญ ๆ ในอาเซียน ซึ่งผลปรากฏว่าอัตราการผิดนัดชำระหนี้สะสมของทริสเรทติ้งโดยรวมนั้นค่อนข้างต่ำในเกือบทุกระดับของอันดับเครดิต ยกเว้นเพียงกลุ่มที่ได้อันดับเครดิตที่ระดับ “AA” เท่านั้น 

ทั้งนี้เนื่องจากมีบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ในกลุ่มนี้จำนวน 2 รายที่มีการผิดนัดชำระหนี้ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540-2541 ในขณะที่จำนวนบริษัทที่ออกตราสารในกลุ่มนี้มีจำนวนค่อนข้างน้อย ข้อสังเกตสำคัญอีกประการหนึ่งคือการกระจายตัวของอันดับเครดิตของทริสเรทติ้งนั้นมีความสมมาตรมากกว่าของสถาบันจัดอันดับเครดิตรายอื่นๆ ในภูมิภาค โดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตจากทริสเรทติ้งในปี 2565-2566 ส่วนใหญ่มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับ “A” และระดับ “BBB” ในขณะที่บริษัทจัดอันดับเครดิตอื่นๆ ในภูมิภาคนี้จะมีสัดส่วนของบริษัทที่มีอันดับเครดิตค่อนข้างสูงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีบริษัทที่ได้รับอันดับเครดิตที่ระดับ “A” หรือสูงกว่าในสัดส่วนที่มากกว่า 80% 

เปิดสถิติ ปี 66 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท เปิดสถิติ ปี 66 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท เปิดสถิติ ปี 66 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท เปิดสถิติ ปี 66 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท เปิดสถิติ ปี 66 ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวคงค้างพุ่งทะลุปรอท มูลค่า 4.49 ล้านล้านบาท