‘พิพัฒน์’ ชี้เศรษฐกิจไทย เดินบนทางแพร่ง ‘จีดีพี’ เสี่ยงต่ำต่อเนื่อง

‘พิพัฒน์’ ชี้เศรษฐกิจไทย เดินบนทางแพร่ง ‘จีดีพี’ เสี่ยงต่ำต่อเนื่อง

“พิพัฒน์” เคเคพี ชี้เศรษฐกิจไทยปี 67 กำลังเดินบนทางแพร่งที่สำคัญ จากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่มีเทรนด์การเติบโตต่ำลงต่อเนื่อง หากไม่ยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย ระยะยาวเศรษฐกิจไทยอาจโตต่ำเพียง 2.5% หรือโตต่ำลงต่อเนื่อง

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวในงานสัมมนา “Thailand 2024 Beyond Red Ocean” ภายใต้หัวข้อ “Thailand Outlook 2024”นสพ.ประชาชาติธุรกิจว่า แนวโน้มระยะสั้นของเศรษฐกิจไทย จะอยู่ใน Cross Road หรือทางแพร่งที่สำคัญ

เพราะหากย้อนดูการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมา ย้อนไปถึงปี 1990 จีดีพีไทยเคยเติบโตสูงสุดที่ระดับ 7% แต่หลังจากวิกฤติ ที่มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ เป็นประเทศส่งออก จีดีพีไทยเติบโตมาเหลือ 5%และเมื่อวิกฤติปี 2008 จากGlobal Financial Crisis วิกฤติการเงินโลกการเติบโตเหลือเพียง3%

และหากดูตั้งหลังโควิด-19เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยเหลือเพียง 2.5% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เตี้ยลงของเศรษฐกิจต่อเนื่อง เหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยเผชิญกับความท้าทายค่อนข้างหนัก และหากไม่ทำอะไร เทรนด์การเติบโตของเศรษฐกิจไทย จะอยู่ระดับดังกล่าวต่อไป จะอยู่ที่ระดับ 2.5% ต่อไป หรืออาจลดลงจากระดับดังกล่าวได้ในระยะข้างหน้า

ดังนั้นคำถามคือ หากเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทย จากภาคการท่องเที่ยว หากกลับมาสู่ระดับปกติ เหมือนก่อนโควิด ที่ระดับ 40ล้านคน หลังจากนี้ ประเทศไทยจะมีอะไร ที่เป็น Engine of Growth สำหรับเศรษฐกิจไทยให้สามารถเติบโตต่อไปได้ เพื่อทำให้ศักยภาพเศรษฐกิจไทยเติบโตได้มากขึ้น 
    

ขณะที่ปีหน้า เศรษฐกิจไทยจะเจอกับความท้าทายมากขึ้น ทั้งจากสัญญาณการลงทุนต่างๆที่ชะลอตัวชัดเจน ที่เริ่มมีความน่าห่วงมากขึ้น ส่งผลให้เริ่มเห็นอาการผ่านเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation)ที่อยู่ระดับต่ำเพียง 0.6% ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีแรงกดดันที่จะทำให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นเลย

สะท้อนว่า ฝั่งอุปสงค์ หรือดีมานด์ของประเทศกำลังแผ่ว ดังนั้น เชื่อว่า ประเทศไทยยังมีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ 

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณเตือนภัยจาก การขยายตัวสินเชื่อในช่วง 2-3ไตรมาสที่ผ่านมา สินเชื่อติดลบต่อเนื่อง และล่าสุด ธนาคารไทยปริมาณการขยายตัวของยอดสินเชื่อขยายตัวเพียง 0.5% จากความเป็นห่วงของภาคธนาคารที่กังวลเรื่องการปล่อยสินเชื่อ จากปัญหาของเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่ และอาจกระทบต่อการจ่ายคืนหนี้ ทั้งหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจ 

“การที่ภาครัฐประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ออกมาปีหน้า จะมีส่วนช่วยเศรษฐกิจไทยหรือไม่ ส่วนนี้ยังไม่แน่ใจว่า นโยบายที่ออกมาจะออกมาอย่างไร และจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ เหล่านี้ยังเป็นความไม่แน่นอน  และผลกระทบจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่จะส่งผ่านมาสู่ ต้นทุนทางการเงินที่จะเพิ่มขึ้นหรือไม่"

นอกจากนี้ ที่เป็นจุดเปลี่ยนพอสมควร คือการพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน ที่พบว่าช่วงหลังๆ นอกเหนือจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศไทยต้องจ่ายเงินเพื่อนำเข้าพลังงานสูงขึ้นแล้ว ช่วงหลังไทยต้องนำแก็สธรรมชาติเข้ามาเพิ่มขึ้น แม้ไทยจะส่งออกได้มากขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าพลังงานเข้ามาเช่นกัน ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง

ดังนั้น ส่วนนี้จะถือเป็นจุดเสี่ยงที่สำคัญของประเทศไทยในหน้า โดยเฉพาะหากมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน จากการสู้รบ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ จะกลายเป็นจุดช็อคที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ได้ 

ทั้งนี้หากดูภาคการเงิน อัตราดอกเบี้ยไทย กับดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า ดอกเบี้ยสหรัฐ สูงกว่าดอกเบี้ยไทยในทุกระดับ แปลว่า หากนักลงทุนที่จะมาลงทุนในประเทศไทย หรือคนไทยไปลงทุนต่างประเทศ ต้องคาดหวังให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ตลาดคาดหวัง คือการกลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากๆ ก่อนโควิดไทยเคยเกินดุล 5-6%ของจีดีพี 

ดังนั้นปีหน้า ประเด็นที่สำคัญอีกด้านที่ต้องจับตา คือ ประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุลการค้า การส่งออกบริการ ท่องเที่ยว เพียงพอในการชดเชยการนำเข้าพลังงานที่สูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งส่วนนี้หากการท่องเที่ยวไทย การส่งออกชะลอตัวลดลง ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เกินดุลเหมือนที่ตลาดคาดการณ์ ค่าเงินบาทของไทยจะผันผวนค่อนข้างมาก แต่หากการเกินดุลกลับมาได้มาก ก็จะมีส่วนช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพได้มากขึ้น 

เหล่านี้ สะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 ยังคงมีความเสี่ยง แม้จะคาดว่าการฟื้นตัวจะมีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่แรงส่งจากการฟื้นตัวท่องเที่ยว และส่งออกที่กลับมาปกติมากขึ้น และแรงกระตุ้นจากนโยบายภาครัฐ