'ซาอุฯ ' ประเทศที่เหล่าผู้จัดการกองทุนทั่วโลกนิยามว่าเป็น 'The New China'

'ซาอุฯ ' ประเทศที่เหล่าผู้จัดการกองทุนทั่วโลกนิยามว่าเป็น 'The New China'

เปิดสาเหตุทำไมผู้จัดการกองทุนทั่วโลกจึงเริ่มให้ความสนใจ "ภูมิภาคตะวันออกกลาง" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ซาอุดีอาระเบีย"

ที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งสวมเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกกลายเป็นกลุ่มคนที่พบเห็นได้ทั่วไปในล็อบบี้ของโรงแรมที่หรูหราที่สุดในกรุงริยาด ท่ามกลางแผนของ "มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน" (Mohammed Bin Salman) ที่ต้องการผลักดันประเทศให้เติบโต และลดการพึ่งพาความมั่งคั่งจากน้ำมันเพียงอย่างเดียว รวมทั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีกลุ่มผู้จัดการกองทุนจำนวนมากกระตือรือร้นที่จะเข้าไปในดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็น "The New China in the Gloden Era" แห่งนี้


โดยในปี 2019 ที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบียเพิ่งเข้าร่วมดัชนี MSCI Emerging Markets ในอดีตตลาดนี้ดึงดูดเงินลงทุนได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับเม็ดเงินหลายพันล้านดอลลาร์ที่นักลงทุนกระจายออกไปยังตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะผู้จัดการกองทุนมักไม่สนใจตะวันออกกลางเนื่องจากสภาพคล่องที่น้อยนิดของดัชนี Tadawul All Share ซึ่งจำกัดการถือครองสินทรัพย์ของชาวต่างชาติโดยสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นประเทศที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากเกินไป


ทว่าในปัจจุบันในสถานการณ์ที่ รัสเซียถูกคว่ำบาตรจากดัชนีหุ้นพื้นฐาน และจีนสูญเสียเสน่ห์เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ นักลงทุนบางส่วนเริ่มมอง “ซาอุดีอาระเบีย” ในมุมมองใหม่ โดยถูกดึงดูดด้วยการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องจากผู้นำประเทศที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และจำนวนมหาศาล โดยความสนใจที่เพิ่มขึ้นช่วยดันดัชนี Tadawul พุ่งขึ้นมากกว่า 11% ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนของดัชนี MSCI มากกว่าสองเท่า

กองทุนตลาดเกิดใหม่ยังลงทุนในซาอุฯ ไม่มาก

“ตอนนี้ซาอุดีอาระเบียเป็นเหมือนจีนอยู่ในยุคทอง” เฟอร์กัส อาร์ไกล์ (Fergus Argyle) ผู้ช่วยเปิดตัวกองทุนตลาดเกิดใหม่แห่งล่าสุดสำหรับ EFG New Capital เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งมีการจัดสรร 8% ให้กับดัชนีหุ้นของซาอุดีอาระเบีย กล่าว
 

ด้านบทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก เผยว่า ตลาดหุ้นซาอุดีอาระเบียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด และมีสภาพคล่องมากที่สุดในตะวันออกกลาง รวมทั้งเป็นที่ตั้งของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Saudi Aramco หลังจากที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระดมทุนได้เกือบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการขายหุ้นในปี 2562 นอกจากนี้ธุรกิจในประเทศที่แต่เดิมถูกครอบงำโดยกลุ่มธนาคาร และบริษัทปิโตรเคมี ได้เปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับกลุ่มดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และพลังงานขนาดใหญ่ มากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ Flynas สายการบินราคาประหยัดกำลังชั่งน้ำหนักเข้าสู่ดัชนี Tadawul ในปีหน้า  ซึ่งปัจจุบันซื้อขายที่อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) ล่วงหน้า 12 เดือนที่ 17.5 เท่า ทำให้มีพรีเมียมมากกว่า 50% จากดัชนี MSCI Emerging Markets

นอกจากนี้ การถ่วงน้ำหนักหุ้นของซาอุดีอาระเบียในดัชนี MSCI Emerging Markets เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 4.1% จากประมาณ 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงแรกที่เข้ามาในดัชนี เนื่องจากความสนใจจากต่างประเทศเติบโตขึ้น และซาอุดีอาระเบียสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ เข้าจดทะเบียนมากขึ้น รวมทั้งบริษัทในซาอุดีอาระเบียระดมทุนได้ 11.5 พันล้านดอลลาร์ จากการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นับตั้งแต่ต้นปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปมีการชะลอตัวในที่อื่น ทั้งสหรัฐ ยุโรป และเอเชีย

ด้าน เอเลีย อัลชาร์ (Elia Alchaar) นักวิเคราะห์ร่วมของ Arqaam Capital กล่าวว่า นักลงทุนเชิงรับ (Passive Investor) ยังมีโอกาสทุ่มเงินเข้าประเทศดังกล่าวได้มากถึง 7.3 พันล้านดอลลาร์ หากซาอุดีอาระเบียยกเลิกการคุมระดับการถือครองสินทรัพย์ของต่างชาติสูงสุดที่ได้รับอนุญาตเป็น 100% จากระดับต่ำกว่าครึ่งหนึ่งในปัจจุบันสำหรับหุ้นส่วนใหญ่ และนั่นอาจนำไปสู่การ "เพิ่มขึ้น" ของน้ำหนักในดัชนีตลาดเกิดใหม่อย่างมีนัยสำคัญ
 

ทั้งนี้ ความสนใจที่เพิ่มขึ้นในซาอุดีอาระเบียสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของต่างชาติในตลาดจีนที่ลดลง แม้ว่าอินเดียจะกลายเป็นหนึ่งในผู้รับผลประโยชน์หลักจากการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่จากการที่รัสเซียหายไปจากดัชนีดังกล่าว หมายความว่านักลงทุนไม่มีทางเลือกอื่นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลือกจะมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น หากเกาหลีใต้ได้รับการอัปเกรดเป็นดัชนีตลาดที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในปีหน้า

สัดส่วนการลงทุนของกองทุน EM ในซาอุฯ ทำ All Time High “เราเห็นนักลงทุนสถาบันในเอเชียแสดงความสนใจในการพบปะ บริษัทจากตะวันออกกลางมากขึ้น เนื่องจากในฐานะกองทุน EM คุณต้องพิจารณาการกระจายการลงทุนของคุณเองด้วย” ฮาริช รามาน (Harish Raman) หัวหน้านักกลยุทธ์ Asia ECM Syndicate ของ Citigroup Inc. พร้อมเสริมว่า

“ละตินอเมริกามีความน่าสนใจน้อยกว่าสำหรับนักลงทุนชาวเอเชีย แต่พวกเขากำลังพิจารณาตะวันออกกลางอย่างจริงจัง”

ความเสี่ยงทางการเมือง 
ทั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปที่จะรุกตลาดตะวันออกกลาง เพราะการลงทุนในประเทศนี้ยังคงมุ่งเน้นไปที่คนในท้องถิ่น และการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนมากก็ยังเน้นไปที่นักลงทุน และบริษัทในประเทศเท่านั้น


“หุ้นจำนวนหนึ่งที่มีการเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้ถูกขายให้กับนักลงทุนต่างชาติเลย” โดมินิก โบกอร์-อินแกรม (Dominic Bokor-Ingram) ผู้จัดการกองทุนของ Fiera Capital กล่าว พร้อมเสริมว่า ทว่าจุดยืนเชิงบวกต่อซาอุดีอาระเบียช่วยให้ตลาดหุ้นในประเทศเอาชนะคู่แข่งทั้งหมด 99% ไปได้ พร้อมเสริมว่า

“มีการเสนอขายหุ้น IPO สามหรือสี่รายการที่เรามีส่วนร่วมในซาอุดีอาระเบีย โดยที่เราเป็นนักลงทุนต่างชาติเพียงรายเดียว”

นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ถือเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่ง การฆาตกรรมนักข่าวผู้ไม่เห็นทางการเมืองด้วยชาวซาอุดีอาระเบียอย่าง จามาล คาช็อกกี (Jamal Khashoggi) ในปี 2018 ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ดัชนี Tadawul เลื่อนระดับไปสู่ค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่

นอกจากนี้ ตอนนี้เป็นสงครามอิสราเอล-ฮามาสก็ก่อให้เกิดความกระวนกระวายใจ จนในเดือนต.ค. ดัชนีลบกำไรทั้งหมดในปี 2023 เนื่องจากผลกระทบที่กระเพื่อมไปทั่วตะวันออกกลาง ก่อนที่ภายหลังดัชนีฯ จะดีดตัวขึ้นในขณะที่นักลงทุนตัดสินว่าความขัดแย้งน่าจะยังคงอยู่ไปอีกยาวนาน

อ้างอิง

Bloomberg 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์