'เม็กซิโก' ผู้ชนะตัวจริงในสงครามการค้า 'จีน-สหรัฐ'

'เม็กซิโก' ผู้ชนะตัวจริงในสงครามการค้า 'จีน-สหรัฐ'

"ยอดนำเข้าสินค้า" จากเม็กซิโกไปสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางยอดการย้ายฐานการผลิตจากจีนเข้าเม็กซิโกพุ่ง "นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ" นักเศรษฐศาสตร์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้เม็กซิโกคือผู้ชนะที่เเท้จริงในสงครามการค้าจีน-สหรัฐ

มีใครเคยเห็นเหตุการณ์ที่เพื่อนสองคนทะเลาะกันเพื่อแย่งขนมแล้วสุดท้ายขนมนั้นหล่นและคนที่ได้กินขนมจริงๆ กลับเป็นเพื่อนอีกคนที่ยืนดูอยู่หรือไม่ 

เหตุการณ์คล้ายกันกำลังเกิดขึ้นกับสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ และผู้ชนะที่แท้จริงจากสงครามครั้งนี้กลับเป็นประเทศเพื่อนบ้านของสหรัฐอย่าง “เม็กซิโก”

\'เม็กซิโก\' ผู้ชนะตัวจริงในสงครามการค้า \'จีน-สหรัฐ\' ประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 14 ของโลกที่ทางทิศเหนือของประเทศติดกับสหรัฐและขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียนกำลังจะกลายเป็นผู้ชนะใน “สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ” คือประเด็นที่เริ่มได้ยินมากขึ้นตามหน้าสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เพราะขณะที่สหรัฐและจีนกำลังแบนการนำเข้าส่งออกสินค้าของกันและกัน ยอดนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกไปสหรัฐก็ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางตัวเลขการย้ายฐานการผลิตของบริษัทสัญชาติจีนในเม็กซิโกก็ขยับขึ้นเช่นเดียวกัน

ยอดนำเข้าสินค้าไปสหรัฐ

เริ่มต้นด้วย ยอดการนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกไปสหรัฐที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับยอดการนำเข้าสินค้าจีนไปสหรัฐที่ลดลง โดยสำนักข่าวนิกเคอิเอเชีย (Nikkei Asia) รายงานเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ว่า จีนเสียตำแหน่งแชมป์ตลาดนำเข้าเบอร์หนึ่งในสหรัฐให้เม็กซิโกในรอบกว่า 20 ปี

ซ้ำร้ายการนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมถึง "ไทย" ก็ลดลงเมื่อเทียบปีก่อนหน้า แม้ยังถือว่าเป็นการลดลงที่เล็กน้อยหลังจากที่กลุ่มอาเซียนส่งออกไปสหรัฐสูงสุดทุบสถิติในปี 2565 หรือมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากช่วงสิบปีก่อน

แต่ทั้งหมดก็เห็นได้ชัดเจนว่า กราฟสีเขียวซึ่งแทนยอดการนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกไปสหรัฐนั้นอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ในขณะเดียวกันนอกจากยอดการนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกไปสหรัฐจะเพิ่มขึ้นแล้ว บทวิเคราะห์จาก ดิยูเรเชียน ไทม์ส (The Eurasian Times) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ยังเปิดเผยว่า เม็กซิโกกลายเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับธุรกิจของจีนเช่นเดียวกัน

โดยการพัฒนาที่สำคัญประการหนึ่งคือการที่การลงทุนของจีนในเม็กซิโกพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางความต้องการของบริษัทต่างๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรของสหรัฐ

ตัวอย่างของบริษัทจีนที่เข้าไปลงทุนในเม็กซิโก คือ Hisense ซึ่งเริ่มการผลิตจำนวนมากในโรงงานล้ำสมัยมูลค่า 260 ล้านดอลลาร์ในประเทศดังกล่าว โดยมุ่งเน้นที่การผลิตตู้เย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ สำหรับตลาดอเมริกาเหนือ

หรือผู้ผลิตรถยนต์ JAC Motors ก่อตั้งโรงงานประกอบยานยนต์ในเม็กซิโก รวมทั้ง SAIC Motor วางแผนที่จะสร้างโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของประเทศดังกล่าวในสายตาของผู้ผลิตในจีน

ขณะเดียวกันบทวิเคราะห์ของ ดิยูเรเชียน ไทม์ส ยังเผยว่า นอกจากจะเป็นความตั้งใจลดความเสี่ยงของบริษัทที่เคยตั้งฐานการผลิตในจีนแล้ว บริษัทจีนเองก็เข้าไปตั้งถิ่นฐานในเม็กซิโกเพื่อส่งสินค้าเข้าไปในสหรัฐมากขึ้น

\'เม็กซิโก\' ผู้ชนะตัวจริงในสงครามการค้า \'จีน-สหรัฐ\' โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึง “กลยุทธ์ของจีน” ในการปรับตัว ท่ามกลางกฎระเบียบการแบนสินค้าจีนจำนวนมากของโจ ไบเดน รวมทั้งท่าทีการแบนสินค้าเทคโนโลยี-เซมิคอนดักเตอร์ด้วย

มาถึงตรงนี้ นักวิชาการส่วนหนึ่งก็ตั้งคำถามว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะทำให้อาเซียนและไทยเสียสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปสหรัฐให้เม็กซิโกมากขึ้นหรือไม่ในอนาคต

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า

เม็กซิโกลงนามในความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ นาฟต้า มาตั้งแต่ปี 1992 หรือ 32 ปีที่แล้ว แต่ทำไมเม็กซิโกพึ่งจะมาได้รับประโยชน์ในช่วงนี้ เพราะ

สงครามการค้าและโควิดกดดันให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเปลี่ยนไป และเม็กซิโกก็มีปัญหาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศที่ทำให้ ดังนั้นอาเซียนและไทยก็อาจจะพอสบายใจได้ว่าเราก็ยังมีข้อดีอยู่บ้าง