Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี

Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี

Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี ต่างกับช่วงก่อนวิกฤตที่ยิ่งใหญ่จนเทียบไม่ติด ล่าสุดเดือนมีนาคม 2023 หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นอยู่ที่ 9.2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ หรือ 1.30 ล้านล้านเยน หรือ 263% ของ GDP และสูงที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว 43.3%

Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี ต่างกับช่วงก่อนวิกฤตที่ยิ่งใหญ่จนเทียบไม่ติด ตั้งแต่ปี 1991 ถึง 2003 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเมื่อวัดโดย GDP ขยายตัวเพียง 1.14% ต่อปี ขณะทีี่เดือนมีนาคม 2023 หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 9.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.30 ล้านล้านเยน) หรือ 263% ของ GDP และสูงที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว 43.3% ของหนี้นี้ถือโดย BOJ ซึ่งในอดีตญี่ปุ่นเคยเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก หรือรองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกลำดับเหตุการณ์ไว้ดังนี้ 

1. ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองไปจนถึงการสิ้นสุดของสงครามเย็น เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟูอย่างมาก จนเรียกว่า "ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจญี่ปุ่น" (Japanese economic miracle) เพราะญี่ปุ่นสามารถพลิกจากประเทศผู้แพ้สงครามโลก แล้วกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอย่างรวดเร็ว (รองจากสหรัฐอเมริกา) ช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นแข็งแกร่งอย่างมากนี้มีระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1946 - ปลายทศวรรษที่ 1980 หรือราวๆ 30 ปี มีช่วงเวลาหนึ่งที่คนญี่ปุ่นถูกมองว่าเศรษฐีที่โปรยเงินซื้อสินทรัพย์ไปทั่วโลก วัฒนธรรมญี่ปุ่นกลายเป็นซอฟต์เพาเวอร์ที่ทรงพลัง และทุกคนก็อยากให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศตน 

 

2. อย่างไรก็ตาม เมื่อมีขึ้นก็ต้องมีลง หลังจากผ่านไปสามทศวรรษ ญี่ปุ่นก็ประสบกับ "การเติบโตที่ถดถอย" นั่นคือแม้จะเติบโต แต่ก็เนิบๆ และค่อยช้าลงๆ เนื่องจากค่าเงินเยนของญี่ปุ่นสูงขึ้น สาเหตุที่เงินเยนสูงขึ้นเพราะ Plaza Accord ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างห้าประเทศอุตสาหกรรม รวมถึงญี่ปุ่นในการลดค่าเงินดอลลาร์ เพราะเงินดอลลาร์แข็งเกินไปจนทำให้เงินจากสกุลเงินอื่นๆ ไหลเข้าไปที่ดอลลาร์ และทำให้ประเทศคู่ค้าขาดดุล เป้าหมายของข้อตกลงนี้ก็เพื่อช่วยทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นนั่นเอง 

3. แต่ข้อตกลงนี้ไม่ได้ผล แถมยังเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงยังทำให้ญี่ปุ่นเสียดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกาเข้าไปอีก ส่วนเงินเยนก็ยิ่งแข็งขึ้นมาทำให้การส่งออกของญี่ปุ่นมีปัญหา ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) และรัฐบาลญี่ปุ่นแก้ปัญหาด้วยการอัดฉีดเงินเข้าระบบมากขึ้น แต่ยิ่งทำให้เกิดราคาสินทรัพย์ที่พุ่งสูงตัวอย่างรวดเร็วและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ร้อนจัด รวมถึงปริมาณเงินและการขยายสินเชื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผลก็คือเกิเดภาวะเรียกว่า "ฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ของญี่ปุ่น" ตั้งแต่ปี 1986 ถึง 1991 ซึ่งราคาอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นสูงเกินจริงอย่างมาก 

Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี

4. เพราะหวังที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนหน้านี้ BOJ ยังกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อเพื่อทำยอดให้ถึงโควต้าโดยไม่พิจารณาว่าผู้กู้มีความสามารถที่จะใช้คืนได้หรือไม่ ทำให้เกิดหนี้เสียรุนแรงมาก BOJ พยายามแก้ไขด้วยการใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นแต่ล้มเหลว โดยพยายามที่จะลดการเก็งกำไรและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารอย่างรวดเร็วในปลายปี 1989 นโยบายที่เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมืออย่างกระทันหันนี้ทำให้เกิดฟองสบู่แตก และตลาดหุ้นญี่ปุ่นก็ล่มสลาย

5. พอปรับนโยบายครั้งที่ 5 ภายในเดือนสิงหาคม 1990  ดัชนีหุ้น Nikkei ก็ร่วงลงมาอยู่ที่ครึ่งหนึ่งจากงจุดสูงสุด ถึงปลายปี 1991 ราคาสินทรัพย์อื่นๆ ก็เริ่มลดลง จนกระทั่งราคาสินทรัพย์ทรุดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดในต้นปี 2535 ณ จุดนี้ในที่สุดฟองสบู่ก็แตกเป็นที่เรียบร้อย และเมื่อฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ของญี่ปุ่นแตก ก็ทำให้เกิดสิ่งที่หลายคนเรียกว่า "ทศวรรษที่หายไป" (Lost Decades) หรือช่วงเวลาที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่โตหรือโตน้อยมาก ต่างกับช่วงก่อนวิกฤตที่ยิ่งใหญ่จนเทียบไม่ติด ตั้งแต่ปี 1991 ถึง 2003 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเมื่อวัดโดย GDP ขยายตัวเพียง 1.14% ต่อปี 

Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี

6. มันคือช่วงเวลาที่สูญหายไปจริงๆ เพราะธุรกิจญี่ปุ่นพังพินาศ บริษัทปิดตัวลงกระทันหัน ทำลายโครงสร้างการจ้างงานของญี่ปุ่น ที่ก่อนนี้จะจ้างและดูแลกันไปทั้งชีวิต แต่จู่ๆ มนุษย์เงินเดือนจำนวนมหาศาลก็พบว่าตัวเองไม่มีงานทำ ไม่รู้จะทำอะไรกับอนาคต คนหนุ่มสาวก็ไม่มีความหวัง เพราะหางานที่มีความมั่นคงได้ยาก และค่าจ้างที่แท้จริงยังลดลงประมาณ 5% ธุรกิจที่รอดมาได้ก็ไม่สามารถโตได้ เพราะญี่ปุ่นประสบกับภาวะราคาสินค้าและบริการชะงักงัน ในขณะที่ผู้บริโภคก็กังวลใจจนไม่กล้าใช้เงิน ทำส่งผลให้การบริโภคลดลงอย่างมาก ส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดในระยะยาวในญี่ปุ่น 

Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี

7. Lost Decades ส่งผลต่อภาคธุรกิจของญี่ปุ่นอย่างไร ก็ส่งผลต่อชีวิตของผู้คนญี่ปุ่นมากเท่านั้น เพราะชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ผู้ติดกับองค์กรธุรกิจ เมื่อภาคธุรกิจล่มสลายลง ชีวิตของผู้คนก็ล่มสลายตามไปด้วย ชาวญี่ปุ่นเลิกหวังกับการทำงานที่มั่นคง และระวังตัวตลอดเวลากับการใช้จ่าย ทำให้มีอยู่ช่วงหนึ่งที่คนญี่ปุ่นออมเงินในระดับสูงที่สุดในโลก พฤติกรรมนี้สร้างปัญหาให้รัฐบาลมาก เพราะเงินถูกเก็บเอาไว้จนไม่ไหลออกมาสู่ระบบ ยิ่งทำให้ญี่ปุ่นติดกับดักภาวะเงินฝืด นั่นคือถึงราคาข้าวของจะไม่แพงเพราะธุรกิจซบเซา แต่ประชาชนก็ไม่ยอมใช้จ่าย ทำให้เงินหมุนเวียนน้อย

8. BOJ ใช้นโยบายดอกเบี้ยเป็นศูนย์ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 เพื่อให้เศรษฐกิจหลุดพ้นจากภาวะถดถอยหลังวิกฤตฟองสบู่ แต่แม้จะตรึงดอกเบี้ยในระดับ 0% มานานกว่า 20 ปีแล้ว มันก็ยังไม่ได้ผลชัดเจน แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาบ้างในอัตราเลขหลักเดียว ในขณะที่รัฐบาลก็อัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นระยะแต่ก็ไม่ได้ผลเช่นกัน และการใช้งบประมาณไปกับเรื่องนี้มากมาย ทำให้ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ณ เดือนมีนาคม 2023 หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 9.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.30 ล้านล้านเยน) หรือ 263% ของ GDP และสูงที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว 43.3% ของหนี้นี้ถือโดย BOJ 

Lost Decades การจมดิ่งที่ไร้ความหวังของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 30 ปี

9. ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่มีหนี้สินมากที่สุด ไม่นับสหรัฐอเมริกาที่สามารถก่อหนี้ได้โดยไม่ต้องกลัวจะถูกทวงหรือล้มละลายเพราะอิงกับสินทรัพย์ที่ทรงพลังที่สุดนั่นคือ เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ญี่ปุ่นมีเงินเยนที่ไม่แข้งแกร่งเหมือนก่อน และยังมีเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทำไมญี่ปุ่นถึงยังไม่ล้มละลาย? นั่นก็เพราะ BOJ  ใช้นโยบายดอกเบี้ยเป็นศูนย์มาอย่างยาวนาน ทำให้ยังมีเงินไหลเข้าระบบอยู่เสมอแม้จะไม่มากนัก บวกกับการที่รัฐบาลญี่ปุ่นซื้อพันธบัตรรัฐบาลมาถือเอาไว้เองเกินครึ่งหนึ่ง ทำให้ช่วยประคองราคาพันธบัตรเอาไว้ และทำให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ แต่ทั้งหมดนี้เป็นแค่การประคับประคองเอาไว้เท่านั้น ญี่ปุ่นยังไม่พ้นจากวิกฤตเลย

10. เมื่อถึงทศวรรษที่ 2000 - 2010  ธุรกิจญี่ปุ่นยิ่งเจอผลกระทบจากการที่คู่แข่งแข็งแกร่งขึ้นมานั่นคือจีนกับเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีอัตราการเกิดของประชากรต่ำมาก ทำให้แรงงานคนหนุ่มสาวมีน้อย บวกกับประชากรสูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสุ่ภาวะสังคมาผู้สูงวัย ซึ่งมีแต่คนวัยชราที่รอความช่วยเหลือ แต่คนทำงานหาเงินน้อยลง รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยิ่งติดกับดักที่จะต้องก่อหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาประคองประเทศ นักเศรษฐศาสตร์ได้เต่เฝ้าดูโดยเดาไม่ถูกว่าญี่ปุ่นจะลงเอยแบบไหน ถ้ายังติดอยู่ในวังวนแบบนี้ 

ดังนั้น "ทศวรรษที่หายไป" จึงยืดเยื้อไปเรื่อยๆ จากแทนที่จะจบแค่ 10 ปี ก็กลายเป็น "20 ปีที่สูญหายไป" (Lost 20 Years) เมื่อถึงทศวรรษที่ 2000 แต่เมื่อถึงทศวรรษที่ 2010 ญี่ปุ่นก็ยังไม่หลุดพ้นจากวิกฤต กลายเป็น "30 ปีที่สูญหายไป" (Lost 30 Years) จนถึงทุกวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ยังชี้ว่าญี่ปุ่นก็ยังหลงทาง (Lost) ไม่พบทางออกจากเงามืด